Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

  ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
นายธนากร ภูอินนา

นายธนากร ภูอินนา


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 06/06/2016
Age : 24

 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16    ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Icon_minitimeFri Jul 01, 2016 5:56 pm

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล


การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล(music Instruments) 
           เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


              เครื่องสาย (String Instruments)
              เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
              เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
              เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)


          เครื่องสาย (string instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด


       เครื่องสายประเภทใช้คันสี เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่


          1.ไวโอลิน (Violin) เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง ประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง G-D-A-E


  ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Violin


           2.วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน ตั้งเสียงต่ำกว่าไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Viola2




           3.เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cello2


          4.ดับเบิลเบส (Double Bass) เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิลเบส ต่ำสุดแสดงถึงความมีอำนาจ ความกลัว ความลึกลับ สายทั้งสี่ตั้งเสียงห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E-A-D-G


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Double%20bass




เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่


          1.ฮาร์พ (Harp) เป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก มีสายขึงอยู่ทั้งหมด 47 สาย ช่วงเสียงกว้าง 6 Octaves ใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภทออร์เคสตรา


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Harp


          2.กีตาร์ (Guitar) กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูง ในแต่ละสายดังนี้ E,A,D,G,B,E


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Guitar2


          3.ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด มีรูปทรงเหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Lute2


          4.แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่ (12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Mandolin


         5.แบนโจ () เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Banjo


         เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ


      1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube)


              1.1 ประเภทเป่าตรงปลาย


                      1. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องเป่าดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ชนิดไม่มีลิ้น เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
            
 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Recorder2


             1.2 ประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง


                 1. ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26 นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่ นุ่มนวล


  ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Flute2


                2. ปิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้ หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed)


  ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Piccolo


            2.1 ประเภทลิ้นเดี่ยว (Single reed)


                1. คลาริเนต () เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Clarinet


               2. แซกโซโฟน () เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า “คลาริเนตทองเหลือง” (brass clarinet)


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Saxophone


           2.2 ประเภทปี่ลิ้นคู่ (Double reed)


                 1. โอโบ () ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงโอเปร่าฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบ คือ เครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีใน วงออร์เคสตร้า


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Oboe2
                 2. คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) เป็นปี่ตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cor%20Anglais


                3. บาสซูน () เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูนค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Bassoon2


              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ


             เครื่องดนตรี บางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี


           1. คอร์เนต (Cornet) ลักษณะคล้ายกับทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเป็ท คอร์เน็ทนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่า ของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ทเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cornet


            2. ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Trumpet


          3. เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) คือ เครื่องเป่าทองเหลือง ท่อลมเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม เฟรนช์ฮอร์น พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์เพื่อใช้บอกสัญญาณต่างๆ เสียงของเฟรนช์ฮอร์น จึงเหมือนกับเสียงที่เกิดจากกการเป่าเขาสัตว์  คุณภาพของเสียงเฟรนช์ฮอร์น  โปร่งเบาและมีความนุ่มนวลกังวาน เฟรนช์ฮอร์น    ในยุคแรกไม่มีนิ้วกดเล่นเสียงได้จำกัดใช้สำหรับการล่าสัตว์


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 French%20Horn


         4. ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Trombone


          5. ยูโฟเนียม (euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน


  ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Euphonium


         6. ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “พีเดิล โทน” (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Tuba


          7. ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา  ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น   ชื่อซูซ่าโฟน  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ  จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Sousaphone


                  เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) เครื่องดนตรีสากลในกลุ่มนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า“เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดเรียกว่า “คีย์ (Key)” เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากันโดยปกติสีของคีย์เป็นสีขาวกับดำ คีย์สีดำโผล่สูงขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว


             1. เปียโน(piano) เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า “เบาดัง” มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์
   
    แกรนด์เปียโน                              


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Piano3


อัพไลท์เปียโน


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Piano2
             2. ออร์แกน (organ) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Organ


              3. ฮาร์ปซิคอร์ด(Harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน(Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Harpsichord


              4. คลาวิคอร์ด (clavichord) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keybroad instruments) ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ฟุต ยาวประมาณ 4 ฟุต มีแถวของลิ่มนิ้วประมาณ 3 อ็อกเทฟ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือแตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำให้เกิดเสียง แคลฟวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากแคลฟวิคอร์ดมีความไพเราะและนุ่มนวล


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Clavichord


              5. แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Accordion


                 เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี การสั่น การเขย่า การเคาะ หรือการขูด การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุที่เป็นของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง แบ่งออกเป็น2ประเภท ได้แก่


               1. เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments)  เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้


                     1.ไซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Xylophone


                   2. ไวบราโฟน (Vibraphone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟน  ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็กๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ  ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดคลื่นเสียงสั่นรัว ดังก้องกังวาลอย่างต่อเนื่อง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Vibraphone


                  3. มาริมบา(Marimba) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) ลักษณะเหมือนกับระนาดไม้ขนาดใหญ่  ลูกระนาดทำด้วยไม้พิเศษที่มีชื่อว่า “rosewood”  ใต้ลูกระนาดจะมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Marimba


                 4. ระฆังราว(Tubular  Bells) ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงจากสูงไปต่ำ  แขวนกับโครงโลหะในแนวดิ่ง  ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนระฆัง


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Tubular%20%20Bells


                  5. กลองทิมปานี(Timpani) เป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกระทะหรือกาต้มน้ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดง ตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานีมีระดับเสียงแน่นอนเทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามต้องการ ในการบรรเลงต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ เสียงของกลองจะแสดงอำนาจ ทำให้ความยิ่งใหญ่  ตื่นเต้นเร้าใจ


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Timpani


2.เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments)


         2. เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด


                   1. กิ๋ง(Triangle) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ ทำด้วยแท่งโลหะ  ดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม  แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.  เพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน ต้องแขวนกิ๋งไว้กับเชือกแล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ  กิ๋งมีเสียงแจ่มใส  มีชีวิตชีวา


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Triangle2


                  2. ฉาบ(Cymbal) คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา   แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย  ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป   เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ  ความสนุกสนาน  และความอึกทึกครึกโครม
                      
 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cymbal4 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cymbal3 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Cymbal2
                            
                  3. แทมโบริน(Tambourine) เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะ  ประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือนขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว  ขอบอาจทำด้วยไม้  พลาสติก หรือโลหะ รอบๆ ขอบติดด้วยแผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่น หรือติดด้วยลูกกระพรวนเป็นระยะ  ใช้การตีกระทบกับฝ่ามือหรือสั่นเขย่า ให้เกิดเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง เพื่อประกอบจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน  สดชื่น แทมโบรินบางชนิดจะขึงด้วยหนังเหมือนกลอง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังก็ได้  แทมโบรินมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Riqq หรือ Riq
                             
 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Tambourine ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Tambourine2
                                                 
                 4. มาราคา(Maraca) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัด ทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า  เมล็ดถั่วต่างๆ หรือลูกปัดลูกเล็กๆ ต่อด้ามไว้สำหรับจับถือ เล่นโดยการเขย่าด้วยมือทั้ง 2 ข้างสอดสลับกันเพื่อให้เกิดเสียงซ่าๆ ปัจจุบันทำด้วยไม้และพลาสติก


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Maraca


                 5. กลองชุด(Drum set) คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบขนาดต่างๆ  กลองทอม 2 หรือ 3 ลูกที่มีขนาดแตกต่างกัน ไฮแอท (ฉาบ 2 ฝาประกบติดกัน กระทบกันด้วยขาเหยียบ) พร้อมทั้งเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่นๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพิเศษ อีกด้วย เช่น เคาเบลล์ เป็นต้น


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 Drum%20set2

       วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)
    วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คน
ขนาดกลาง 60-80 คน และ วงใหญ่  80-110 คน หรือ มากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่
กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร (conductor) ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม


 ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร  ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16 F108
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นาย ธนากร ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นายคมสันต์ ปัดตัง ชั้น ม.4/5 เลขที่ 29
» ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นาย ธนากร ภูอินนา ชั้น ม.4/5 เลขที่ 16
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีไทย จัดส่งโดย นาย ธนากร ภูอินนา เลขที่ 16 ชั้น ม.4/5
» ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นายวุฒินันท์ จันทสิงห์ ชั้น ม.4/5 เลขที่ 17
» ส่งงาน ประเภทดนตรีสากล โดย นายธนากร สอาดชอบ ชั้น ม.4/5 เลขที่ 19

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/5 :: ส่งงาน ครั้งที่ 4-
ไปที่: