Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
niracha maneesay

niracha maneesay


จำนวนข้อความ : 5
Join date : 10/06/2016

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8   ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Icon_minitimeThu Jun 16, 2016 11:10 pm

ประวัติดนตรีสากล


ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล



ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี



ยุคสมัยดนตรีตะวันตก




ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 2ynqj9f



1. ยุคกลาง (Middle Ages )





ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 6eka46
  เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 - 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริ สต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมัน โบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ


ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 4f9f9

วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไ ป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่า โพลีโฟนี (Polyphony)

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 28ryt61

       ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยุ่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าทีบรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Ka0byq




2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)





สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เริ่มประมาณ ค.ศ. 1400 – 1600 เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสาน

          เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)

                           ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 27wvzmg
                               ภาพที่ 2.1 ภาพการเล่นดนตรียุคเรเนสซองส์


1. สมัยศตวรรษที่ 15 

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 B8pso1

ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส

2. สมัยศตวรรษที่ 16

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 2cpu8vm

มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิก เป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลัก ษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งข องเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อน
มีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอ รมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง




สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้

1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน

เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์

- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น


ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 2d6mrrm
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Bevxo8




3. ยุคบาโรก (The Baroque Period)





ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Jv4psj
ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี
  
อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้ (อนรรฆ จรัณยานนท์,ม.ป.ป. :56)

1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยวตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก เรียกว่า Figured bass
3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และหลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major)และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี (Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้


ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 2ylwsk7



4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period)




 
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 13zcrpe
ริ่มประมาณ ค.ศ. 1750 – 1820 สมัยนี้ดนตรีได้เริ่มออกมาแพร่หลายถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น สถาบันศาสนามิได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ดนตรีในยุคนี้ถือว่าเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) เพลงต่างๆ นิยมแต่งขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ มิใช่เพื่อประกอบพิธีศาสนาหรือพิธีอื่นๆ เป็นระยะเวลาแห่งดนตรีเพื่อดนตรี เพลงส่วนใหญ่เป็นเพลงบรรเลง เพื่อฟังความไพเราะของเสียงดนตรีอย่างแท้จริง เป็นลักษณะดนตรีที่ต้องใช้แสดงความสามารถในการบรรเลงมากขึ้น การประสานทำนองแบบโพลีโฟนีใช้น้อยลงไป การประสานทำนองแบบโฮโมโฟนีถูกนำมาใช้มากขึ้น มีการนำกฎเกณฑ์มาใช้ในการแต่งเพลงอย่างเคร่งครัด รวมทั้งนำเอาองค์ประกอบของดนตรีมาใช้อย่างครบถ้วน มีการกำหนดอัตราจังหวะ กำหนดให้จำนวนจังหวะสม่ำเสมอเท่ากันทุกห้อง การเขียนเพลงในยุคนี้สนใจความแตกต่าง (Contrast) การใช้จังหวะ มีทั้งจังหวะช้า และเร็ว สลับกันไปตามจำนวนของท่อนเพลงการเขียนทำนองเพลง มีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และมีความสมดุล เช่น ทำนองประโยคหนึ่งจะแบ่งเป็น 2 วรรค คือ วรรคถาม และวรรคตอบ ให้มีความยาวเท่าๆ กัน ด้านเสียงประสานนั้นก็ได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีก นำการเปลี่ยนบันไดเสียงในระหว่างบทเพลงมาใช้แล้วจึงกลับมาหาบัน ไดเสียงเดิมในตอนจบเพลง ในด้านน้ำเสียงนั้นยุคนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การจัดวงออร์เคสตรา ใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท ได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีใหม่ๆ ที่ได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันหลายเครื่องที่สำคัญที่สุด คือ เปียโน (Piano)
นักดนตรีในยุคนี้ได้แก่



          1. โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn ค.ศ. 1732 - 1828) ผู้นี้ได้วางรากฐานทางด้านเพลงซิมโฟนีไว้มากและแต่งเพลงซิมโฟนี ไว้ถึง 104 เพลง จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี” และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 239mav

          2. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ. 1756 - 1791) ได้รับการยกย่องมากอีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้มากและแต่ละเพลงล้วนมีความไพเราะมาก
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Ifsbgw


          3. เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven ค.ศ. 1770 - 1827) มีผลงานต่างๆ ที่น่าประทับใจมากมาย
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 20uem4g




5. ยุคโรแมนติก (the Romantic Period)




ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 15yzr13


ดนตรีสมัยนี้เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1820 – 1900 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรี ดนตรีมิได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้นำทางศาสนาหรือการปกครอง ได้มีการแสดงดนตรี (Concert) สำหรับสาธารณชนอย่างแพร่หลาย นักดนตรีแต่ละคนมีโอกาสแสดงออกซึ่งความรู้สึกของตนเองได้เต็มที ่ และต้องการสร้างสไตล์การเขียนเพลงของตนเองด้วย ทำให้เกิดสไตล์การเขียนเพลงของแต่ละท่านแตกต่างกันอย่างมาก ในยุคนี้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องแสดงออกของอารมณ์อย่างเต็มที่ ทุกๆ อารมณ์สามารถถ่ายทอดออกมาได้ด้วยเสียงดนตรีอย่างเห็นได้ชัด ดนตรีในยุคนี้จึงไม่คำนึงถึงรูปแบบ และความสมดุล แต่จะเน้นเนื้อหา ว่าดนตรีกำลังจะบอกเรื่องอะไร ให้อารมณ์อย่างไร เช่น แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือความกลัว ด้านเสียงประสานก็มักจะใช้คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน เช่น ดอร์ดโครมาติค (Chromatic Chord) หรือ คอร์ดที่มีระยะขั้นคู่เสียงกว้างมากขึ้นๆ เช่น คอร์ด 7,9 หรือ 11 นอกจากจะแสดงถึงอารมณ์แล้ว คีตกวียังชอบเขียนเพลงบรรยายธรรมชาติเรื่องนิยายหรือความคิดฝัน ของตนเอง โดยพยายามทำเสียงดนตรีออกมาให้ฟังได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังบ รรยายมากที่สุด เพลงที่มีแนวเรื่องหรือทิวทัศน์ธรรมชาติเป็นแนวการเขียนนี้เรีย กว่า ดนตรีพรรณนา (Descriptive Music) หรือ โปรแกรมมิวสิค (Program Music) สำหรับบทเพลงที่คีตกวีได้พยายามถ่ายทอดเนื้อความมาจากคำประพันธ ์หรือบทร้อยกรอง (Poem) ต่างๆ แล้วพรรณนาสิ่งเหล่านี้ออกมาด้วยเสียงของดนตรีอย่างเหมาะสมนั้น จะเรียกบทเพลงแบบนี้ว่า ซิมโฟนิคโพเอ็ม (Symphonic Poem) ต่อมาภายหลังเรียกว่า โทนโพเอ็ม (Tone Poem)
 

คีตกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่

1. ซีเบลิอุส (Jean Sibelius ค.ศ. 1865 - 1957)

2. ลิสซต์ (Franz Liszt ค.ศ. 1811 - 1886)

3. เม็นเดลโซห์น (Felix Mendelssohn ค.ศ. 1809 - 1847)

4. โชแปง (Frederic Chopin ค.ศ. 1810 - 1849)

5. ชูมานน์ (Robert Schumann ค.ศ. 1810 - 1856)

6. วากเนอร์ (Richard Wagner ค.ศ. 1813 - 1883)

7. บรามส์ (Johannes Brahms ค.ศ. 1833 - 1897)

8. ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky ค.ศ. 1846 - 1893)




6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (The Impressionistic)




ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 9v8gmd


ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890 - 1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของยุคโรแมนติกนี้ มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบูสซี ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส โดยการใช้ลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม (Whole-tone Scale) ทำให้เกิดลักษณะของเพลงอีกแบหนึ่งขึ้น เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองทำให้เพลงในยุค นี้มีลักษณะ ลึกลับ ไม่กระจ่างชัด เพราะคอร์ดที่ใช้จะเป็นลักษณะของอ๊อกเมนเต็ด (Augmented) มีการใช้คอร์ดคู่ 6 ขนาน ลักษณะของความรู้สึกที่ได้จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความ รู้สึก “คล้ายๆ ว่าจะเป็น” หรือ “คล้ายๆ ว่าจะเหมือน” มากว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร ซึ่งเป็นความประสงค์ของการประพันธ์เพลงประเภทนี้ ชื่ออิมเพรสชั่นนิสติค หรือ อิมเพรสชั่นนิซึมนั้น เป็นชื่อยุคของศิลปะการวาดภาพที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี Monet,Manet และ Renoir เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเป็นศิลปะการวาดภาพที่ประกอบด้วยการแต้มแต่งสีเป็นจุดๆ มิใช่เป็นการระบายสีทั่วๆ ไป แต่ผลที่ได้ก็เป็นรูปลักษณะของคนหรือภาพวิวได้ ทางดนตรีได้นำชื่อนี้มาใช้ ผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้นอกไปจากเดอบูสซีแล้วยังมี ราเวล ดูคาส เดลิอุส สตราวินสกี และโชนเบิร์ก (ผลงานระยะแรก) เป็นต้น




7. ยุคศตวรรษที่ 20 (The Twentieth Century)






    เริ่มจากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 11kwcxk
 

จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดน ตรีในสมัยศตวรรษที่ 20

ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีกา รใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบ รรเลง

ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมา ตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบ บแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรั บ

ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิ ค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตร ีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8   ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 3:37 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวนิรชา มณีสาย เลขที่ 8
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวสิรินดา อักโข เลขที่ 40
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวพันธิตรานันท์ อินทร์ขาว เลขที่ 13
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวพิทยารัตน์ ไชยเลิศ เลขที่ 26

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 3-
ไปที่: