Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Sawitta Boonsri

Sawitta Boonsri


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 09/06/2016

ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7   ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Icon_minitimeMon Jun 20, 2016 3:12 pm

ดนตรีไทย


วงมโหรีโบราณเครื่องหก
ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย, จีน, อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Images?q=tbn:ANd9GcTbbfjiA51BrJI4_hEiBOX53NXJDqsgHhNz3zrcuIwHA7UXoCqEpQ

ประวัติ

ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Images?q=tbn:ANd9GcTbbfjiA51BrJI4_hEiBOX53NXJDqsgHhNz3zrcuIwHA7UXoCqEpQ

เครื่องดีด

จะเข้
กระจับปี่
พิณ ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า พิณอีสาน
ซึง
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Z

เครื่องสี

ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้
สะล้อ
ซอแฝด
รือบับ
ซอกันตรึม
รัก
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 9k=

เครื่องตี

กรับ ได้แก่ กรับพวง และ กรับเสภา
ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก,ระนาดทุ้ม,ระนาดเอกมโหรี,ระนาดทุ้มมโหรี,ระนาดเอกเหล็ก,ระนาดทุ้มเหล็ก,ระนาดแก้ว
ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี,ฆ้องมอญ,ฆ้องวงใหญ่ ,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องโหม่ง,ฆ้องกระแต,ฆ้องระเบ็ง
ขิม
ฉาบ
ฉิ่ง
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Z
กลอง ได้แก่ กลองแขก,กลองมลายู,ตะโพน,ตะโพนมอญ,กลองทัด,กลองตุ๊ก,กลองยาว,มโหระทึก,บัณเฑาะว์,โทน,รำมะนา,โทนชาตรี,กลองสองหน้า,เปิงมางคอก,กลองมังคละ

เครื่องเป่า

ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ,ขลุ่ยเพียงออ,ขลุ่ยอู้
ปี่ ได้แก่ ปี่ใน,ปี่นอก,ปี่ไฉน,ปี่ชวา,ปี่มอญ
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Images?q=tbn:ANd9GcTG5oWZfMgChKBONwls7UQph3oY8cMYF3485hQGCdq_DFdFg-bu

เพลงดนตรีไทย

แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7   ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 3:06 pm

เนื้อหาไม่ถูกต้อง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม4/5 เลขที่7
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานประเภทดนตรีสากล โดยนางสาวสวิตตา บุญศรี ม.4/5 เลขที่7
» ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวสิริวิมล บุญศรี ม.4/5 เลขที่1
» ส่งงานวงดนตรีไทย โดยนางสาวสวิตตา บูญศรี ชั้น ม.4/5 เลขที่7
» ส่งงานประเภทดนตรีสากล โดยนางสาวสิริวิมล บุญศรี ม.4/5 เลขที่1
» ส่งงานเรื่องดนตรีแจ๊สของไทย โดยนางสาวกาญจนาพร อาริกุล เลขที่7

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/5 :: ส่งงาน ครั้งที่ 2-
ไปที่: