Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ เลขที่20

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
arisara mukda

arisara mukda


จำนวนข้อความ : 5
Join date : 11/06/2016

ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ  เลขที่20 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ เลขที่20   ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ  เลขที่20 Icon_minitimeSat Jun 18, 2016 10:25 am

ประวัติดนตรีไทย  
                                                    ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ  เลขที่20 Nz21bo

   จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณาหาเหตุผล เกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้   ไ  2 ทัศนะ
ที่แตกต่างกันคือ

        ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่างอินเดีย
ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎร  ร่าง

        ลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นต่างก็
ยึดแบบฉบับดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้
ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
 •เครื่องดีด
 •เครื่องสี
 •เครื่องตี
 •เครื่องเป่า

           ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ
 •ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
 •สุษิระ คือ เครื่องเป่า
 •อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
 •ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ

         การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็น ผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
         ทัศนะที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว
         ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับลักษณะและนิสัยทางดนตรีของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้
ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด
                                                          ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น
     •เกราะ, โกร่ง, กรับ
     •ฉาบ, ฉิ่ง
     •ปี่, ขลุ่ย
     •ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ  เลขที่20 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ เลขที่20   ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ  เลขที่20 Icon_minitimeMon Jun 20, 2016 9:43 am

ทำไมถึงให้เพื่อนส่งให้..เดี๋ยวไม่ให้คะแนนทั้งคู่
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวอภิญญา มิ่งบุญ เลขที่20
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดย นางสาวศุภาวรรณ ละเม็ด เลขที่ 38
» ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวจันทร์พิมา ศรีโกศล เลขที่ 7
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวณัฐสุดา ใจมั่น ชั้นม.4/5 เลขที่14
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย ชื่อ นาย บอย เศษสุวรรณ์ เลขที่ 41
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวจุฬาลักษณ์ สายแวว ชั้นม.4/5 เลขที่ 13

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/4 :: ส่งงาน ครั้งที่ 2-
ไปที่: