Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
maneewan masriha

maneewan masriha


จำนวนข้อความ : 5
Join date : 11/06/2016

ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33   ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 6:50 pm


[size=26]
[/size]



[size=26]ประเภทของเครื่องดนตรีสากล[/size]








การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีสากล(music Instruments) 


           เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


              เครื่องสาย (String Instruments)
              เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)
              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
              เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)
              เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)


          เครื่องสาย (string instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด


เครื่องสายประเภทใช้คันสี เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่


          1.ไวโอลิน (Violin) เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นท่วงทำนอง ประกอบด้วยสาย 4 สาย แต่ละสายเทียบเสียงห่างกันคู่ 5 เพอร์เฟค คือ เสียง G-D-A-E




ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Violin




           2.วิโอลา (Viola) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดใหญ่กว่าไวโอลิน ตั้งเสียงต่ำกว่าไวโอลินลงไปอีกคู่ 5 เพอร์เฟค คือ C-G-D-A มีเสียงทุ้มและนุ่มนวลกว่าไวโอลิน




ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Viola2




           3.เชลโล (Cello) มีรูปร่างเหมือนไวโอลินและวิโอลา แต่มีขนาดโตกว่ามาก ขณะเล่นต้องนั่งเก้าอี้ เอาเครื่องไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เสียงต่ำกว่าวิโอลา 1 ช่วงคู่ 8 คือ C-G-D-A




ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cello2




          4.ดับเบิลเบส (Double Bass) เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลไวโอลิน ผู้บรรเลงต้องยืนเล่น เสียงของดับเบิลเบส ต่ำสุดแสดงถึงความมีอำนาจ ความกลัว ความลึกลับ สายทั้งสี่ตั้งเสียงห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟค คือ E-A-D-G




ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Double%20bass






เครื่องสายประเภทเครื่องดีด (Plucked String) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก่


          1.ฮาร์พ (Harp) เป็นพิณโบราณขนาดใหญ่ มีประวัติเก่าแก่มาก มีสายขึงอยู่ทั้งหมด 47 สาย ช่วงเสียงกว้าง 6 Octaves ใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภทออร์เคสตรา



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Harp





          2.กีตาร์ (Guitar) กีตาร์ประกอบด้วยสาย 6 สาย โดยตั้งระดับเสียงต่ำไปหาสูง ในแต่ละสายดังนี้ E,A,D,G,B,E



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Guitar2



          3.ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด มีรูปทรงเหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมากแต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Lute2



          4.แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่ (12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Mandolin



         5.แบนโจ  เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันนิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Banjo



         เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ


      1. ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube)


              1.1 ประเภทเป่าตรงปลาย


                      1. ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องเป่าดนตรีสากลจัดอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้ชนิดไม่มีลิ้น เป็นเครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็ก โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
            


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Recorder2


             1.2 ประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง


                 1. ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง มีความยาว 26 นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่ นุ่มนวล



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Flute2



                2. ปิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้ หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)
2. ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed)



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Piccolo



            2.1 ประเภทลิ้นเดี่ยว (Single reed)


                1. คลาริเนต เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดาเครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภท และเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Clarinet

               2. แซกโซโฟน 


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Saxophone

 เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า “คลาริเนตทองเหลือง” (brass clarinet)


           2.2 ประเภทปี่ลิ้นคู่ (Double reed)


                 1. โอโบ  ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงโอเปร่าฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบ คือ เครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีใน วงออร์เคสตร้า


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Oboe2

                 2. คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) เป็นปี่ตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cor%20Anglais



                3. บาสซูน  เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบ รูปร่างของบาสซูนค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์


ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Bassoon2

              เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ


             เครื่องดนตรี บางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี


           1. คอร์เนต (Cornet) ลักษณะคล้ายกับทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเป็ท คอร์เน็ทนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1829 ในการแสดงโอเปร่า ของ Rossini เรื่อง William Tell ในปัจจุบันคอร์เน็ทเป็นเครื่องดนตรีสำคัญสำหรับวงโยธวาทิตและแตรวง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cornet





            2. ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Trumpet



          3. เฟรนช์ฮอร์น (French Horn) คือ เครื่องเป่าทองเหลือง ท่อลมเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม เฟรนช์ฮอร์น พัฒนามาจากการเป่าเขาสัตว์เพื่อใช้บอกสัญญาณต่างๆ เสียงของเฟรนช์ฮอร์น จึงเหมือนกับเสียงที่เกิดจากกการเป่าเขาสัตว์  คุณภาพของเสียงเฟรนช์ฮอร์น  โปร่งเบาและมีความนุ่มนวลกังวาน เฟรนช์ฮอร์น    ในยุคแรกไม่มีนิ้วกดเล่นเสียงได้จำกัดใช้สำหรับการล่าสัตว์



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 French%20Horn



         4. ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Trombone



          5. ยูโฟเนียม (euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียงต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้าแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Euphonium



         6. ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า “พีเดิล โทน” (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Tuba



          7. ซูซ่าโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องลมทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับทูบา  ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น   ชื่อซูซ่าโฟน  ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ  จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Sousaphone



                  เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) เครื่องดนตรีสากลในกลุ่มนี้มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า“เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือมีลิ่มนิ้วสำหรับกดเพื่อปรับเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดเรียกว่า “คีย์ (Key)” เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากันโดยปกติสีของคีย์เป็นสีขาวกับดำ คีย์สีดำโผล่สูงขึ้นมามากกว่าคีย์สีขาว


             1. เปียโน(piano) เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า “เบาดัง” มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Piano3   




    แกรนด์เปียโน                              
ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Piano2
อัพไลท์เปียโน



             2. ออร์แกน (organ) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Organ



              3. ฮาร์ปซิคอร์ด(Harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน(Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Harpsichord



              4. คลาวิคอร์ด (clavichord) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keybroad instruments) ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ฟุต ยาวประมาณ 4 ฟุต มีแถวของลิ่มนิ้วประมาณ 3 อ็อกเทฟ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือแตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำให้เกิดเสียง แคลฟวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากแคลฟวิคอร์ดมีความไพเราะและนุ่มนวล



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Clavichord



              5. แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Accordion





                 เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการตี การสั่น การเขย่า การเคาะ หรือการขูด การตีอาจจะใช้ไม้ตีหรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุที่เป็นของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือแผ่นหนังขึงตึง แบ่งออกเป็น2ประเภท ได้แก่


               1. เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments)  เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้


                     1.ไซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Xylophone



                   2. ไวบราโฟน (Vibraphone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดโลหะขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายกับมาริมบาหรือไซโลโฟน  ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะเพื่อเป็นตัวขยายเสียง มีแกนใบพัดเล็กๆ ประจำอยู่แต่ละท่อ  ใช้ระบบมอร์เตอร์หมุนใบพัดทำให้เกิดคลื่นเสียงสั่นรัว ดังก้องกังวาลอย่างต่อเนื่อง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Vibraphone



                  3. มาริมบา(Marimba) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ(Percussion Instruments)ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) ลักษณะเหมือนกับระนาดไม้ขนาดใหญ่  ลูกระนาดทำด้วยไม้พิเศษที่มีชื่อว่า “rosewood”  ใต้ลูกระนาดจะมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Marimba



                 4. ระฆังราว(Tubular  Bells) ทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงตามลำดับเสียงจากสูงไปต่ำ  แขวนกับโครงโลหะในแนวดิ่ง  ใช้ไม้ตีที่ปลายท่อด้านหัวจะเกิดเป็นเสียงเหมือนระฆัง



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Tubular%20%20Bells



                  5. กลองทิมปานี(Timpani) เป็นกลองที่มีลักษณะเหมือนกระทะหรือกาต้มน้ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum ตัวกลองทำด้วยโลหะทองแดง ตั้งอยู่บนขาหยั่ง กลองทิมปานีมีระดับเสียงแน่นอนเทียบเท่ากับเสียงเบส มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามต้องการ ในการบรรเลงต้องใช้อย่างน้อย 2 ใบ เสียงของกลองจะแสดงอำนาจ ทำให้ความยิ่งใหญ่  ตื่นเต้นเร้าใจ



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Timpani



2.เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments)


         2. เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด


                   1. กิ๋ง(Triangle) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ ทำด้วยแท่งโลหะ  ดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม  แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.  เพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน ต้องแขวนกิ๋งไว้กับเชือกแล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ  กิ๋งมีเสียงแจ่มใส  มีชีวิตชีวา



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Triangle2



                  2. ฉาบ(Cymbal) คือเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา   แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย  ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป   เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ  ความสนุกสนาน  และความอึกทึกครึกโครม
                  ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cymbal4                ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cymbal3                ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Cymbal2
                  3. แทมโบริน(Tambourine) เป็นเครื่องตีกระทบจังหวะ  ประกอบขึ้นด้วยขอบกลมเหมือนขอบกลองขนาดเล็กประมาณ 10 นิ้ว  ขอบอาจทำด้วยไม้  พลาสติก หรือโลหะ รอบๆ ขอบติดด้วยแผ่นโลหะประกบกัน 2 แผ่น หรือติดด้วยลูกกระพรวนเป็นระยะ  ใช้การตีกระทบกับฝ่ามือหรือสั่นเขย่า ให้เกิดเสียงดังกรุ๋งกริ๋ง เพื่อประกอบจังหวะให้เกิดความสนุกสนาน  สดชื่น แทมโบรินบางชนิดจะขึงด้วยหนังเหมือนกลอง 1 ด้าน ใช้ฝ่ามือตีที่หนังก็ได้  แทมโบรินมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Riqq หรือ Riq
                               ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Tambourine                                               ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Tambourine2
                 4. มาราคา(Maraca) เป็นเครื่องดนตรีจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีกระทบ เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัด ทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า  เมล็ดถั่วต่างๆ หรือลูกปัดลูกเล็กๆ ต่อด้ามไว้สำหรับจับถือ เล่นโดยการเขย่าด้วยมือทั้ง 2 ข้างสอดสลับกันเพื่อให้เกิดเสียงซ่าๆ ปัจจุบันทำด้วยไม้และพลาสติก



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Maraca



                 5. กลองชุด(Drum set) คือกลองที่ประกอบด้วยกลองใหญ่ กลองสะแนร์ ฉาบขนาดต่างๆ  กลองทอม 2 หรือ 3 ลูกที่มีขนาดแตกต่างกัน ไฮแอท (ฉาบ 2 ฝาประกบติดกัน กระทบกันด้วยขาเหยียบ) พร้อมทั้งเพิ่มเครื่องกระทบจังหวะอื่นๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพิเศษ อีกด้วย เช่น เคาเบลล์ เป็นต้น



ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Drum%20set2
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33   ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ  มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33 Icon_minitimeThu Jun 23, 2016 2:49 pm

เนื้อไม่ถูกต้อง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน วงปี่พาทย์ไม้นวม นาย ธนสาร มะศรีหา เลขที่ 33 ชั้น ม.4/5
» ส่งงาน ประเภทของวงดนตรีสากล โดย นางสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีไทย จัดส่งโดย นาย ธนสาร มะศรีหา เลขที่ 33 ชั้น ม.4/5
» ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวมณีวรรณ มะศรีหา เลขที่ 33
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล โดย นายปริญญา มะศรีหา เลขที่ 10

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: