Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
วงศกร สุกุ

วงศกร สุกุ


จำนวนข้อความ : 2
Join date : 20/06/2016

ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10   ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10 Icon_minitimeMon Jun 20, 2016 6:37 pm

>ต้นกำเนิดเพลงไทยเดิม<

[size=18][size=18] [size=18][size=18]     เพลงไทย หรือ เพลงประจำชาติไทย ( Thai Traditional Music ) หมาย ถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทย โดยเฉพาะและแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆและมีจังหวะค่อนข้างเร็วส่วนใหญ่มีต้น กำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้น เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ต่อมา เมื่อต้องการจะใช้เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ก็จำเป็นต้อง ประดิษฐ์ ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้องได้ไพเราะ  จึงได้คิด แต่งทำนอง ขยายส่วนขึ้นจากของเดิมเป็นทวีคูณ เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสองชั้น เพราะต้องแต่งขยาย จากเพลงเดิม อีกชั้นหนึ่ง และเรียกเพลงในอัตราเดิมนั้นว่า เพลงชั้นเดียว เพลงไทยในสมัยอยุธยาเป็นเพลง สองชั้นและชั้นเดียว เกือบทั้งสิ้น เพราะต้องใช้ร้องสำหรับขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ซึ่งเป็นที่ี่ นิยมกันมากในสมัยนั้น
       สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่นิยมเล่นสักวากันมาก  ผู้เล่นสักวาจะต้องแต่งกลอนเป็นกลอนสดด้วยปฏิภาณ
ใน ปัจจุบัน ถ้าจะร้องอย่างเพลงสองชั้นเหมือนกับการร้องประกอบการแสดงละครจะทำให้ผู้แต่ง มี เวลาคิดกลอน น้อยลง อาจแต่งไม่ทันหรืออาจไม่ไพเราะเท่าที่ควร จึงคิดแต่งทำนองเพลง ร้องขยายจาก ทำนองเพลงสองชั้น ขึ้น ไปอีกเท่าตัว สำหรับใช้ในการร้องสักวา เรียกเพลงในอัตรานี้ว่าเพลงสามชั้น   ดังนั้น เพลงในอัตราสามชั้น จะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงสองชั้น และเพลงสองชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงชั้นเดียว การบรรเลง จะเลือกบรรเลงเพลงอัตราหนึ่งอัตราใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าบรรเลงติดต่อกันทั้ง ๓ อัตรา เรียกว่า เพลงเถา

    ประเภทของเพลงไทย  อาจแบ่งออกได้เป็นพวกๆ คือ
 

[size=18][size=18]
๑. เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วนๆ ไม่ มีการขับร้อง  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมพิธีต่างๆ เพลงโหมโรง และเพลงหน้าพาทย์ จะเป็นเพลงสำหรับใช้ประกอบกิริยาอาการและแสดงอารมณ์ต่างๆ ของการรำ

๒. เพลงสำหรับขับร้อง  คือ เพลงซึ่งร้องแล้วรับด้วยการบรรเลง เรียกว่า ร้องส่งดนตรี เช่น เพลงประกอบ การขับเสภา(ร้องส่งเสภา) เพลงที่ร้องส่งเพื่อฟังไพเราะทั่วไปส่วนมากจะเป็นเพลงเถาและเพลงตับ
เพลงนี้รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นจากเพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้น


[/size]
[/size]
[/size]
[/size]
[/size]
[/size]

แต่ทำนองของเพลงคลื่นกระทบฝั่งที่เราเรียกกันอยู่ทั่วไป ในบัดนี้
หาได้มีทำนองเหมือนเพลงคลื่นกระทบฝั่งในเรื่องเพลงฉิ่งของโบราณนั้นไม่
แต่กลับไปมีทำนองเหมือนกับเพลงที่ชื่อฝั่งน้ำในเรื่องนั้น
เท่าที่ได้สืบถามจากท่านผู้รู้ ก็ว่าเพลงที่เราเรียกกันว่าคลื่นกระทบฝั่งนี้ โบราณเรียกกันว่าฝั่งน้ำ
แต่ท่านผู้นำออกมาใช้ร้องและบรรเลงในครั้งแรกท่านได้เรียกว่าเพลงคลื่นกระทบฝั่ง
จึงพากันเรียกตามไป  และก็ฝังตัวจนสนิทเสียแล้ว ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนกลับคืนไปได้
ก็จำต้องยอมรับกันว่าเพลงทำนองนี้ ชื่อเพลงคลื่นกระทบฝั่ง


[center]ริมทะเลคลื่นซัดน่าฟัง
คลื่นกระจายประดังกระทบฝั่งพรรณราย
ชลสินธุ์มันดิ้นพราวพราย พอกลืนพื้นหาดทราย
คลื่นละลายหายไป ด้วยพื้นของทรายดูดไปพลัน
น้ำเสียงฟังไกลใกล้
ก้องทั่วไปฤทัยไหวหวั่น
เสียงคลื่นดุดัน แรกก็ดังเสียงฟังดังลั่น
ซ่าแล้วกลืนสิ้นกัน
แต่แล้วก็พลันพร่ากระจาย

คำผู้ชายง่ายนักจักฟัง
ดุจดังคลื่นประดังกระทบฝั่งละลาย
นานไปก็สิ้นความหมาย ดังคลื่นฝังฝั่งทราย
พูดแล้วเลือนเคลื่อนคลาย สิ้นรักเมื่อปลาย สุดที่จะฟัง
น้ำเสียงชายคลายเคลื่อน
แรกสะเทือนเหมือนคลื่นไหลหลั่ง
ครั้นได้ดังหวัง ก็กลับกลายคล้ายคลื่นกระทบฝั่ง
สุดวจีที่ฟัง สิ้นรักประทังไม่ยั่งยืน





เพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้นที่ว่านี้ เข้าใจว่าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2
เพราะเมื่อพูดถึงและพิเคราะห์ดูทำนองเพลง และวิจัยลงไปให้ละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่า
ทำนองของเพลงคลื่นกระทบฝั่งที่ว่าเป็นอัตรา 2 ชั้นนี้ก็คือ
เพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ชั้นเดียวนั่นเอง
หากแต่ได้เพิ่มทำนองทบทวนบางแห่ง กับเพิ่มโยนตอนท้ายขึ้นอีกเท่านั้น
ซึ่งนับว่าท่านผู้สร้างเพลงนี้ได้ประดิษฐ์แปลงมา โดยสติปัญญาอันฉลาดอย่างยิ่ง
เพลงบุหลันลอยเลื่อนนั้น เป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรีไทยแล้วว่า

รัชกาลที่ 2 ทรงจำทำนองมาได้ในขณะที่บรรทมหลับและทรงพระสุบิน
ให้เรียกชื่อกันอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงทรงสุบิน
เมื่อเพลงบุหลันลอยเลื่อนหรือเพลงทรงพระสุบิน อันเป็นสมมุติฐานเกิดขึ้นด้วยนัยนี้

ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10 255q1ja

เพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงที่แปลงมาอีกต่อหนึ่ง ก็ควรจะเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นเอง
อันประเพณีไทยเราถือกันเคร่งครัดมาช้านานแล้วว่า
บรรดาสิ่งที่เป็นพระราชนิพนธ์ย่อมเป็นที่เคารพ
ผู้ที่มิได้พระบรมราชานุญาตย่อมไม่อาจที่จะนำมาต่อเติมแก้ไขหรือนำไปใช้ในที่ไม่สมควร
เพราะฉนั้นท่านผู้ที่แต่งเพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้น
ซึ่งเพียงแต่อาศัยโครงทำนองเพลงทรงพระสุบินหรือบุหลันลอยเลื่อนมาตัดลงเป็นคนละอัตรา
ซึ่งนับได้ว่าเป็นคนละเพลง ก็ยังดัดแปลงไปเสียจนแทบจะมองไม่เห็น
ซ้ำยังตั้งชื่อขึ้นใหม่ (ฝั่งน้ำ หรือ คลื่นกระทบฝั่ง) เสียจนห่างไกลมาก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ ทำนองเพลงไทยเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว 2 เพลง
คือเพลงราตรีประดับดาว กับเพลงเขมรละออองค์ ขณะที่เสด็จประพาสสัตหีบทางชลมารค
ก็มีพระราชดำริที่จะทรงพระนิพนธ์ทำนองเพลงไทยขึ้นสักเพลงหนึ่ง
ให้มีทำนองเป็นระรอกคลื่นต่าง ๆ จึงได้ทรงเลือกทำนองเพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้น
ที่กล่าวนี้มาทรงพระนิพนธ์ขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2474
ลำนำของเพลงเป็นเสียงเสมือนคลื่นกระทบฝั่งสมดังชื่อเพลงจริง ๆ ในท่อนต้น
มีลูกล้อและลูกขัดเป็นเสียงคลื่นกระฉอกในเมื่อกระทบกับแง่หินที่ยื่นย้อยออกมาตามชายฝั่ง
โดยลักษณะต่าง ๆ กัน ในตอนท้ายเที่ยว 2
เที่ยวแรกแสดงถึงคลื่นใต้น้ำ อันหนุนเนื่องซ้อน ๆ กันมาผสมกับคลื่นเหนือน้ำ
ส่วนตอนท้ายใกล้จะจบเพลงฟังเหมือนคลื่นลูกเล็ก ๆ ที่วิ่งพลิ้วไล่กันมาตามกระแสลมอย่างรวดเร็ว







[/center]
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10   ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 3:16 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดย เด็กชาย วงศกร สุกุ เลขที่10
» ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย เด็กชาย จีระชาติ ชอรัมย์ เลขที่ 1
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดย นา'สาวกมลลักษณ์ สายโน เลขที่10
» ส่งงาน เรื่องประเภทของดนตรีสากล โดย นางสาวกมลลักษณ์ สายโน เลขที่10
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดย นาย กิตติพงษื วงละกุล ชั้น ม.4/3 เลขที่10

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิขา ศ23102 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.3/3 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: