Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
tanatorn komnaso

tanatorn komnaso


จำนวนข้อความ : 2
Join date : 12/06/2016

ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27   ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27 Icon_minitimeThu Jun 16, 2016 6:53 pm

วงเครื่องสายไทย
วงเครื่องสาย

เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ แต่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแล้วหลายชิ้น เช่น ระบุถึงไว้ในกฎมนเทียรบาลว่า “ร้อง (เพลง) เรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ ตีทับขับรำโห่ร้องนี่นัน” และกล่าวถึงว่า “ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับ” อย่างไรก็ดี ในสมัยนั้น การบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเหล่านี้คงเป็นลักษณะต่างคนต่างเล่น คงมิได้หมายถึงการผสมวงที่ปรับปรุงตามแบบฉบับ จึงยังไม่พบเป็นหลักฐานว่า วงเครื่องสายสมัยอยุธยาผสมวงกันอย่างไร

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า “...ผู้ชายบางพวกที่หัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดกันเอาซอด้วง ซออู้ จะเข้ กับปี่อ้อ เข้าเล่นผสมกับเครื่องกลองแขก เครื่องผสมแบบนี้เรียกกันว่า กลองแขกเครื่องใหญ่...” ซึ่งภายหลังเรียกการประสมวงแบบนี้ว่า เครื่องสายปี่ชวา แล้วทรงประมาณถึงช่วงเวลาของการกำเนิดวงเครื่องสายว่า “...เห็นจะเกิดขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ ด้วยเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ยังถือกันว่าเป็นของเกิดขึ้นใหม่…”

ทรงประทานอธิบายต่อไปว่า “...ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนา และขลุ่ยแทน เรียกว่า มโหรีเครื่องสาย บางวงก็เติมระนาด และฆ้องเข้าด้วย จึงเกิดมีมโหรีเครื่องสายผู้ชายเล่น แทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้ ที่ผู้หญิงหัดเล่นก็มี แต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น แต่การเล่นมโหรีเครื่องสายในชั้นหลังมา ดูไม่มีกำหนดจำนวนเครื่องเล่น เช่น ซอด้วง และซออู้ เป็นต้น แล้วแต่จะมีคนสมัครจะเข้าเล่นเท่าใด ก็เข้าเล่นได้…”

ภายหลัง เราไม่เรียกวงแบบนี้ว่า มโหรีเครื่องสาย แต่เรียกกันว่า วงเครื่องสาย และตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง เรียกกันอย่างกว้างๆว่า วงเครื่องสายผสม

เสียงของวงเครื่องสายนั้นมีความไพเราะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของเครื่องดนตรีที่สังกัดในวงดนตรีชนิดนี้ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องสายตระกูลดีดและสี กับมีเครื่องเป่าตระกูลของขลุ่ยเข้าร่วมสมทบ ซึ่งส่วนมากมีศักยภาพในการผลิตเสียงที่ยาวได้อย่างต่อต่อเนื่องเกือบทั้งสิ้น จึงทำให้วงเครื่องสายมีลีลาของการบรรเลงบทเพลงประเภท “เพลงกรอ” ได้อย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม วงเครื่องสายก็สามารถบรรเลงเพลงประเภทอื่น เช่น เพลงทางพื้น เพลงลูกล้อลูกข้อได้เช่นกัน

ส่วนลีลาด้านการดำเนินทำนองนั้น แนวการดำเนินทำนองของ ซอ จัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น การเคลื่อนที่ของทำนองจากต่ำไปสู่สูงและลงมาต่ำนั้น มีลีลาการสร้างทำนองที่ต่างไปจากเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ทั้งนี้เนื่องจากซอเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของช่วงเสียงหรือพิสัย (Range) ที่แคบ การเคลื่อนที่ของทำนองจึงหมุนเวียนอยู่ในกรอบของระดับเสียงที่จำกัด อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนที่ของทำนองในวงเครื่องสายลักษณะนี้ กลับกลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของวงเครื่องสายได้อย่างดียิ่ง

เสียงของวงเครื่องสายนั้น จะใช้ ทางเพียงออบน หรือ ทางนอกต่ำ โดยใช้ “ขลุ่ยเพียงออ” หรือ “ปี่นอกต่ำ” เป็นหลักของเสียง เสียงเอกของทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำนี้อยู่สูงกว่าทางกลางขึ้นมาอีกหนึ่งเสียง (ทางกลางคือทางที่ใช้บรรเลงประกอบกับการแสดงโขนและหนังใหญ่ ซึ่งเล่นกลางแจ้ง มีเสียงสูงและใช้ปี่กลางเป็นหลักของเสียง)

แบบแผนของวงเครื่องสายในปัจจุบันนี้นั่น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายผสม และวงเครื่องสายปี่ชวา

๑. วงเครื่องสายไทย

วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่

๑.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
จะเข้ ๑ ตัว
ซอด้วง ๑ คัน
ซออู้ ๑ คัน
ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
โทน-รำมะนา ๑ คู่
ฉิ่ง ๑ คู่
ฉาบ ๑ คู่
กรับ ๑ คู่
โหม่ง
๑ ใบ


๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่ วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็นสองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้


จะเข้ ๒ ตัว
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
ฉิ่ง ๑ คู่
ฉาบ ๑ คู่
กรับ ๑ คู่
โหม่ง ๑ ใบ
โทน-รำมะนา ๑ คู่

๒. วงเครื่องสายผสม


เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด

การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ
ในบางครั้งวงเครื่องสายประเภทนี้จะนำเอาจะเข้ซึ่งมีเสียงดังออกเสียด้วย เนื่องจากเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมนั้นมีเสียงเบากว่ามาก เช่น ในวงเครื่องสายผสมขิมหรือไวโอลินบางวง เป็นต้น

๓. วงเครื่องสายปี่ชวา


ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่

๓.๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
ปี่ชวา ๑ เลา
ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
ซอด้วง ๑ คัน
ซออู้ ๑ คัน
จะเข้ ๑ ตัว
กลองแขก ๑ คู่
ฉิ่ง ๑ คู่

ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

๓.๒ วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือคู่ ดังนี้
ปี่ชวา ๑ เลา
ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
จะเข้ ๒ตัว
กลองแขก ๑ คู่
ฉิ่ง ๑ คู่
ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27   ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27 Icon_minitimeThu Jun 16, 2016 8:36 pm

เพิ่มรูปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพิ่มเติม...
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานเรื่องวงเครื่องสาย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 27
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่องประวัติของดนตรีไทย โดย นายธนธรณ์ คำนะโส เลขที่ 17
» ส่งงานเรื่องประเภทดนตรีสากล โดยนางสาวสรัลชนา พวงจำปา เลขที่ 17
» ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีไทยโดยนางสาวสายสุดา คำพูล เลขที่ 18
» ส่งงานเรื่องคนตรีสากล โดย นางสาวเสาวลักษณ์ เรืองศรี เลขที่ 27
» ส่งงานวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยนางสาวนัฏชริดา คำปุย เลขที่ 12

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/2 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: