Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
natsuda chaimen

natsuda chaimen


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 09/06/2016

ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14   ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Icon_minitimeWed Jun 22, 2016 6:23 pm

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล


ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Han


ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี

การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตั วเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันน ี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อ นหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพส ังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสม ัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตาม แนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกัน จนถึง ปัจจุบันนี้

      การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในกา รได้ศึกษา เรียนรู้ และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้ว ยังเป็นการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นแล ะการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบัน และเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคต ด้วย

         ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักการสร้างเสียงดนตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การตีเกราะ เคาะไม้ การเป่าเขาสัตว์ การเป่าใบไม้ เพื่อส่งสัญญาณต่างๆ มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลง เพื่อให้หายเครียด เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการประกอบพิธีกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเสียงดนตรี มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้สนใจดนตรีในด้านศิลปะ ดนตรีจึงได้วิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ

1. ยุคกลาง (Middle Ages )

ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Picture-7


เริ่มประมาณปี ค.ศ. 4

0 - 14
00 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริ สต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมัน โบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ
เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ผลงานการรวบรวมบทสวดของสันตะปาปาเกรกอรี ถูกเรียกว่า เกรกอรีชานท์ (Gregory Chant)หรือบทสวดของเกรกอรี ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงรองที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)
     วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไ ป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่า โพลีโฟนี (Polyphony)

 ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยุ่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)

ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 10g

สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เริ่มประมาณ ค.ศ. 1400 – 1600 เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุกแนวเสียงมีความสำคัญแบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไปพร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ เพลงในสมัยนี้ ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอน คือ ยังไม่มีการแบ่งห้องออกเป็น 3/4 หรือ 4/4 เพลงส่วนใหญ่ก็ยังเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบขั้นต อนต่างๆ ของพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือ เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet) คำร้องเป็นภาษาละติน เพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนาก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรัก หรือยกย่องบุคคลสำคัญ และมักจะมีจังหวะสนุกสนาน นอกจากนี้ยังใช้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติ

         เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส

เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)

มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิก เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลัก ษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งข องเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อน
มีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอ รมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง



ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น

ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน

3. ยุคบาโรก (The Baroque Period)

ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Hqdefault


 คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)

ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที ่ 18
นตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและห ันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยท ีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)
       ดนตรีในสมัยนี้จะอยู่ประมาณ ค.ศ. 1600 – 1750 ช่วงระยะเวลานี้ ทวีปยุโรปกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น ดนตรีในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบูรณ์ ดนตรีศาสนา และดนตรีของชาวบ้านมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกัน โครงสร้างของเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สีสันในบทเพลงมีมากขึ้นวงดนตรีวงใหญ่ขึ้น มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้อย่างหลากหลาย เพลงในยุคนี้จะมีจังหวะสม่ำเสมอมาก ทางด้านการประสานเสียงมีการใช้เสียงหลัก (Tonality) ที่แน่นอน เพลงแต่ละเพลงจะต้องอยู่ในกุญแจหนึ่ง เช่น เริ่มด้วยกุญแจ C ก็ต้องจบด้วยกุญแจ C มีกฎเกณฑ์การใช้คอร์ด นักประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมทำนองสั้นๆ (Motif) มาบรรเลงซ้ำๆ กัน โดยเลียนแบบให้สูงขึ้น หรือต่ำลงเป็นลำดับ หรือไม่ก็ซ้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ในด้านจังหวะ ได้ทำให้กระชับขึ้นมาก โดยมีการใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) จุดสุดยอดแห่งการเขียนเพลงแบบนี้คือ เพลงประเภท ฟิวก์ (Fugue) ซึ้งใช้เป็นทั้งเพลงร้องและเพลงบรรเลง เป็นเพลงที่มีหลายทำนองสลับซับซ้อน มีลวดลายมาก นอกจากนี้ การเขียนเพลงแบบโฮโมโฟนี คือ การประสานเสียงที่มีทำนองหลักหนึ่งแนว และมีแนวเสียงอื่นเป็นส่วนประกอบ ได้รับพัฒนาอย่างสมบูรณ์ในยุคนี้ นักประพันธ์เพลงหลายท่าน ได้สร้างผลงานโดยใช้หลักการประสานเสียงแบบโฮโมโฟนี ผู้มีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบร รเลงในยุคนี้ คือ วิวาลดี (Antonio Vivaldi ค.ศ. 1676 - 1741) เพลงที่เขาเขียนส่วนใหญ่ เป็นเพลงประเภท คอนแชร์โต (Concerto) ซึ่งเป็นเพลงสำหรับเดี่ยวคนเดียว ส่วนเพลงที่มีเดี่ยว 2 – 4 คน เพลงประเภทหลังนี้เรียกว่า คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) ยุคนี้เป็นยุคที่ริเริ่มเขียนอุปรากร (Opera) ขึ้น ผู้ที่มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่ทางด้านอุปรากร (Opera) คือ มอนทิเวอร์ดี (Claudio Monteverdi ค.ศ. 1567 - 1643)



5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period)


ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 %E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E28


ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)

นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้
- คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
- ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศต วรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังใ นสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง

ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2535:111)

1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่ เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ
ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง

ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1820 – 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรี ดนตรีมิได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้นำทางศาสนาหรือการปกครอง ได้มีการแสดงดนตรี (Concert) สำหรับสาธารณชนอย่างแพร่หลาย นักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเองได้เต็มที ่ และต้องการสร้างสไตล์การเขียนเพลงของตนเองด้วย ทำให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกันอย่างมาก ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด ดนตรีในยุคนี้จึงไม่คำนึงถึงรูปแบบ และความสมดุล แต่จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ เช่น คอร์ด 7,9 หรือ 11 นอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้ว คีตกวียังชอบเขียนเพลงบรรยายธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝัน ของตนเอง โดยพยายามทำเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังบ รรยายมากที่สุด เพลงที่มีแนวเรื่องหรือทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นแนวการเขียนนี้เรีย กว่า ดนตรีพรรณนา (Descriptive Music) หรือ โปรแกรมมิวสิค (Program Music) สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)

          ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วย (Nationalism) คือ คีตกวีจะแสดงออกโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่ งขึ้น หรือแต่งให้มีสำเนียงของชาติตนเองมากที่สุด โดยใช้บันไดเสียงพิเศษของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน รักชาติบ้านเมืองเกิดความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่างบนแผ่นดินที่อาศ ัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส (Jean Sibelius) แต่งเพลง ฟินแลนเดีย (Finlandia) โชแปง (Frederic Chopin) แต่งเพลง มาซูกา (Mazurka) และโพโลเนียส (Polonaise) นอกจากนี้ยังมีคีตกวีชาติอื่นๆ อีกมาก



คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 - 1957)

2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 - 1886)

3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 - 1847)

4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 - 1849)

5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 - 1856)

6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 - 1883)

7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 - 1897)

8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 - 1893)
 
6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)

ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Hqdefault


ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890 - 1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของยุคโรแมนติกนี้ มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบูสซี ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส โดยการใช้ลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม (Whole-tone Scale) ทำให้เกิดลักษณะของเพลงอีกแบหนึ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองทำให้เพลงในยุค นี้มีลักษณะ ลึกลับ ไม่กระจ่างชัด เพราะคอร์ดที่ใช้จะเป็นลักษณะของอ๊อกเมนเต็ด (Augmented) มีการใช้คอร์ดคู่ 6 ขนาน ลักษณะของความรู้สึกที่ได้จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความ รู้สึก “คล้ายๆ ว่าจะเป็น” หรือ “คล้ายๆ ว่าจะเหมือน” มากว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ซึ่งเป็นความประสงค์ของการประพันธ์เพลงประเภทนี้ ชื่ออิมเพรสชั่นนิสติค หรือ อิมเพรสชั่นนิซึมนั้น เป็นชื่อยุคของศิลปะการวาดภาพที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี Monet,Manet และ Renoir เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพที่ประกอบด้วยการแต้มแต่งสีเป็นจุดๆ มิใช่เป็นการระบายสีทั่วๆ ไป แต่ผลที่ได้ก็เป็นรูปลักษณะของคนหรือภาพวิวได้ ทางดนตรีได้นำชื่อนี้มาใช้ ผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้นอกไปจากเดอบูสซีแล้วยังมี ราเวล ดูคาส เดลิอุส สตราวินสกี และโชนเบิร์ก (ผลงานระยะแรก) เป็นต้น

ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่ จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไป
กลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง (ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)

นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆ
และนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เ พลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัด
ลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ
“คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)

7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)


ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14 Neworlean


เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก

หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจาก แนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานประวัติดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.405 เลขที่14
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประเภทของเครื่องดนตรี โดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.4/5 เลขที่14
» ส่งงาน วงดนตรีไทย โดย นางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้น405 เลขที่14
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.4/5 เลขที่14
» ส่งงาน เรื่องประเภทดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวละอองดาว โอดประภัย เลขที่14
» ส่งงานเรื่องประเภทดนตรีสากล จัดทำโดย นางสาวพัชรี สลัดพันธ์ เลขที่24

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/5 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: