Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์ เลขที่39

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
sumimol kammai

sumimol kammai


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 12/06/2016

ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์ เลขที่39   ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Icon_minitimeMon Jun 20, 2016 7:08 pm

ประวัได้ติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล
              การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมามีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
              การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
            ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
             การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
             การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
อารยธรรมโบราณทางภาคพื้นยุโรปตะวันออก เกิดทีหลังภาคพื้นเอเชียตะวันออกซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปีความเจริญในศิลปวัฒนธรรม
ของยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นเมื่อ1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชความเจริญดังกล่าวสูงสุดอยู่ที่ประเทศกรีกซึ่งยกย่องดนตรีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สามารถใช้ในการ
ชำระล้างบาป และมลทินทางใจได้สามารถรักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้นอกจากนี้ดนตรียังได้รับการยกย่องเป็นศิลปะชั้นสูงควรแก่การศึกษาวัฒนธรรม
ตะวันตกถูกผูกติดอยู่กับชาวกรีกโบราณและชาวโรมันอย่างปฎิเสธไม่ได้ความสมบูรณ์ความยอดเยี่ยมของความสวยงาม และศิลปะมีต้นกำเนิดจากกรีก
รวมทั้งทางปรัชญาของกรีก

ประวัติของดนตรีกรีกโบราณตั้งแต่เริ่มต้นถึง 330 ปี ก่อนคริสต์กาล(330 B.C;) เมื่อ วัฒนธรรมของกรีกแยกเป็น 2 สาย กล่าวคือ สายที่ 1 ทางตะวันออก
(Alexander the Great) และสายที่ 2 ทางตะวันตก (ตามชาวโรมัน) นอกจากนี้ดนตรีกรีกยังแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้
1. Mythical Period จากเริ่มต้นถึง 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล (1,000 B.C.)
ในสมัยนี้ได้สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีก ดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างซึ่งรวม
ถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre) ส่วนพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส
(Dionysus) นั้นถือว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืด เทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี คือ
บรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

2. Homeric Period 1,000 – 700 (B.C)
โฮเมอร์(Homer)เป็นผู้ก่อตั้งสมัยนี้และในสมัยนี้มีบทร้อยกรองที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชนชาติเกิดขึ้นจากการเดินทางผจญภัยของโฮเมอร์ ต่อมาบทร้อยกรอง หรือ
มหากาพย์ของโฮเมอร์ได้กลายเป็นวรรณคดีสำคัญซึ่งชาวกรีกนำมาขับร้องผู้ที่ขับร้องมหากาพย์จะดีดพิณไลร่า(Lyra) คลอการขับร้อง ลักษณะการขับร้องนี้เรียกว่า
บาดส (Bards) ศิลปินเหล่านี้พำนักอยู่ตามคฤหาสน์ของขุนนางถือเป็นนักดนตรีอาชีพขับกล่อมบทมหากาพย์โดยใช้ทำนองโบราณซึ่งเป็นท่อนสั้น ๆแต่มีการแปรทำนอง
หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีดนตรีพื้นเมือง (Folk songs) ซึ่งมีลักษณะเป็นเพลงของพวกเลี้ยงแกะที่เป่า Panpipes (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคล้ายแคน) เพื่อกล่อมฝูงแกะ
และยังมีดนตรีของชาวเมืองในลักษณะของคณะนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงในพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ ฯลฯ หรือในโอกาสต่าง ๆ เช่นในงาน
ฉลองชัยชนะเป็นต้นคณะนักร้องสมัครเล่นเหล่านี้มักจะจ้างพวกบาดส์ให้มาดีดคีธารา (Kithara) คลอประกอบ

3. Archaic Period 700-550 B.C .
ศิลปะส่วนใหญ่มีการเริ่มต้นขั้นพื้นฐานในช่วงสมัยนี้และได้มีการพัฒนาขึ้นในสมัยคลาสสิกเกิดความนิยมรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกว่า “ลีริก” (Lyric)และการแสดงออก
จากการระบายอารมณ์ในใจของกวี (Music expressing sentiments) ไม่ว่าจะเป็นความยินดี หรือ ความทุกข์ระทมอันเกิดจากความรักความชังความชื่นชมต่อความ
งามของฤดูใบไม้ผลิความประทับใจในความงามของค่ำคืนในฤดูร้อนหรือความสำนึกส่วนตัวของกวีที่มีต่อสังคมต่อชาติรวมความแล้ว กวีนิพนธ์แบบลีริก(Lyric)
นี้เอื้อให้กวีได้แสดงความรู้สึกส่วนตนได้อย่างเต็มที่ การร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) เป็นเพลงที่ใช้บวงสรวงและเฉลิมฉลองให้แก่เทพเจ้า
ไดโอนิซุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียง ที่มีต้นกำเนิดโดยนักร้องชาย 12 คน ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดย Arion
ได้เพิ่มจำนวนนักร้องเป็น 50 คน และกำหนดให้มีนักร้องนำ 1 คน

4. Classical Period 550-440 B.C.
โชไรเลส (Choeriles) พีนีซุส (Phrynichus)พาตินุส (Pratinas) และเธสพิส (Thespis) ได้พัฒนาการร้องเพลงประกอบระบำที่เรียกว่าไดธีแรมบ์ (Dithyramb) กล่าวคือได้มี
การร้องเพลง โต้ตอบกับกลุ่มคอรัสทำให้การแสดงกลายรูปเป็นในลักษณะการสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะเป็น การเล่าเรื่องโดยการบรรยายอยู่ฝ่ายเดียว
พวกเขายังช่วยสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของกรีกโบราณคือการละคร(Drama)เป็นรูปแบบการแสดงที่มีการผสมผสานศิลปะการเต้นรำและดนตรีเข้าด้วยกันได้อย่างสมดุลย์
ในสมัยนี้ได้มีการสร้างโรงละครกลางแจ้ง ตั้งอยู่ระหว่างซอกเขาที่มีเนินลาดโอบล้อมอยู่สามด้านเป็นอัฒจันทร์ที่นั่งคนดูซึ่งจุคนได้เป็นจำนวนมากและยังเห็นการแสดง
ได้ชัดเจนไม่มีการ บังกัน อัฒจันทร์คนดูนี้เซาะเป็นขั้นบันไดสูงขึ้นไปตามไหล่เขาที่ลาดชันโดยโอบล้อมบริเวณที่ใช้แสดงเป็นพื้นที่ราบอยู่ต่ำลงไปเป็นรูปวงกลมหรือ
ครึ่งวงกลมซึ่งเรียกบริเวณว่าออร์เคสตรา(Orchestra)ใช้เป็นที่แสดงของพวกคอรัสซึ่งยังคงความนิยมติดมากับการแสดง


5. Hellinistic Period 440-330 B.C.
ลักษณะของการละครสมัยนี้เริ่มไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากว่ามีการพัฒนารูปแบบ ใหม่ ๆ เข้ามาซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการละครในสมัยนี้ศิลปะและบทประพันธ์
ร้อยกรองต่าง ๆ มีการพัฒนาแยกออกจากดนตรีมีนักปราชญ์ทางดนตรีหลายคน การค้นพบกฎพื้นฐานของเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและคณิตศาสตร์ ซึ่งนัก
ปรัชญาและนักคณิตศาสตร์นามกระเดื่องของกรีกคือ ไพธากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้วาง กฎเกณฑ์ไว โดยการทดลองเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเสียงจาก
ความสั้น - ยาวของสายที่ขึงไว้ ไพธากอรัสค้นพบวิธีที่จะสร้างระยะขั้นคู่เสียงต่าง ๆ รวมทั้งระยะขั้นคู่ 8 ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญของบันไดเสียงของดนตรีตะวันตก
นักคิดรุ่นต่อ ๆ มาได้พัฒนาทฤษฎีดนตรีของกรีกจนได้เป็นระบบที่สลับซับซ้อนที่รู้จักกันในนามของโมด (Mode) ซึ่งได้แก่บันไดเสียงทางดนตรีที่ใช้ในการชักจูงให้ผู้ฟัง
มีความรู้สึกต่าง ๆ กันออกไป บันไดเสียงเหล่านี้จึงมีการใช้ในการสร้างสรรค์ดนตรีเฉพาะตามกรณี จากโมดนี้เองชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของอีธอส
(Doctrine of ethos)ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรีโดยกล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความ
ขัดแย้งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้ายโดยทั่วไปโมดสามารถจัดได้เป็นสองจำพวกคือ โมดที่สื่อถึงความเงียบสงบ มีระเบียบใช้กับ
พิธีกรรมของเทพเจ้าอพอลโลและโมดที่สื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครมใช้กับพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส ผลสะท้อนของแนวคิดที่กล่าวถึงนี้ทำให้ดนตรี
ของกรีกมีทั้งการแสดงออกถึงความซับซ้อนของท่วงทำนองจากการบรรเลงของเครื่องดนตรีล้วน ๆ ในการแสดงเพื่อการแข่งขันหรือในงานฉลองต่าง ๆและดนตรีที่แสดง
ออกถึงรูปแบบที่มีมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์กับการบรรยายเรื่องราวตำนานของวีรบุรุษและการศึกษาสำหรับพวกสังคมชั้นสูงที่เต็มไปด้วยปรัชญาอันลึกซึ้ง ในหนังสือ Poetics
นั้น อริสโตเติล (Aristotle) ได้อธิบายว่าดนตรีมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์อย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าดนตรีเลียนแบบอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์ ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ได้ยินดนตรี
ซึ่งเลียนแบบอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็จะเกิดมีความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยทฤษฎีดนตรีกรีกของ Aristoxenus กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีดนตรีในปัจจุบันโดย
ได้เสนอผลงานระบบเสียงที่เรียกว่า เตตราคอร์ด (Tetrachord) 3 ชนิด คือ Diatonic, Chromatic, และ Enharmonic โดยเสียงที่อยู่ภายในคู่ 4 เพอร์เฟคจะถูกเรียกว่า
Shade ดังตัวอย่าง

ถ้าได้ยินดนตรีที่กระตุ้นอารมณ์ที่ทำให้จิตใจต่ำบ่อยๆเข้าก็ทำให้เขาพลอยมีจิตใจต่ำไปด้วยตรงกันข้ามถ้ามีโอกาสได้ฟังดนตรีที่ช่วยยกระดับจิตใจก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนที่
มีจิตใจสูงดังนั้น เปลโตและอริสโตเติล มีความคิดเห็นตรงกันในข้อที่ว่าหลักสูตรการศึกษาควรประกอบด้วยวิชากีฬาและดนตรีที่ถูกต้องเพื่อเป็นการฝึกทั้งร่างกายและ
จิตใจ เปลโตสอนว่า “การเรียนดนตรีอย่างเดียวทำให้อ่อนแอและเป็นคนมีปัญหา การเรียนกีฬาอย่างเดียวทำให้เป็นคนที่อารมณ์ก้าวร้าวและไม่ฉลาด”ยิ่งกว่านั้น
เปล โตยังได้กำหนดไว้ว่า “ดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาไม่ควรมีลีลาที่ทำให้อารมณ์อ่อนไหวควรใช้ทำนองที่มีลีลาดอเรียน(Dorian)และฟรีเจียน (Phrygian)”

บันไดเสียงทั้งสองข้างต้นทำให้เกิดอารมณ์กล้าหาญและสุภาพเรียบร้อย เปลโตเชื่อว่าดนตรีมีอำนาจในการที่จะเปลี่ยนนิสัยของมนุษย์จนกระทั่งในบางกรณีสามารถ
รักษาโรคให้หายได้นี่คือทฤษฎีอีธอส (Ethos) ของดนตรี เปลโตยังเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้ใครเป็นผู้เขียนกฎหมายก็แล้วแต่ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้แต่งเพลงประจำชาติ
ก็แล้วกัน” นี่หมายถึงว่า กฎหมายเพียงแต่กำหนดขอบเขตความประพฤติของคนจากภายนอกแต่อีธอสของดนตรสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ และคุมนิสัยจากภายในได้
จากการศึกษาหลักฐานต่าง ๆ สรุปได้ว่าดนตรีกรีกน่าจะเป็นดนตรีเน้นเสียงแนวเดียว (Monophonic music) กล่าวคือเน้นเฉพาะแนวทำนองโดยไม่มีแนวประสานเสียง
ทำให้โครงสร้างของทำนองมีความสลับซับซ้อน ระยะขั้นคู่เสียงที่ใช้จะห่างกันน้อยกว่าครึ่งเสียงได้ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าไมโครโทน (Microtones)
ดนตรีกรีกมีหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ดนตรีที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการร้องไปจนถึงการร้องบทกวีแต่รูปแบบที่นับว่าสำคัญ ได้แก่ การร้องหมู่ซึ่งพบได้ใน
ละครของกรีก ในระยะแรกการร้องหมู่ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้าและวีรบุรุษซึ่งมักมีการเต้นรำประกอบเพลงร้องด้วย


เครื่องดนตรีสมัยกรีก

 
ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Chap4-3

ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Chap4-3
2. สมัยโรมัน (Roman)
หลังจากกรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ใน 146 ปี ก่อนคริสตศักราช อาณาจักรโรมันรับเอาวัฒนธรรมการดนตรีของกรีกไปทั้งหมด โดยมิได้มีการพัฒนา
รูปแบบของดนตรีไปสักเท่าไรนักยังคงใช้รูปแบบการร้องเสียงเดียว (Monophony) ซึ่งเรียกว่า เพลนซอง (Plain Song) หรือแชนท์ (Chant)โดยมากแล้วแต่ละแห่ง
จะคำนึงถึงผลของการปฏิบัติมากกว่าที่จะยึดติดกับรูปแบบที่รับมาตายตัว

นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบเฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus 205-270 A.D.) และศิษย์
ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry 233-304 A.D.)ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม(Neo-Platonic) โพลตินุสได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจ
และจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลาย
หากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร

ในสมัยหลัง ๆ การดนตรีได้เสื่อมลงมากเพราะถูกนำไปบรรเลงประกอบในโอกาสและสถานที่ซึ่งไม่เหมาะสมและการจัดการบรรเลงดนตรีแบบโอ่อ่าก็ไม่เป็นที่ สบอารมณ์
หมู่นักปราชญ์ทางดนตรีประเภทอนุรักษ์นิยมเท่าใดนักเช่นการจัดแสดงดนตรีวงมหึมา(Monter concert) ในสมัยของคารินุส (Carinus 284 A.D.) ได้มีการบรรเลงดนตรี
ที่ประกอบด้วยทรัมเปต 100 ชิ้นแตร (Horn)100 ชิ้น และเครื่องดนตรีอื่น ๆ อีก 200 ชิ้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตของนักดนตรีในสมัยนั้นก็พูด ได้ว่าคึกคักมากสมาคมสำหรับ
นักดนตรีอาชีพได้รับการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีบทบาทในการเรียกร้องสิทธิ์ให้แก่สมาชิกในรุ่นหลัง ๆ

เมื่อออกุสตุสได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ตั้งสมาคมสำหรับดนตรีที่บรรเลงเพลงประกอบพิธีศาสนาและสำหรับงานของราชการด้วยนักแต่งเพลงผู้มีฝีมือก็ได้รับการอุปถัมภ์
จากจักรพรรดิ เช่น การที่จักรพรรดิ์เนโรประทานวังให้แก่เมเนคราเตส (Menecrates) คีตกวีผู้มีชื่อคนหนึ่งของสมัยนั้น

โดยสรุปแล้วโรมันเอาความรู้จากกรีกไปเผยแพร่และปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นเพื่อใช้ปลุกใจประชาชนให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งจะเป็นผลดีผลดีต่อการปกครองอาณาจักรที่กว้างใหญ่

จากการค้นพบมรดกทางดนตรีจากแถบตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนเมื่อครั้งโบราณโดยเฉพาะจากกรีกโบราณผ่านโรมันเข้าสู่ยุโรปเปิดเผยให้เห็นถึงความรู้ดนตรี
ที่มีค่ายิ่งเพราะทฤษฎีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แห่งเสียง (Acoustic) ที่กรีกปูทางไว้ให้หลายเรื่องเช่น การกำหนดคุณสมบัติ และจัดระเบียบของเสียงระบบเสียงที่ก่อให้เกิด
บันไดเสียงต่าง ๆ หลักในการจัดหมวดหมู่ของลีลา หรือจังหวะ หลักเบื้องต้นในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีรวมทั้งทำนองเพลงเก่า ๆ
ที่สะสมไว้ล้วนมีผลดีต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตกต่อไป

ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Chap4-3ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Image60


บันไดเสียงโบราณ (CHURCH MODE)Grout Palisca และ ละเอียด เหราบัตย์ ได้กล่าวถึงบันไดเสียงโบราณ ไว้ว่า… เพลงสวดแต่งขึ้นในระบบของบันไดเสียงโบราณที่เรียกตามหลักวิชาการดนตรีสากลว่า
“เชอร์ช โมด” (Church Mode) บันไดเสียงโบราณนี้มีสองประเภท คือ (ศิลปชัย กงตาล,2542:50)
1. ออเธนติค เชอร์ช โมด (Authentic Church Mode) บันไดเสียงประเภทออเธนติคจะเริ่มต้นจากโน้ตขั้นแรกของบันไดเสียงมีชื่อเรียกโน้ตตัวเริ่มต้นนี้ว่า
“ฟินาลิส” (Finalis) ฟินาลิสทำหน้าที่เหมือนคีย์โน้ต (Key Note) ในปัจจุบันคือเป็นศูนย์รวมของเสียงตามขั้นต่าง ๆ ของบันไดเสียงออเธนติคเชอร์ชโมด
ประกอบด้วย 4 บันไดเสียง คือ
1.1 โปรตุส ออเธนติคุส (Protus Authenticus) หรือ (Dorian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มต้น
จากโน้ต D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด - เร

1.2 ดิวเตรุส ออเธนติคุส (Deuterus Authenticus) หรือ ฟรีเจียน (Phrygian) เป็นบันไดเสียง
ที่เริ่มจากโน้ต E-F-G-A-B-C-D-E หรือ มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร - มี

1.3 ตรีตุส ออเธนติคุส (Tritus Authenticus)หรือ ลีเดียน (Lydian) เป็นบันไดเสียง
ที่เริ่มจากโน้ต F – G – A – B – C – D – E – F หรือ ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา

1.4 เตตราร์ดุส ออเธนติคุส (Tetardus Authenticus) หรือ มิกโซลีเดียน (Mixolydian)
เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจากโน้ต G – A – B – C – D – E – F – G หรือ ซอล – ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล


2. เพลกัล เชอร์ช โมด (Plagal Church Mode) คือ บันไดเสียงโบราณที่เริ่มจากโน้ตที่อยู่ต่ำลงมาจากโน้ตฟินาลิสของโมดออเธนติดในระยะขั้น
คู่เสียงคู่ 4 บันไดเสียงโบราณในประเภทเพลกัลนี้มีอยู่เป็นคู่กับบันไดเสียงออเธนติค โดยมีโน้ตฟินาลิส (Finalis) ตัวเดียวกับออเธนติคเชอร์ชโมด
มีอยู่ 4 บันไดเสียง คือ

2.1 โปรตุช ปลากาลิส (Protus Plagalis) หรือ ไฮโปโดเรียน โมด (Hypo – Dorian Mode) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก
A – B – C – D – E – F – G – A หรือ ลา – ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา โดยมีโน้ต D เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

2.2 ดิวเตรุส ปลากาลิส (Deuterus Plagalis) หรือ ไฮโปฟรีเจียน (Hypo - Phrygian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก
B – C – D – E - F – G – A – B หรือ ที – โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที โดยมีโน้ตชื่อ E เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

2.3 ตรีตุสปลากาลิส (Tritus Plagalis)หรือ ไฮโปลีเดียน (Hypo – Lydian)เป็น บันไดเสียงที่เริ่มจาก C – D – E – F – G – A – B – C
หรือ โด – เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)

2.4 เตตราร์ดุส ปลากาลิส (Tetrardus Plagalis) หรือ ไฮโปมิกโซลีเดียน (Hypo - Mixolydian) เป็นบันไดเสียงที่เริ่มจาก
D-E-F-G-A-B-C-D หรือ เร – มี – ฟา – ซอล – ลา – ที – โด – เร โดยมีโน้ตชื่อ G เป็นตัวฟินาลิส (Finalis)



บทเพลงแชนท์ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษนี้ มีการนำเครื่องหมายจุด (.)และขีด (-) มาใช้เพื่อแสดงถึงความสูง – ต่ำ ของระดับเสียง จุดและขีดเหล่านี้เขียน
อยู่เหนือตัวอักษรมีชื่อเรียกตามวิชาการว่า “เอ็คโฟเนทิค โนเทชั่น” (Ecphonetic Notation) การขับร้องเพลงแชนท์นี้ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นการขับร้อง
แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
Wink Wink Wink Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops cyclops
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์ เลขที่39   ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์  เลขที่39 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 3:38 pm

เพิ่มรูปภาพประกอบเนื้อหา......เพิ่มเนื้อหา
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทยสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์ เลขที่39
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน เรื่อง ประเภทวงตรีสากล นางสาวสุวิมล กำไมล์ เลขที่39 ชั้นม4/2
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงโหรี นางสาวสุวิมล กำไมล์ ม.4/2 เลขที่ 39
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย นางสาวสุวิมล กำไมล์ ม.4/2 เลขที่ 39
» ส่งงาน เรื่อง ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีสากล โดย นาย หิรัญ เข็มราช เลขที่39
» ส่งงาน เรื่องประเภทของดนตรีสากล โดยนางสาวสุธิดาพร พูลงาม ชั้น ม4/5 เลขที่39

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/2 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: