Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
thossaporn srisura

thossaporn srisura


จำนวนข้อความ : 6
Join date : 10/06/2016

ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1   ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Icon_minitimeMon Jun 27, 2016 6:51 pm

                        
ประเภทของวงดนตรีสากล


ประเภทของวงดนตรีสากล แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้



1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)
หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูงต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้น ทำให้สถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่ และ ในConcert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะวงแชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆกัน โดยปกติจะมีนักดนตรี 29 คนและ เรียกชื่อต่างๆกัน ตามจำนวนของผู้บรรเลงดังนี้ 




จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 2psentc


จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 15z59bq


จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 348lunk


จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 2mwgwp2

จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet)



ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Ftjjq


จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 2uyklyb




จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Af798h


จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 11ukbgo

การเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรี และ จำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น  

วงสตริงทรีโอ (String Trio)  มี  ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน
วงสตริงควอเตท (String Quartet)  มี  ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน
วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน
 


วูดวินควินเตท (Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน


ได้แก่ ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และ เฟรนซ์ฮอร์น  



       ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 2z5t6x1


วงแชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด 
เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน
ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ
( *สำหรับปัจจุบันแล้ว วงแชมเบอร์มิวสิคยังคงได้รับความที่นิยมนำไปใช้บรรเลงในงานฉลองมงคลสมรสอีกด้วย* )
ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble) 
เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของ  โมสาร์ท เป็น Serenade  สำหรับเครื่องลม Bแฟลต   
 
2.วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)
วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คน
ขนาดกลาง 60-80 คน และ วงใหญ่  80-110 คน หรือ มากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่
กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร (conductor) ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม
ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony  Orchestra ก็เรียกว่า String Orchestra


3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ
 ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีีกลุ่มแซกโซโฟน, กลุ่มเครื่องทองเหลือง
และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ
วงป๊อปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด 
1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้
กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน
กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน
กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด
( วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4
ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน
 
3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7)  มี 16  ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว
.ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโนคะ


ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Vo7pef
 
 


4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ
เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน 
จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และ พวกเครื่อง
เป่า ทั้งลมไม้ และ เครื่องทองเหลือง  เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโน หรือ มีเครื่องเป่า
ผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับวงป๊อปปูลามิวสิค
วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band)แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับ
เล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลง
สากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนื้
1.แซ็กโซโฟน 2ทรัมเป็ต 3 ทรอมโบน 4 เปียโ นหรือออร์แกน 5 กีตาร์คอร์ด 6 กีตาร์เบส


5. วงชาร์โด (Shadow) 
เป็นวงดนตรีขนาดเล็กเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20 ปีมานี่เอง ในอเมริกาวงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ
คณะTheBeattleหรือสี่เต่าทองเครื่องดนตรี
ในสมัยแรก มี4ชิ้น คือ1. กีตาร์เมโลดี้(หรือกีตาร์โซโล)  2. กีตาร์คอร์ด 3. กีตาร์เบส  4. กลองชุด
วงชาโดว์ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่าเช่นแซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม 
และบางทีอาจมีไวโอลินผสมด้วยเพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น 
โดยเฉพาะเพลงประเภท  อันเดอร์กราว


6. วงแจ๊ส (Jazz) 


                  I


 
แบบของแจ๊สที่ควรรู้จักBlues Jazz เพลงบลูส์ 
เกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนแถบปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี แต่สมัยแรกๆไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต่อมาพ.ศ. 2467ได้มีการอัดแผ่นเสียง
จำหน่าย จึงแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งดนตรีได้มีโอกาสไปแสดงตามที่ต่างๆในสมัยแรกๆเพลงบลูส์ใช้กีตาร์เล่นนำและคลอ
เสียงร้องเล่นกันตามข้างถนน  ตามย่านชุมชน คนผ่านไปมาก็ให้เงินบ้างไม่ให้บ้าง  เนื้อร้องร้องไปคิดไป ไม่มีการเตรียม
ไว้ล่วงหน้ามาก่อน ดังนั้นร้องกี่ครั้งก็ไม่เหมือนกัน นึกจะจบก็จบเอาดื้อๆคล้ายกับเพลงฉ่อยของประเทศไทย เพลงบลูส์ได้รับอิทธิพล
จากศาสนามากดังนั้นเนื้อร้องก็มีเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย ต่อมาเพลงบลูส์ได้เจริญขึ้นก็นำไปเล่นกับวงแจ๊๊สก็กลายเป็น
บลูส์์แจ๊๊สเพลงประเภทนี้ส่วนมากจังหวะช้าๆ ครั้งแรกที่ไม่ค่อยนิยมเพลงบลูส์เนื่องจากโน้ตค่อนข้างยาก
ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472 จึงเป็นแรงหนึ่งที่ทำให้รับความนิยม
New orlean and dixieland style ทั้ง 2 แบบเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19
และมาแพร่หลายในปพ.ศ 2473 ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472
ต่อมามีทรอมโบนและคลาริเ็น็ท เบนโจ กีตาร์ ทูบา กลอง เปียโน  แซ็กโซโฟน ปัจจุบันใช้เบสแทนทูบา 
นิยมให้ทรัมเป็ตเป็นตัวนำก่อนแล้วจึงเล่นพร้อมกันทั้งวงและเล่นกันเฉพาะทำนอง เพราะยังไม่มีใครรู้จัก
Adlibกันเท่าไหร่  กลองก็เล่นจังหวะธรรมดา  
Modern  Style  โฉมหน้าของแจ๊๊สได้เปลี่ยนไปมากเมื่อหลุยส์  อาร์มสตรองได้คิดวิธีเล่นใหม่ คือ
มีทำนองหลักแล้วผลัดกันเล่นทีละคน
 แต่ละคน Adlib  กันอย่างสนุกสนานและเล่นค่อนข้างเร็วมาก  บางทีก็เล่นพร้อมๆ กัน ฟังดูเหมือนต่างคนต่างเล่น
แต่อยู่ในกรอบอันเดียวกัน   Bop Style  ผู้ที่คิดขึ้น  คือ The  lonious  Monk  กับ  Dizzy  gillespie
โดยเอาแบบของยุโรปมาผสมมีการเปลี่ยนแปลงทำนองและจังหวะ  ใช้คอร์ดเป็นหลัก  เล่นเร็วมาก ผลัดกันเล่นทีละชิ้น


                จังหวะของแจ๊๊สในยุคหลังก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ
  Swing 
แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำ 
ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน
และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing    
Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราวพ.ศ.2493 ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)
เพลงแจ๊๊สที่เราคุ้นๆหูก็คือเพลง When the saints to marching in เพลงนี้เป็นเพลงที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง
 เป็นเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงมาก ในการแสดงดนตรีแจ๊๊สทุกครั้งมักมีเพลงนี้เล่นด้วยเสมอ ตอนแรกเป็นเพลงสวดต่อมาเล่นแบบมาร์ช
และในที่สุด ก็เล่นแบบ New orleans
อาร์มสตรองเล่นเพลงนี้ได้ดีที่สุดเมื่อ  พ.ศ.  2481 เครื่องดนตรีแจ๊๊ส ที่นิยมเล่นกันมีดังนี้คือ 1.คลาริเน็ท
2. แซ็กโซโฟน (โซปราโน,อัลโต,เทเนอร์) 3. คอร์เน็ต 4.ทรัมเป็ต 5.ทรอมโบน 6.เบนโจ 7.เปียโน8. กีตาร์ 9.เบส 10.กลองชุด
ปัจจุบันแจ๊๊สได้เล่นอย่างมีแบบแผน มีการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นมีการกำหนดแน่นอน
 ซึ่งใช้แบบของวงดนตรีปอปปูลามิวสิค


7. วงโยธวาทิต  ( Military  Band )
ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม คือ เครื่องลมไม้  เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่
เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร
ในสมัยสงครามครูเสด  ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14ต่อมาในสมัยของนโปเลียน 
ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตรและต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต
ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์  นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ
ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย 
จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว  ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  56  ชิ้น



.ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 Wb5nx4


8.แตรวง  (Brass  Band )
คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง 
การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้นแตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  26  ชิ้น

ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1 4skx93
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดย นายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1
» ส่งงานเรื่อง ดนตรีไทย นายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1
» ส่งงานเรื่อง ประเภทวงดนตรีสากล โดยนางสาวปลายฟ้า ประวา เลขที่ 28
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยนางสาวสไบขวัญ เอื้อวิบูลย์กุล เลขที่ 16
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวมะลิวัลย์ พิมพ์บุตร เลขที่ 7

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 4-
ไปที่: