Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
สุนิสา เเสงมาศ

สุนิสา เเสงมาศ


จำนวนข้อความ : 1
Join date : 20/06/2016

ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30   ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30 Icon_minitimeMon Jun 20, 2016 4:29 pm

 ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้มีบทบาทส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30 20550_552000007001201 อย่างสำคัญ ในการจัดทำ ดนตรีสังคีตสัมพันธ์ ให้กับ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ในครั้งนั้น พูดถึง ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ครูดนตรีไทยผู้มีความสามารถและประสบการณ์ ที่อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จ ด้านการดนตรีของชาติ ในครั้งนั้น เอาไว้ ใน หนังสือ เชิดชูเกียรติ ๑๐๐ ปี ครุพุ่ม บาปุยะวาทย์ ว่า

       

        “...ความสำคัญของ ครูพุ่ม มีความหมายกับวงการเพลงของ กรมประชาสัมพันธ์ อยู่มาก

       

        ท่านอธิบดี หม่อมหลวงขาบฯ ได้ ครูพุ่ม มาเพื่อบูรณะกิจการเพลงไทย จนสามารถจัดเพลงให้เข้ากับวงดนตรีสากลได้ เรียกว่า สังคีตสัมพันธ์ โดยนำดนตรีประเภทดนตรีไทย กับดนตรีสากลมาบรรเลงพร้อมๆกันไป

       

        ความไพเราะจากการบรรเลงเพลงในลักษณะ สังคีตสัมพันธ์ เป็นแนวใหม่อีกแนวหนึ่ง ที่ไม่ทิ้งลีลาของ เพลงไทยเดิม แต่นำเข้ารวมกันกับเครื่องดนตรีสากล แล้วบรรเลงพร้อมกันได้...

       

        ...การที่ ครูพุ่ม มาประจำอยู่ที่ กรมประชาสัมพันธ์ ผมจึงนับว่าโชคดี ที่ได้รับความรู้ในเรื่องเพลงและดนตรีเพิ่มมากขึ้น สงสัยเรื่องใด ถาม ครูพุ่ม ก็ได้รับความรู้ที่ต้องจดจำเอาไปใช้ในการบรรเลงเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมสนใจในเรื่องทำนองของเพลงเป็นพิเศษอยู่แล้ว จึงได้อาศัย ครูพุ่ม ในเรื่องกลเม็ดต่างๆ ของเพลงอย่างมากมาย...

        

        ...ครูพุ่ม เปรียบเสมือน คลังวิชาดนตรี ที่มีของดีสะสมไว้มาก และไม่เคยหวงแหนวิชานี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดมาขอปรึกษา สงสัยเรื่องใด ครูพุ่ม จะอธิบาย พร้อมให้เหตุผลประกอบ...”

        ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล เขียนเอาไว้ ใน หนังสือ เชิดชูเกียรติ ๑๐๐ ปี ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ตอนหนึ่ง ว่า

       

        “...วงหัสดนตรี กรมประชาสัมพันธ์ นั้น มี ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูเวส สุนทรจามร ครูแก้ว อัจฉริยะกุล สามคนนี้ มีพื้นเพเพลงไทยเดิมอยู่ในตัวมาแล้ว แถมนักดนตรีที่ย้ายมาจาก กรมศิลปากร สามารถเขียนโน้ตเพลงได้ทันทีทันใจอีกจำนวนมาก...”

       

        ครูสมาน (ใหญ่) นภายน เขียนเล่าเอาไว้ ใน หนังสือ เชิดชูเกียรติ ๑๐๐ ปี ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ว่า

       

        “...อันว่านักดนตรีภายในวงดนตรีสากล นั้น มี เพลงไทย อยู่ในหัวใจแทบทุกคน ทั้งนี้แต่ละท่าน เคยผ่านการจดบันทึก ทำนองเพลงไทย เป็น โน้ตสากล มาแล้วทั้งนั้น บางท่านเคยรับราชการทหารแตรวงมาก่อน บางท่านเคยเป็นคนระนาดเอก เพราะว่าที่บ้านมีเครื่องปี่พาทย์ อย่างเช่น

       

        ๑.คุณครูเอื้อ สุนทรสนาน เคยจดบันทึกทำนองเพลงไทย จากแนวระนาดเอก เป็นโน้ตสากล

       

        ๒.คุณครูสริ ยงยุทธ เคยจดบันทึกทำนองเพลงไทย จากแนว ระนาดทุ้ม เป็น โน้ตสากล

       

        ๓.คุณครูสมพงษ์ ทิพยกะลิน เคยจดบันทึกทำนองเพลงไทย จากแนวปี่ เป็นโน้ตสากล

       

        ๔.คุณครูทองอยู่ ปิยะสากล เคยจดบันทึก ทำนองเพลงไทย จากแนวฆ้อง เป็นโน้ตสากล

       

        ๕.คุณครูเวส สุนทรจามร อดีตทหารกองดุริยางค์กองทัพบก ที่ชีวิตคลุกคลีกับการบรรเลงเพลงไทยประเภทแตรวงมาอย่างโชกโขน

       

        ๖.คุณครูธนิต (บุญเรือง) ผลประเสริฐ เคยเป็นคนระนาดเอก ประจำวงปี่พาทย์ที่บ้าน ลูกศิษย์ คุณครูเวส สุนทรจามร คุณครูเฉลิม บัวทั่ง ก่อนที่จะมาเป็นนักดนตรีสากล

       

        ๗. คุณอธึก นิลจันทร์ อดีตเคยเป็นนักเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร อยู่วงปี่พาทย์เป็นคนฆ้อง และเมื่อตอนเป็นเด็ก เคยเป็นคนเครื่องหนัง เพราะคุณตาเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ประจำคณะลิเก...”

       

        ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล เขียนเล่าไว้ ใน หนังสือ เชิดชูเกียรติ ๑๐๐ ปี ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ อีกว่า “...เพลงแรกที่ทดลองทำเป็น เพลงผสม ก็มาจากหัวคิด ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ คือ เพลงทำนองกระแตเล็ก ออกมาเป็น เพลงผสม ชื่อ กระแต คนก็ฮือฮาชอบใจกันไปทั้งเมือง ประสบความสำเร็จไปแล้ว ตั้งแต่วงผสมคลอดออกมานั้น...”

        ...

       เพลงกระแต

       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน

       ช. น้องรักพี่เอย เจ้าอย่าเลยแรมรา เจ้านัดมาพี่ก็มาภิรมย์ เสียงเจ้าพลอดออดคำ ฉ่ำใจเชยชม รื่นรมย์อุรา

       

       ญ. สวนรักนี้เพลินใจ นั่งโคนไม้พักใจดีกว่า น้องจะหนุนตักพี่ ผ่อนฤดีเคยมา รักจะเพลินอุรา ใต้พฤกษาเย็นใจ

       อุ๊ย อะไร 

       

       ช.ไหนอะไร

       ญ.เห็นไวไว 

       

       ช.เอ๊ะ อะไร

       ญ.กระโดดได้ ปราดเปรียว 

       

       ช.กระแต แน่เทียว เห็นประเดี๋ยวเดียว กระโดดหายไป

       

       ญ.พี่อย่าปราดเปรียว ดังเช่นกระแต รักแล้วผันแปร แล่นโลดหนีไกล

       

       ช. เพราะมิใช่กระแต พี่ไม่แปรดวงใจ รักเจ้ายิ่งกว่าใคร ทราบเอาไว้ดวงตา

       

       ญ. พี่อย่าเป็น เช่นกระแต

       ช. จ้ะ พี่ไม่เป็นเช่น กระแต

       

       ญ. รักแท้ แน่ไฉน

       ช. รักแท้ แน่ใจ

       

       ญ. รักอย่าลุกโลด โดดไป 

       

       ช. รักไม่ลุกโลด โดดไป พี่สิไม่ไป สำคัญทรามวัย จากพี่ไป แล้วไม่คืนมา

       

       พ. รักสัญญา ต่อกัน จะผูกพันวิญญา รักดังคำพูดจาว่าไม่เหมือน กระแต 

       

        เป็นเพลงแรก ที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งร่วมกันกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ในแนวของ เพลงสังคีตสัมพันธ์ ของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยนำเอาทำนองเพลงไทยเดิม ชื่อ เพลงกระแตเล็ก ๒ ชั้น มาดัดแปลงให้เกิดความไพเราะ โดยมี ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ เป็นผู้บอกทำนอง ขับร้อง โดย วินัย จุลละบุษปะ และ ชวลีย์ ช่วงวิทย์ และต่อมา บรรจงจิตต์ พัฒนาสันต์ และ รัชตพันธ์ พงศบุตร นำมาร้องบันทึกเสียงใหม่อีกหน

       

        สำหรับ วรรคทอง ของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ใน เพลงกระแต ก็คือ เอ๊ะ อะไร เห็นไวไว กระโดดได้ ปราดเปรียว, กระแต แน่เทียว เห็น ประเดี๋ยวเดียว กระโดด หายไป ซึ่งอธิบายถึง บรรยากาศของเพลงได้อย่างชัดเจน และสอดประสานกับท่วงทำนองอย่างไพเราะลงตัว

       

        ส่วน ในเว็บ บ้านคนรักสุนทราภรณ์ บอกเอาไว้ว่า “... เพลงไทย ชุดกระแต มีทั้งหมด ๓ เพลง ได้แก่ กระแตไต่ไม้ กระแตเล็ก (กระแตตัวเมีย) และ กระแตใหญ่ (กระแตตัวผู้)

       

        เพลงกระแตไต่ไม้ เป็นเพลงตับ มีอัตรา ๒ ชั้น ทำนองเก่าสมัยอยุธยา

       

        โบราณจารย์ ได้นำทำนองเพลงพื้นบ้านล้านนาทำนองหนึ่ง มาแต่งให้เป็นทางสำหรับบรรเลงดนตรีในวงมโหรีหลวง และนำมาเรียบเรียง ให้เป็น เพลงตับ เรียกว่า ตับกระแตไต่ไม้ มีอยู่ด้วยกัน ๓ เพลง คือ เพลงกระแตไต่ไม้ เพลงขับนก และ เพลงขับไม้บัณเฑาะว์...”

       

        ใน หนังสือ สารานุกรม ศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทเพลงร้องตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์และเพลงโหมโรง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน บอกเอาไว้ว่า

       

        “...เพลงโหมโรง กระแตไต่ไม้ เป็นเพลงที่ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๕๖ โดยนำ เพลงกระแตไต่ไม้ อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น

       

        โหมโรง เพลงกระแตไต่ไม้ นี้ ใช้บรรเลงกับวงดนตรีไทยได้ทุกประเภท

       

        ต่อมา ครูมนตรี ตราโมท ได้นำ เพลงขับนก อัตรา ๒ ชั้น ซึ่งเป็นเพลงประเภทหน้าทับสองไม้ มาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น เพื่อบรรเลงต่อท้าย อารมณ์เพลงมีความสนุกสนาน คล่องแคล่ว เหมือนกิริยาของกระแต...”

       

        ใน หนังสือ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มหาดุริยกวีลุ่มเจาพระยาแห่งอุษาคเนย์ ระบุผลงานของ หลวงประดิษฐไพเราะ เอาไว้ว่า

       

        เพลงกระแตไต่ไม้ ประเภท ชั้นเดียว และ เพลงกระแตไต่ไม้ ประเภทโหมโรง ๓ ชั้น เป็นเพลงบรรเลงทั้งคู่ 
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30   ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 3:16 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง สุนิสา เเสงมาศ เลขที่30
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดย นางสาวณีรนุช ดวงบุปผา ชั้นม.4/5 เลขที่30
» ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง วิภาวี พรมศิริ เลขที่ 26
» ส่งงาน วงดนตรีไทย โดย นางสาวณีรนุช ดวงบุปผา ชั้น ม.4/5 เลขที่30
» ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง ปนัทดา คูณมา เลขที่22
» ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดย เด็กหญิง จิรนันท์ สีตองอ่อน เลขทิ่ 17

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิขา ศ23102 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.3/3 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: