Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Weeravat dokkham

Weeravat dokkham


จำนวนข้อความ : 6
Join date : 09/06/2016

ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2   ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 Icon_minitimeThu Jun 23, 2016 6:26 pm

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 E3

การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล(music Instruments) 

ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 405
          
                       เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

              เครื่องสาย (String Instruments)
              เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
              เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
              เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)




๑. เครื่องสาย (String Instruments) เครื่องสาย เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของสายด้วยวิธีการดีด การสีสายจะมีขนาดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้ทำสายทำมาจากเส้นเอ็น เส้นไหม ลวดโลหะ โดยนำมาขึงให้ตึงกับตัวเครื่องดนตรี ความดัง เบา ของเครื่องดนตรีขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างเครื่องดนตรี เเละวัสดุที่ใช้ทำลำตัวเครื่องดนตรี เครื่องสายแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ เครื่องสายที่ใช้คันสีและเครื่องสายที่ใช้ดีด

เครื่องสายที่ใช้คันสี ทำให้เกิดเสียงโดยใช้คันสีซึ่งขึงด้วยหางม้าสีลงบนสาย




ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 001


          ไวโอลิน (Violin) เป็นเครื่องดนตรีเอกในวงออร์เคสตรา เกิดเสียงจากการสี และดีด

มีสายทั้งหมด ๔ สาย ให้เสียงที่แหลมและต่ำปานกลาง





ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 002


          วิโอลา (Viola) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเดียวกับไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าไวโอลินใช้เล่นแนวประสานเสียงกับไวโอลินในวงออร์เคสตรา ให้เสียงไม่แหลมสดใสเหมือนไวโอลิน และเสียงจะต่ำกว่าไวโอลิน




ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 003


          วิโอลอนเชลโล (Violoncello) หรือเชลโล (Cello) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลาประมาณ ๓ เท่า เวลาเล่นต้องนั่งเก้าอี้ตั้งตรึงเครื่องไว้กับพื้นโดยมีหมุดยึด เชลโลให้เสียงที่ทุ้มและหนักแน่น เสียงต่ำกว่าวิโอลา




ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 004


          ดับเบิลเบส (Double Bass) หรือเบส (Bass) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจนมีผู้ตั้งฉายาให้ว่าเป็นปู่ไวโอลิน เวลาจะบรรเลงดนตรีต้องยืนเล่น เบสให้เสียงที่ทุ่มและหนักแน่น เสียงจะต่ำกว่าเชลโล

เครื่องสายที่ใช้ดีด ทำให้เกิดเสียงโดยใช้นิ้วดีดสาย หรือใช้แผ่นพลาสติกบางๆ เรียกว่ากระดีดหรือพิก (Pick) ดีดแทนนิ้ว



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 005


          ฮาร์ป (Harp) เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ เกิดเสียงด้วยการดีดสาย มีสายทั้งหมด๔๗ สาย มีที่เหยียบ (Pedal) เพื่อเปลี่ยนบันไดเสียง ๗ อัน รูปร่างฮาร์ปเป็นโครงรูปสามเหลี่ยมโค้งงอเสียงของฮาร์ปมีความสดใส





ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 006



          ลูท (Lute) เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่มาก เป็นเครื่องดนตรีต้นแบบกีตาร์ กำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด มีรูปทรงเหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 Mandolin


          แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่ (12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด ลักษณะการดีดคล้ายการดีดกีตาร์โดยใช้ปิ๊ค (Pick)เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะเป็นเสียงที่มีคุณภาพ เร้าอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะอารมณ์



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 Banjo



          แบนโจ (Banjo) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 007

ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 007-1
          กีตาร์ (Guitar) เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นกันมากในปัจจุบัน เกิดเสียงจากการดีด มีสาย ๖ สายมีทั้งกีตาร์อะคูสติค (Acoustic Guitar) หรือกีตาร์โปร่ง ซึ่งเกิดเสียงจากกล่องเสียงโดยธรรมชาติและกีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) ซึ่งใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ช่วยขยายเสียง

          ๒. เครื่องลมใม้ (Woodwin Instruments)


เครื่องลมไม้ เป็นเครื่องเป่าที่เเต่เดิมทำมาจากไม้ แต่ในปัจจุบันอาจทำด้วยวัสดุอย่างอื่น เช่นโลหะ พลาสติก เกิดเสียงได้โดยการเป่า สามารถแบ่งเป็น ๓ ชนิดใหญ่ๆ คือ

              ๒.๑ เครื่องลมไม้ที่ไม่มีลิ้น
              ๒.๒ เครื่องลมไม้ลิ้นเดี่ยว (Single-reed Instruments)
              ๒.๓ เครื่องลมไม้ลิ้นคู่ (Double-reed Instruments) 



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 007


     ๒.๑ เครื่องลมไม้ที่ไม่มีลิ้น ได้แก่
             ฟลุท (Flute) เป็นเครื่องลมไม้ที่ไม่ใช้ลิ้น มีท่อกลวง เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมผ่านท่อลมที่ปากเป่า มีนิ้วกดคีย์โลหะที่บุนวมสำหรับเปิดปิดเพื่อให้เกิดระดับเสียง เสียงสูงของฟลุทใช้เสียงที่แหลมสดใสถ้าเล่นเสียงต่ำก็ให้เสียงที่นุ่มนวล ฟลุทในปัจจุบันมักทำด้วยโลหะ




ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 008


          ปิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกันกับฟลุท มีลักษณะที่คล้ายกันแต่มีขนาดเล็กกว่า ช่วงเสียงปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลุท ๑ ช่วงเสียงคู่แปด ปิคโคโลให้เสียงที่แหลมสูง


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 009


          รีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องลมไม้ที่ไม่ใช้ลิ้น มีปากเป่าที่เป็นเหมือนปากนกหวีดรีคอร์เดอร์มีรูสำหรับเปิดปิดนิ้วเพื่อให้เกิดระดับเสียง ๘ รู ให้เสียงที่แหลมสูง นุ่มนวลบางเบา ปัจจุบันรีคอร์เดอร์มีทั้งทำด้วยไม้และพลาสติก

     ๒.๒ เครื่องลมไม้ลิ้นเดี่ยว (Single-reed Instruments) ได้แก่


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 001


          คลาริเน็ต (Clarinet) เป็นเครื่องลมไม้ชนิดลิ้นเดี่ยว ลำตัวคลาริเนตมีทั้งทำด้วยไม้และพลาสติก เกิดระดับเสียงได้โดยการใช้นิ้วกดคีย์โลหะที่บุนวมสำหรับเปิดปิดรู เสียงคลาริเนตให้สีสันหลายแบบ มีช่วงเสียงที่กว้างทุ้มลึก และสามารถทำเสียงแหลมสูงได้


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 003

ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 002


          แซกโซโฟน (Saxophone) เป็นเครื่องลมไม้ชนิดลิ้นเดี่ยว ผู้คิดปรั้ ดิษฐ์สร้าง ชื่ออดอฟ แซก (Adolph Sax) เเห่งเมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ลำตัวแซกโซโฟนทำด้วยโลหะทองเหลืองเกิดระดับเสียงได้โดยการใช้นิ้วกดคีย้โลหะที่บุนวมสำหรับเปิดปิดรู แซกโซโฟนมีหลายขนาด เช่น โซปราโน แซกโซโฟน (Soprano Sax) อัลโต แซกโซโฟน (Alto Sax) เทเนอร์ แซกโซโฟน (Tenor Sax)บาริโทน แซกโซโฟน (Baritone Sax)

     ๒.๓ เครื่องลมไม้ลิ้นคู่ (Double-reed Instruments) ได้แก่


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 004

          โอโบ (Oboe) เป็นเครื่องลมไม้ชนิดลิ้นคู่ ลักษณะทั่วไปคล้ายคลาริเนต ยกเว้นตรงปากเป่าจะมีท่อเล็กยาวยื่นออกมา เกิดระดับเสียงได้โดยการใช้นิ้วกดคีย์โลหะที่บุนวมสำหรับเปิดปิดรูเสียงของโอโบมีความแหลมลักษณะแบบเสียงนาสิก


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 012
          บาสซูน (Bassoon) เป็นเครื่องลมไม้ชนิดลิ้นคู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และทำเสียงได้ต่ำที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ เสียงของบาสซูนมีช่วงเสียงที่แหลมและช่วงเสียงที่ต่ำ


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 006

          อิงลิชฮอร์น (English horn) มีลักษณะคล้ายโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่าโอโบ หรือเรียกอีกชื่อว่า อัลโตฮอร์น (Alto horn) เสียงของอิงลิชฮอร์นมีเสียงทุ้มต่ำกว่าโอ

๓. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)

          เครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ทำด้วยโลหะทองเหลือง เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมผ่านท่อโลหะที่ขดม้วน และมีลูกสูบสำหรับกดด้วยนิ้วเมื่อกำหนดความสั้น ยาวของท่อโลหะให้เกิดการเปลี่ยนระดับเสียง สำหรับปากเป่าเรียกว่า กำฟวด (Mouthpiece) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปถ้วยหรือระฆัง เครื่องดนตรีประเภทนี้มักเรียกว่า “แตร” เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองที่สำคัญ ได้แก่



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 010

          ฮอรนหรือเฟรนช์ฮอร์น (Horn or French Horn) เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์ รูปร่างลักษณะเป็นท่อโลหะขดกลม มีลูกสูบระบบวาล์ว เสียงของฮอร์นมีเสียงดังสง่างาม ไพเราะนุ่มนวลน่าฟัง เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างสวย มักใช้เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรี



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 011

          ทรัมเป็ต (Trumpet) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้ลูกสูบสำหรับกดด้วยนิ้ว ๓ ลูกสูบ มีกำพวดสำหรับเช้เป่า เสียงทรัมเป็ตมีเสียงดังชัดเจน มีพลังเเละให้เสียงที่สูงกว่าเครื่องลมทองเหลืองด้วยกัน



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 012

          คอร์เนท (Cornet) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับทรัมเป็ต เพียงแต่คอร์เนทนั้นเล็ก สั้นกว่าทรัมเป็ตเสียงคอร์เนทจะนุ่มนวล แต่จะมีเสียงสดใสชัดเจนน้อยกว่าทรัมเป็ต



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 013


         ทรอมโบน(Ttombone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ให้ท่อคันชักสวมรูปตัวยู เปลี่ยนระดับเสียงด้วยการเลื่อนท่อคันชัก มีกำพวดสำหรับเป่า ทรอมโบนให้เสียงที่ดังทุ้มนุ่มนวล


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 015

          บาริโทน (Baritone) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับยูโฟเนียมมาก แต่มีขนาดที่เล็กกว่ายูโฟเนียมเสียงบาริโทนจะใกล้เคียงเสียงยูโฟเนียมแต่ไม่ทุ้ม นุ่มลึกเท่าเสียงยูโฟเนียม



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 014
          ยูโฟเนียม (Euphonium) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใช้เล่นระดับเสียงต่ำ เสียงยูโฟเนียมจะนุ่ม ทุ้มต่ำ และมีความหนักเเน่น บางครั้งอาจนำไปใช้แทนเสียงของทูบา รูปร่างลักษณะของยูโฟเนียมจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าทรัมเป็ต ใช้ระบบลูกสูบ ๓-๔ ลูกสูบ มีกำพวดเป็นรูปถ้วยคล้ายของทรัมเป็ตแต่มีขนาดใหญ่กว่า



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 016

          ทุบา (Tuba) หรือบางครั้งเรียก เบสทูบา เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ให้ระดับเสียงต่ำที่สุดรูปร่างคล้ายยูโฟเนียมแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า เวลาเป่าต้องอุ้มหรือตั้งใหัปากลำโพงหงายขึ้นข้างบนใช้ระบบลูกสูบ ๓-๔ ลูกสูบ มีกำพวดเป็นรูปถ้วยขนาดใหญ่กว่าเครื่องลมทองเหลืองกลุ่มเดียวกันท่าทำหน้าที่ให้เสียงเบสต่ำ เสียงทูบาจะทุ้มลึก นุ่มนวล ไม่แตกพร่า


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 024
          ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา แต่มีรูปร่างไม่คล้ายกันถ้าเทียบกับเครื่องเป่าของเครื่องลมทองเหลืองด้วยกัน ซูซ่าโฟนจะมีขนาดที่ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าผู้เป่าต้องสอดตัวเข้าในขดของเครื่อง โดยปากลำโพงจะอยู่บนศีรษะและหันไปด้านหน้า ซูซ่าโฟนนิยมใช้บรรเลงในวงมาร์ชชิ่ง วงโยธวาทิต เสียงซูซ่าโฟนใหัเสียงคล้ายกับทูบาคือ ต่ำทุ้มลึก

           ๔. เครื่องตี (Percussion Instruments) 

          เครื่องตี หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทที่เกิดเสียงโดยการตี เคาะ เขย่า กระทบกันที่แผ่นหนัง หรือวัสดุที่เป็นของแข็ง เช่น ไม้ โลหะต่างๆ เครื่องตีแบ่งออกเป็น ๒ ปรเภท คือ
           ๔.๑ เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง (Indefinite Pitch Instruments)
           ๔.๒ เครื่องตีที่มีระดับเสียง (Definite Pitch Instruments)
                ๔.๑ เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง (Indefinite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอนทำหน้าที่ประกอบจังหวะ เช่น กลองใหญ่ กลองเล็ก แทมบูริน กิ๋ง ฉาบ ลูกแซ็ก เคาเบลล์กลองชุด เป็นต้น


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 018

          กลองใหญ่ (Bass Drum) ตัวกลองลักษณะทรงกลมใหญ่ ขึงด้วยหนังกลอง ๒ ข้างเกิดเสียงโดยการใช้ไม้สำหรับตีกลองเคาะที่หนังกลอง กลองใหญ่มีขนาดต่างๆ ขื้นอยูกับการเลือกใช้ เช่นวงออร์เคสตราใซ้ขนาดใหญ่สุด ๓๒ นิ้ว สำหรับวงโยธวาทิตอาจใช้ตั้งแต่ ๒๐-๓๒ นิ้ว เสียงกลองใหญ่ถัามีขนาดใหญ่ เสียงจะทุ้มต่ำกว่าขนาด เล็ก


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 019

กลองเล็ก (อังกฤษ : Snare Drum) เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะก็คือหน้ากลองด้านล่างขึงคาดไว้ด้วยสายสแนร์ ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสะแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น
                Snare drum มีขาตั้งรองรับตัวกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุด หรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีอื่น ๆ ที่นั่งบรรเลง สำหรับวงโยธวาทิตและแตรวงมีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลำตัวของผู้ตี กลองจะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี

                Side Drum ใช้สำหรับเรียกกลองเล็กที่ผู้ตีต้องใช้สายสะพายคล้องกลองไว้ข้างลำตัว ตะขอที่อยู่ติดกับขอบกลอง ใช้คล้องเกี่ยวกับตัวกลองไว้กับสายสะพายขอบกลองด้านบนอยู่ในระดับเดียวกับเอวของผู้ตี ตัวกลองอยุ่ในลักษณะเฉียงกับลำตัวของผู้ตี


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 020
          แทมบูริน (Tambourine) เป็นเครื่องตีมีขอบลักษณะทรงกลมขนาดเล็กประมาณ ๑๐ นิ้วขอบทำด้วยไม้ โลหะ หรือพลาสติก มีลูกกระพรวนทำด้วยโลหะเว้นเป็นระยะ เกิดเสียงโดยการเคาะตีกระทบ สั่น หรือเขย่ากับมือให้เกิดเสียงดัง ใช้เคาะประกอบจังหวะ



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 021

          กิ๋ง (Triangle) เป็นโลหะที่ถูกดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมแขวนดัวยเชือก เคาะด้วยแท่งโลหะทำให้เกิดเสียงดังกังวาน แจ่มใส ใช้ตีประกอบจังหวะ



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 029

          ฉาบ (Cymbals) ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นทรงกลมหลายขนาด ใช้ตีคู่โดยใช้ฝาฉาบ ๒ อันตีคล้ายการปรบมือ หรือตีเดี่ยวโดยใช้ไม้เคาะซึ่งใช้กับกลองชุด ฉาบถ้ามีขนาดใหญ่มากเสียงก็จะดังกังวานมากกว่าฉาบเล็ก


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 023
          ลูกแซ็ก (Maracas) เดิมทำมาจากลูกน้ำเต้าเเห้ง ภายในใส่เม็ดถั่ว หรือลูกปัดเล็กๆแล้วต่อด้ามเพื่อจับถือเวลาเขย่า ลูกแซ็กใช้ประกอบจังหวะ ปัจจุบันตัวลูกแซ็กทำด้ายไม้


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 024

          เคาเบลล์ (Cowbell) เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่พัฒนามาจากกระดิ่งผูกคอวัวลักษณะคล้ายกับระฆังตีด้วยไม้เคาะ เคาเบลล์นอกจากจะใช้ตีประกอบจังหวะเดี่ยวๆ แล้ว ปัจจุบันเคาเบลล์ยังเป็นส่วนประกอบของกลองชุดด้วย


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 025

           กลองชุด (Drum Set) เป็นเครื่องใช้ที่มีกลองขนาดต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกัน โดยมีทั้งกลองใหญ่ กลองเล็ก กลองทอม ฉาบ เคาเบลล์ ซึ่งจัดไว้เป็นชุดเดียวกัน ใช้ผู้เล่นคนเดียว กลองชุดใช้ตีประกอบจังหวะกับดนตรีแทบทุกแนวในยุคปัจจุบัน
๔.๒ เครื่องตีที่มีระดับเสียง (Definite Pitch Instruments) เป็นเครื่องตีที่มีระดับเสียงสูง ต่ำสามารถเล่นให้ทำนองเพลงได้ เช่น ไซโลโฟน ไวบราโฟน มาริมบา และกลองทิมปานี เป็นต้น


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 033
          ไซโลโฟน (Xylophone) เครื่องตีที่มีระดับเสียงเป็นระนาดไม้ขนาดเล็ก มีลูกระนาดไม้ขนาดต่างๆ ที่วางบนขาตั้ง ใต้ลูกระนาดจะมีท่อเหล็กหลายๆ ท่อต่อเพื่อขยายเสียงให้ดังขึ้น เวลาเล่นใช้ไม้สำหรับตีเคาะ ไซโลโฟนสามารถตีเล่นเป็นทำนองเพลงได้


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 034

          มาริมบา (Marimba) เครื่องตีที่มีระดับเสียงเป็นระนาดไม้ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายไซโลโฟน มีลูกระนาดไมัขนาดต่าง ๆ ที่วางบนขาตั้ง ใต้ลูกระนาดจะมีท่อเหล็กหลายๆ ท่อต่อเพื่อขยายเสียงให้ดังขึ้น เวลาเล่นใช้ไม้สำหรับตีเคาะ มาริมบาสามารถตีเล่นเป็นทำนองเพลงได้



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 035

          ไวบราโฟน (Vibraphone) เครื่องตีที่มีระดับเสียงเป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ มีลูกระนาดโลหะขนาดต่างๆ ที่วางบนขาตั้ง ใต้ลกระนาดโลหะจะมีท่อเหล็กหลายๆ ท่อต่อเพื่อขยายเสียงให้ดังขึ้นรูปร่างทั่วไปคล้ายไซโลโฟนแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า สามารถตีเล่นเป็นทำนองเพลงได้


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 036
กลองทิมปานี (Timpani) เครื่องตีที่มีระดับเสียงเป็นกลองขนาดใหญ่ ๒-๔ ใบรูปร่างคล้ายผลมะนาวผ่าซีกตั้งบนขาหยั่งสามขา ตัวกลองทำด้วยทองแดงขึงหน้ากลองด้วยหนัง มีกระเดื่อง(Pedal) สำหรับเหยียบให้เปลี่ยนระดับเสียง เกิดเสียงด้วยการตีด้วยไม้สำหรับตีทิมปานีโดยเฉพพาะเสียงทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบส ช่วยให้เพลงมีน้ำหนักขื้น สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ

๕. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard instruments)

          เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีประเภทนี้จะมีลิ่มนิ้วสำหรับใช้นิวกด ซึ่งเรียกว่าคีย์ (Key) หลายๆ ตัว โดยทั่วไปจะเป็นลิ่มนิ้วสีขาวและสีดำ คีย์บอร์ดจะมีหลายคีย์หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเครื่องชนิดใด เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดมีทั้งระบบอะคูสติค ซึ่งไม่ใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เปียโน ออร์แกนฮาร์ปซิคอร์ด คลาวิคอร์ด เเละระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วงจรไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดเสียงซึ่งปัจจุบันพัฒนามาก โดยคีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์สามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีทุกชนิดและเสียงต่างๆ ในธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 037
          เปียโน (Piano) เปียโนนิยมเเพร่หลายตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงปัจจุบัน เปียโนเกิดเสียงจากค้อนของระบบภายในเปียโนเคาะที่สายขนาดต่างๆ ซื่งขึงตึง เปียโนทำให้เกิดเสียงยาว กองกังวานโดยการเหยียบที่พีเดิล ๑ (Pedal) ช่วงเสียงของเปียโนจะกว้างมาก สามารถทำให้เกิดเสียงดัง-เบาได้จากแรงในการกดที่แผงลิ่มนิ้วของผู้เล่นเอง


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 038
          ออร์แกน (Organ) เป็นคีย์บอร์ดที่ใช้ลมเป่าผ่านท่อแต่ละท่อ เสียงออร์แกนจะมีแผงลิ่มนิ้วและพีเดิลที่ใช้เหยียบด้วยเท้า ออร์แกนสามารถให้เสียงหลายชนิดและให้เสียงที่ยาวต่อเนื่องไม่หยุดได้เนื่องจากการใช้ลมเป่า ปัจจบันใช้ระบบไฟฟ้าบังคับลม ซึ่งในอดีตให้ลมจากการอัดลมด้วยเท้าผู้เล่น หรืออาจมีผู้ เหยียบ อัดลมแทน


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 039
          ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ เกิดก่อนเปียโนการเกิดเสียงฮาร์ปซิคอร์ดเกิดจากการถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีดในขณะที่กดลิ่มนิ้ว ฮาร์ปซิคอร์ดไม่สามารถเล่นให้เสียงดังหรือเบาจากนิ้วผู้เล่นได้เหมือนเปียโน จึงมักจะมีแผงลิ่มนิ้ว ๒ แผง เพื่อเล่นเสียงดังและเสียงเบา


ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 040
          คลาวิคอร์ด (Clavichord) เป็นคีย์บอร์ดในยคแรกๆ มีลักษณะคล้ายกับฮาร์ปซิคอร์ดแต่เกิดเสียงจากการตีสายของลิ่มทองเหลืองที่ยกขึ้นให้เสียงแตกต่างได้ไม่มาก มีใช้มาตั้งแต่ดนตรียคกลางถึงศตวรรษที่ ๑๘

คีย์บอร์ดประเภทอื่นๆ 
          ปัจจุบันมีคีย์บอร์ดอีกมากมาย โดยส่วนมากใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถให้เสียงต่างๆ ได้มากมาย เช่น เสียงเปียโน เสียงเครื่องเป่าประเภทต่าง ๆ เสียงกลองเสียงธรรมชาติต่างๆ และยังมีคีย์บอร์ดที่สามารถใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้ คีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจบันได้แก่ ออร์แกนไฟฟ้า อิเล็กโทน ซินธิไซเซอร์ เป็นต้น

ประเภทของวงดนตรีสากล
          บทเพลงที่เราฟังในปัจจุบัน ได้ถูกถ่ายทอดจากผู้บรรเลงเครื่องดนตรี โดยนักประพันธ์เพลงหรือคีตกวีเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ผู้ประพันธ์เพลงเป็นผู้ที่ตั้งจุดประสงค์ในการที่จะใช้เครื่องดนตรีใดบรรรเลงขนาดเครื่องดนตรีกี่ชิ้น ลักษณะการจัดวงรูปแบบใด ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์ความเหมาะสมและความต้องการที่จะใช้งาน วงดนตรีสากลแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

อ้างอิงจาก :
อ้างอิงจาก :
๑.วงออร์เคสตรา (Orchestra)
๒.วงแซมเบอร์มิวสิก
๓.วงเเบนด์
ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 041
          ๑. วงออร์เคสตรา (Orchestra) หรือวงดุริยางค์ วิวฒนาการเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. ๑๖๐๐ จนถึงปัจจุบันทำให้วงออร์เคสตรามีความแตกต่างกันตามยุคสมัย วงออต์เคสตราประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องทองเหลือง และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะและยังมีการนำเอาเปียโน ออร์แกน หรือฮาร์ป มาร่วมบรรเลง ซึ่งขื้นอยู่กับบทเพลงที่ประพันธ์ไว้มีผู้อำนวยเพลง (Conductor) คอยคุวบคมการบรรเลงเพลงของนักดนตรี ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง

วงออร์เคสตรา แบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ดังนี้

๑.วงออร์เคสตราขนาดเล็ก มีผู้เล่นตั้งแต่ ๔๐-๖๐ คน

๒.วงออร์เคสตราขนาดกลาง มีผู้เล่นตั้งแต่ ๖๐-๘๐ คน

๓.วงออร์เคสดราขนาดใหญ่ มีผู้เล่นตั้งแต่ ๘๐-๑๐๐ คน



ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 042

          ๒. วงแชมเบอร์มิวสิก เป็นวงดนตรีที่มีชื่อเรียกตามจำนวนผู้เล่น นิยมใช้กลุ่มเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกันมาบรรเลง เช่น ตระกูลไวโอลิน ซึ่งประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิ้ลเบส หรือกลุ่มของเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องทองเหลือง สถานที่บรรเลงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่ผู้คนได้ไม่มากเนื่องจากใช้ผู้เล่นบรรเลงน้อยคน อีกทั้งไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียงหรือตู้แอมป็ ผู้ฟังต้องตั้งใจฟัง และนักดนตรีต้องมีความสามารถในการบรรเลงด้วยจึงจะได้ยินเสียงที่ไพเราะจากการฟังเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น

วงแชมเบอร์มิวสิก มีชื่อเรียกตามจำนวนผู้บรรเลงเครื่องดนตรี ดังนี้

• วงดูโอ (Duo) ผู้บรรเลง ๒ คน

• วงทรีโอ (Trio) ผู้บรรเลง ๓ คน

• วงควอเตต (Quartet) ผู้บรรเลง ๔ คน

• วงควินเตต (Quintet) ผู้บรรเลง ๕ คน

• วงเซกส์เตต (Sextet) ผู้บรรเลง ๖ คน

• วงเซปเตต (Septet) ผู้บรรเลง ๗ คน

• วงออกเตต (Octet) ผู้บรรเลง ๘ คน

• วงโนเนต (Monet) ผู้บรรเลง ๙ คน
นอกจากนี้ยังมีการประสมวงแบบต่างๆ ด้วยเปียโน และเครื่องสาย หรือเครื่องลมไม้กับเครื่องทองเหลือง ซึ่งแล้วแต่จุดประสงค์ในการแสดง

๓. วงแบนด์ เป็นการประสมวงที่มีเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องประกอบจังหวะประสมร่วมแบ่งได้ดังนี้
[center]ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 043
             ๓.๑ วงคอนเสิร์ตแบนด์ (Concert Band) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ กลุ่ม คือกลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ เป็นวงดนตรีขนาดกลางมีผู้เล่น ๓๐-๔๕ คน โดยนั่งบรรเลงเป็นหลัก และมีผู้อำนวยเพลงคอยควบคุมการบรรเลง เพลงที่บรรเลงเป็นเพลงที่เขียนขึ้นสำหรับบรรเลงกับวงคอนเสิร์ตแบนด์โดเยเฉพาะ

ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 044


             ๓.๒ วงแตรวง (Brass Band) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบการเดินแถวสวนสนาม แห่พิธีต่าง ๆ หรือใช้บรรเลงในงานกีฬา โดยมีคทากร (Drum Major) เดินนำหน้าทำหน้าที่ให้สัญญาณในการเดินแถวบรรเลง
ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2 045


             ๓.๓ วงโยธวาทิต (Military Band) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง และกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ การใช้งานคล้ายกับวงแตรวง คือ บรรเลงภาคสนามมีการแสดงแปรแถวกลางแจ้ง แต่เมื่อวงโยธวาทิตนั่งบรรเลง เราเรียกว่า คอนเสิร์ตแบนด์ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่าโยธวาทิต หมายถึง วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร
Shocked affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid affraid Shocked

Basketball Smile Basketball
[/center]
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานเรื่องประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดย นายวีระวัฒน์ ดอกคำ เลขที่ 2
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 4-
ไปที่: