Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Siriwan Khantee

Siriwan Khantee


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 09/06/2016

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3   ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Icon_minitimeSun Jun 26, 2016 5:21 pm

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
               การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
               การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
             ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
              การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
              การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)

1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)

อารยธรรมโบราณทางภาคพื้นยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปีความเจริญในศิลปวัฒนธรรม
ของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชความเจริญดังกล่าวสูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการ
ชำระล้างบาป และมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษาวัฒนธรรม
ตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงาม และศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก
รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก




ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-4     ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-3

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image58    ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image60




ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-7

เครื่องดนตรีสมัยกรีก
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-8       ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-12   ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-9ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-10

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Chap4-11


[size=13][size=18]2. สมัยโรมัน (Roman)


หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนา
รูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant)โดยมากแล้วแต่ละแห่ง
จะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว

นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบเฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์
ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.)ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม(Neo-Platonic) โพลตินุสได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจ
และจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลาย
หากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร

ในสมัยหลัง ๆ การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่ สบอารมณ์
หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัยของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรี
ที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูด ได้ว่าคึกคักมากสมาคมสำหรับ
นักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลัง ๆ

เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบพิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์
จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้แก่เมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น

โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งจะเป็นผลดีผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่

จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้งโบราณโดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรี
ที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติ และจัดระเบียบของเสียงระบบเสียงที่ก่อให้เกิด
บันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลา หรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวมทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ
ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป


ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image69


3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมันประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิ
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image81

[size=18]4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)


ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image93

คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้
หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี
โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ 
ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)

5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)
คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)

ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18
นตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Wpe10       ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Image123

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3 Wpe11[/size]
[/size][/size]
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประวัติคีตกวีไทย โดย นางสาวศิริวรรณ ขันตี ชั้นม.4/6 เลขที่3
» ส่งงาน เรื่อง วงดนตร๊ไทย โดยนางสาวศิริวรรณ ขันตี เลขที่ 3
»  ส่งงาน เรื่องประเภทของดนตรีสากล โดยนายศรราม นามวงศ์ ชั้น ม4/5 เลขที่3
» ส่งงาน เรื่องประวัติดรตรีสากล โดยนางสาวกิตติยาพร แห่งภูเขียว ชั้นม.4/6 เลขที่21
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวสิริยากร จันทร์ชนะ ชั้นม.4/5 เลขที่9

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/6 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: