Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร วงค์ที เลขที่ 9

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
suphaporn wongtee

suphaporn wongtee


จำนวนข้อความ : 2
Join date : 18/06/2016

ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร วงค์ที เลขที่ 9   ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Icon_minitimeTue Jun 28, 2016 5:04 pm

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี
การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
  การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบรา ณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย& s บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขค วามสบาย
        โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย ์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั ้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป        
ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ& เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
         การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตั วเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อ นหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพส ังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสม ัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตาม แนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกัน จนถึง ปัจจุบันนี้
      การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในกา รได้ศึกษา เรียนรู้ และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้ว ยังเป็นการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นแล ะการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบัน และเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคต ด้วย
         ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักการสร้างเสียงดนตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การตีเกราะ เคาะไม้ การเป่าเขาสัตว์ การเป่าใบไม้ เพื่อส่งสัญญาณต่างๆ มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลง เพื่อให้หายเครียด เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการประกอบพิธีกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเสียงดนตรี มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้สนใจดนตรีในด้านศิลปะ ดนตรีจึงได้วิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ


ยุคสมัยดนตรีตะวันตก
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Ip85z9
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 309oayh
1. ยุคกลาง (Middle Ages )

ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Nl54wp
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Apjv28

2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 35hiw03
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 2m4rj7q
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 1zeibfp

3. ยุคบาโรก (The Baroque Period)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 2jd3nva

4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 117b509

5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 214uyhj


6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 W7hfmp

7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร  วงค์ที เลขที่ 9 Iwsopf

กลาสสนใจศึกษาดนตรีของชนชาติและเผ่าต่าง ๆ ทั่วโลกและนำมาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์เพลง ผลงานของกลาสเป็นอีกสมัยหนึ่งของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไปตามความค ิดสร้างสรรค์ของกลาสผู้ประพันธ์ที่ไม่หยุดอยู่กับที่ ผู้ซึ่งต้องการเสนอผลงานในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ฟังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าความหมายที่แท้จริงของดนต รีอยู่ที่ใดแน่(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :184)
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว สุภาพร วงค์ที เลขที่ 9
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ประวัติดนตรีไทย โดย ด.ญ.สุภาพร พิมโคตร เลขที่ 30
» ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว ปิยฉัตร สุกีย์ เลขที่ 29
» ส่งงานประเภทของดนตรีสากล โดย นางสาว ภาวิดา ประวา เลขที่ 31
» ส่งงานประวัติดนตรีสากล โดย นางสาว ณัฐณิชา ราศิวงค์ เลขที่ 11
» ส่งงานประเภทวงดนตรีไทย โดย นางสาว อิทสรา มาลัย เลขที่ 11

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/4 :: ส่งงานครั้งที่ 3-
ไปที่: