Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
wimonsiri sutthanang

wimonsiri sutthanang


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 10/06/2016

ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29   ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Icon_minitimeSun Jun 26, 2016 7:15 pm

ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 2lldqua
ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
              การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
              การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
            ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
             การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
             การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
อารยธรรมโบราณทางภาคพื้นยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปีความเจริญในศิลปวัฒนธรรม
ของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชความเจริญดังกล่าวสูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการ
ชำระล้างบาป และมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษาวัฒนธรรม
ตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงาม และศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก
รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก
 
 

เครื่องดนตรีสมัยกรีก
       
ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Azhs9f

2. สมัยโรมัน (Roman)
หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนา
รูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant)โดยมากแล้วแต่ละแห่ง
จะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว

นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบเฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์
ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.)ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม(Neo-Platonic) โพลตินุสได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจ
และจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลาย
หากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร

ในสมัยหลัง ๆ การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่ สบอารมณ์
หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัยของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรี
ที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูด ได้ว่าคึกคักมากสมาคมสำหรับ
นักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลัง ๆ

เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบพิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์
จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้แก่เมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น

โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งจะเป็นผลดีผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่

จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้งโบราณโดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรี
ที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติ และจัดระเบียบของเสียงระบบเสียงที่ก่อให้เกิด
บันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลา หรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวมทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ
ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป  



ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 140jm14




3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมันประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิ
                   

ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Qspa1c

 
 




- เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้นิ้วดีด ได้แก่ ลิวต์ (Lute




อ้างอิงจาก :
ภาพทูตสวรรค์กำลังบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ

- เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ปี่ชอม (Shawm) แตรฮอร์นและทรัมเปต
         

4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)





คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้
หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)

1. สมัยศตวรรษที่ 15

ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 24vuu1l

ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)

ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย

2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อน
มีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง

ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 2q2e736

ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น

ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน

สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์
- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น

                 


5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)

คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)

ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18
นตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)




ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้

ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตัดกัน”
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง

ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147



ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 6edw1c
 





อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้ (อนรรฆ จรัณยานนท์,ม.ป.ป. :56)

1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก เรียกว่า Figured bass
3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major)และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี (Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
» ส่งงานเรื่อง ดนตรีไทยโดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
» ส่งงาน ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวพันธิตรานันท์ อินทร์ขาว เลขที่ 13
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวปรีญาภรณ์ นิลดวงดี เลขที่ 11

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/6 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: