Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
rosjanee tontan

rosjanee tontan


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 09/06/2016

ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37   ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Icon_minitimeMon Jul 04, 2016 3:08 pm

ประเภทของวงดนตรีสากล

 แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ 

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียง

จำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเอง

ในหมู่เพื่อนฝูงต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้น ทำให้สถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่ และ ในConcert Hall

ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะวงแชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆกัน โดยปกติจะมี

นักดนตรี 29 คนและ เรียกชื่อต่างๆกัน ตามจำนวนของผู้บรรเลงดังนี้ 

จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2rcttom

จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 3322opc

จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2myu3r9

จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 29erqqb

จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2hhfz86

จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 16aem49

จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Fcjjx3

จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Qxrw4g

การเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรี และ จำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น  

วงสตริงทรีโอ (String Trio)  มี  ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควอเตท (String Quartet)  มี  ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน

วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน

วูดวินควินเตท (Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน


ได้แก่ ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และ เฟรนซ์ฮอร์น  
     
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2lmucyr


วงแชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด 

เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน

ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ

( *สำหรับปัจจุบันแล้ว วงแชมเบอร์มิวสิคยังคงได้รับความที่นิยมนำไปใช้บรรเลงในงานฉลองมงคลสมรสอีกด้วย* )

ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble) 

เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของ  โมสาร์ท เป็น Serenade  สำหรับเครื่องลม Bแฟลต   

2.วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)

วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คน

ขนาดกลาง 60-80 คน และ วงใหญ่  80-110 คน หรือ มากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่

กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร (conductor) ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2nh3pn6

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 23toakg

ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีีกลุ่มแซกโซโฟน, กลุ่มเครื่องทองเหลือง

และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ

วงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด 

1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้

กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน

กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน

กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด

( วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4

ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน



3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7)  มี 16  ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว

.ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโนคะ
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Iz29om

4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Fchgk

เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน 

จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และ พวกเครื่อง

เป่า ทั้งลมไม้ และ เครื่องทองเหลือง  เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโน หรือ มีเครื่องเป่า

ผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับวงป๊อปปูลามิวสิค

วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band)แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับ

เล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลง

สากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆ

ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนื้

1.แซ็กโซโฟน 2ทรัมเป็ต 3 ทรอมโบน 4 เปียโ นหรือออร์แกน 5 กีตาร์คอร์ด 6 กีตาร์เบส

5. วงชาร์โด (Shadow) 
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 R921bq

เป็นวงดนตรีขนาดเล็กเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20 ปีมานี่เอง ในอเมริกาวงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ

คณะTheBeattleหรือสี่เต่าทองเครื่องดนตรี

ในสมัยแรก มี4ชิ้น คือ1. กีตาร์เมโลดี้(หรือกีตาร์โซโล)  2. กีตาร์คอร์ด 3. กีตาร์เบส  4. กลองชุด

วงชาโดว์ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่าเช่นแซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม 

และบางทีอาจมีไวโอลินผสมด้วยเพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น 

โดยเฉพาะเพลงประเภท  อันเดอร์กราว

6. วงแจ๊ส (Jazz) 
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 Nm0z6u
แบบของแจ๊สที่ควรรู้จักBlues Jazz เพลงบลูส์ 

เกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนแถบปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี แต่สมัยแรกๆไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต่อมาพ.ศ. 2467ได้มีการอัดแผ่นเสียง

จำหน่าย จึงแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งดนตรีได้มีโอกาสไปแสดงตามที่ต่างๆในสมัยแรกๆเพลงบลูส์ใช้กีตาร์เล่นนำและคลอ

เสียงร้องเล่นกันตามข้างถนน  ตามย่านชุมชน คนผ่านไปมาก็ให้เงินบ้างไม่ให้บ้าง  เนื้อร้องร้องไปคิดไป ไม่มีการเตรียม

ไว้ล่วงหน้ามาก่อน ดังนั้นร้องกี่ครั้งก็ไม่เหมือนกัน นึกจะจบก็จบเอาดื้อๆคล้ายกับเพลงฉ่อยของประเทศไทย เพลงบลูส์ได้รับอิทธิพล

จากศาสนามากดังนั้นเนื้อร้องก็มีเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย ต่อมาเพลงบลูส์ได้เจริญขึ้นก็นำไปเล่นกับวงแจ๊๊สก็กลายเป็น

บลูส์์แจ๊๊สเพลงประเภทนี้ส่วนมากจังหวะช้าๆ ครั้งแรกที่ไม่ค่อยนิยมเพลงบลูส์เนื่องจากโน้ตค่อนข้างยาก

ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472 จึงเป็นแรงหนึ่งที่ทำให้รับความนิยม

New orlean and dixieland style ทั้ง 2 แบบเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19

และมาแพร่หลายในปพ.ศ 2473 ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472

ต่อมามีทรอมโบนและคลาริเ็น็ท เบนโจ กีตาร์ ทูบา กลอง เปียโน  แซ็กโซโฟน ปัจจุบันใช้เบสแทนทูบา 

นิยมให้ทรัมเป็ตเป็นตัวนำก่อนแล้วจึงเล่นพร้อมกันทั้งวงและเล่นกันเฉพาะทำนอง เพราะยังไม่มีใครรู้จัก

Adlibกันเท่าไหร่  กลองก็เล่นจังหวะธรรมดา  

Modern  Style  โฉมหน้าของแจ๊๊สได้เปลี่ยนไปมากเมื่อหลุยส์  อาร์มสตรองได้คิดวิธีเล่นใหม่ คือ

มีทำนองหลักแล้วผลัดกันเล่นทีละคน

แต่ละคน Adlib  กันอย่างสนุกสนานและเล่นค่อนข้างเร็วมาก  บางทีก็เล่นพร้อมๆ กัน ฟังดูเหมือนต่างคนต่างเล่น

แต่อยู่ในกรอบอันเดียวกัน   Bop Style  ผู้ที่คิดขึ้น  คือ The  lonious  Monk  กับ  Dizzy  gillespie

โดยเอาแบบของยุโรปมาผสมมีการเปลี่ยนแปลงทำนองและจังหวะ  ใช้คอร์ดเป็นหลัก  เล่นเร็วมาก ผลัดกันเล่นทีละชิ้น

               จังหวะของแจ๊๊สในยุคหลังก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ

 Swing 

แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำ 

ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน

และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing    

Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราวพ.ศ.2493 ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา

ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)

เพลงแจ๊๊สที่เราคุ้นๆหูก็คือเพลง When the saints to marching in เพลงนี้เป็นเพลงที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง

เป็นเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงมาก ในการแสดงดนตรีแจ๊๊สทุกครั้งมักมีเพลงนี้เล่นด้วยเสมอ ตอนแรกเป็นเพลงสวดต่อมาเล่นแบบมาร์ช

และในที่สุด ก็เล่นแบบ New orleans

อาร์มสตรองเล่นเพลงนี้ได้ดีที่สุดเมื่อ  พ.ศ.  2481 เครื่องดนตรีแจ๊๊ส ที่นิยมเล่นกันมีดังนี้คือ 1.คลาริเน็ท

2. แซ็กโซโฟน (โซปราโน,อัลโต,เทเนอร์) 3. คอร์เน็ต 4.ทรัมเป็ต 5.ทรอมโบน 6.เบนโจ 7.เปียโน8. กีตาร์ 9.เบส 10.กลองชุด

ปัจจุบันแจ๊๊สได้เล่นอย่างมีแบบแผน มีการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นมีการกำหนดแน่นอน

ซึ่งใช้แบบของวงดนตรีปอปปูลามิวสิค

7. วงโยธวาทิต  ( Military  Band )
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2pr8x2a

ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม คือ เครื่องลมไม้  เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่

เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร

ในสมัยสงครามครูเสด  ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14ต่อมาในสมัยของนโปเลียน 

ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตรและต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต

ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์  นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ

ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย 

จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว  ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  56  ชิ้น
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2m4accl

8.แตรวง  (Brass  Band )
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37 2s91suu

คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง 

การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้นแตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  26  ชิ้น

ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดย นางสาว รจนีย์ ทนทาน เลขที่37
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล โดย นาางสาวศิริลักษณ์ พวงเงิน เลขที่37
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดย นางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้น ม.4/5 เลฃที่ 37
» ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล นางสาว ศิริมาศ โนนน้อย เลขที่ 36
» ส่งงานเรื่อง ประเภทดนตรีสากล โดยนางสาวนริตา บุญทิสา เลขที่ 23

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/5 :: ส่งงาน ครั้งที่ 4-
ไปที่: