Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนายสิทธิพล บุญศรี ชั้น ม. 408 เลขที่ 3

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
sittipol boonsri

sittipol boonsri


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 12/06/2016

ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนายสิทธิพล บุญศรี ชั้น ม. 408 เลขที่ 3   ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 Icon_minitimeSat Jun 25, 2016 4:06 pm

ประวัติดนตรีสากล




                การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 Vq4b2o







        โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา



ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 116nr83




ยุคต่างๆของดนตรีสากล
นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้





1.  Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 2whnnsn








2.  Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 4v5jyd







3.  Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 ) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ HaydnGluck และMozart


ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 Wahvuv




4.  Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 ) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย


ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 E9c7yt





5. Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน



ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 34979fb








        ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ ศาสนา โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการดนตรี ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์ เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000 สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ ตัวโน้ต ( Note ) นั่นเอง โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด เร มี นั้น เป็นคำสวดในภาษาละติน จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด


ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 2up7ax5




         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน

ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 1tk0t2



ประเภทของเพลงดนตรี

เพลงประเภทต่างๆ แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีได้ 6 ประเภท ดังนี้




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 726p1h




1.  เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ( Orchestra ) มีดังนี้


         - ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง คำว่าSonata หมายถึง เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่นเพลงของไวโอลิน เรียกว่า Violin Sonata เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน การนำเอาเพ โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า ซิมโฟนี่


         - คอนเซอร์โต ( Concerto) คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่ แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน


         - เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 121vnz5





2.  เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค ( Chamber Music ) เป็นเพลงสั้นๆ ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 2rzqp1l




3.  สำหรับเดี่ยว เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลง โซนาตา




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 69gbwx




4.  โอราทอริโอ ( Oratorio ) และแคนตาตา ( Cantata) เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์ จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 24mw11z




5.  โอเปรา (Opera ) หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ




ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล  โดยนายสิทธิพล  บุญศรี  ชั้น ม. 408 เลขที่ 3 35a874w




6.  เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไปได้แก่ เพลงที่ร้องเดี่ยว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา คามวงคอมโบ ( Combo) หรือชาโดว์ (Shadow ) ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป

ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนายสิทธิพล บุญศรี ชั้น ม. 408 เลขที่ 3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวสิริวิมล บุญศรี ชั้น ม.405 เลขที่ 1
» ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนายสิทธิพล บุญศรี ม.4/8 เลขที่3
» ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ชั้น ม.405 เลขที่ 7
» ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวภัทรวดี ทองกาย ชั้น ม. 405 เลขที่ 6
» ส่งงานเรื่องประเภทของวงดนตรีสากล โดยนางสาวปัทมวรรณ อำนวยโภชน์ ชั้น ม.4/2 เลขที่ 4

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/8 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: