Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
rosjanee tontan

rosjanee tontan


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 09/06/2016

ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37   ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 Icon_minitimeMon Jun 27, 2016 3:10 pm

ประวัติดนตรีสากล
ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
              การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 330g4t1

              การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
            ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
             การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
             การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2. สมัยโรมัน (Roman)
3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)
6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)
               การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
              โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 2v3rfcz

ยุคต่างๆของดนตรีสากล
      นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้
          -1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
         -2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen
         -3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart
        -4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
        -5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
                ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
               วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน
สมัยศตวรรษที่ 20 – ปัจจุบัน
                หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
                จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “ โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “ อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง
ลักษณะของบทเพลง
                ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง
ประเภทของเพลงดนตรี
     เพลงประเภทต่างๆ  แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีได้  6  ประเภท  ดังนี้

ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 2n7kw9d
         
1. เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า  ( Orchestra )   มีดังนี้
              – ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง  คำว่าSonata  หมายถึง  เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ  เช่นเพลงของไวโอลิน  เรียกว่า  Violin  Sonata  เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน   การนำเอาเพลงโซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า  ซิมโฟนี่
             – คอนเซอร์โต  ( Concerto)  คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่  แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว  หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน  เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น   ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน
            – เพลงเบ็ดเตล็ด  เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง

ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 Ivalue
       
 2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค  ( Chamber  Music )  เป็นเพลงสั้นๆ  ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง  ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย  คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล

 ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 2isz47c
3.  สำหรับเดี่ยว  เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า   เพลง โซนาตา

   ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 20a9px3

4. โอราทอริโอ  ( Oratorio )  และแคนตาตา ( Cantata)  เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์  จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง  แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา

       ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 M8d7vo

5. โอเปรา (Opera  )  หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง   เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ

       ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37 J603z5

6. เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไปได้แก่  เพลงที่ร้องเดี่ยว   ร้องหมู่  หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา    คามวงคอมโบ  ( Combo)หรือชาโดว์  (Shadow )  ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้นม.4/5 เลขที่ 37
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดย นางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้น ม.4/5 เลฃที่ 37
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริลักษณ์ ไชยายงค์ ชั้นม.4/5 เลขที่ 18
» ส่งงาน วงปี่พาทย์เสภา นางสาวรจนีย์ ทนทาน ชั้น 4/5 เลขที่ 37
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรี โดย นางสาวปิยธิดา ช้อนสุข ชั้นม.4/5 เลขที่4
» ส่งงานเรื่อง ประเภทเครื่องดนตรีสากล โดย นางสาวกัณภัทร ดวงบุปผา เลขที่15 ชั้นม.4/3

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/5 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: