Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
phattharaporn senkhamson

phattharaporn senkhamson


จำนวนข้อความ : 2
Join date : 13/06/2016

ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6   ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:37 pm

วงดนตรีไทย



          วงดนตรีไทยในปัจจุบันมีการจัดรูปแบบ และมีระเบียบแบบแผน มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักการประสมวง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์, วงเครื่องสาย, วงมโหรี
1.      วงปี่พาทย์


1.1)             วงปี่พาทย์ไม้แข็ง


        ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีและพิธีกรรมของประชาชน ตลอดจนใช้บรรเลงประกอบการแสดง โขน หนังใหญ่ ละครนอก ละครใน หุ่นกระบอก เป็นต้น


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%875
-          วงปี่พาทย์เครื่องห้า (ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง)






ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88
-          วงปี่พาทย์เครื่องคู่ (ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง)










ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88
-          วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ (ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง)










1.2)             วงปี่พาทย์เสภา




         ใช้บรรเลงและขับร้องในการแสดงเสภา ซึ่งมีการพัฒนามาจากนิทานคำกลอน การประสมวงปี่พาทย์เสภา มีพื้นฐานมาจากวงปี่พาทย์ไม้แข็งโดยมีการนำเอาลูกเปิงมาง(กลองสองหน้า  1 ลูกมาตีแทนตะโพนและกลองทัด (ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองสองหน้า ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง)


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%28%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%29






1.3)             วงปี่พาทย์ไม้นวม


        มีโครงสร้างเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยใช้ไม้นวมตีระนาดเอก ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่นอกและปี่ในและเพิ่มซออู้ 1 คัน เพื่อให้ได้เสียงที่นุ่มนวลกว่า วงปี่พาทย์ไม้แข็ง


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A1






1.4)             วงปี่พาทย์นางหงส์
        วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย ชื่อเรียกของวงดนตรีวงนี้เรียกตามชื่อเพลงที่นิยมนำมาบรรเลงประโคมในงาน คือเพลงนางหงส์ โดยจะใช้บรรเลงในงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม จึงหันมาใช้วงปี่พาทย์มอญแทน


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C


1.5)             วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์


              วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ได้แนวคิดมาจากการแสดงโอเปราของชาวยุโรป มีรูปแบบการแสดงที่ประณีตและแสดงตามแนวละครใน ตัวแสดงดำเนินเรื่องด้วยการร้อง มีฉากแสดงที่สมจริงนอกจากนี้ยังมีการบรรเลงโหมโรง(Overture)เล่าเรื่องก่อนการแสดง


         เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จะใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงไม่แข็งกร้าวเพราะการแสดงจะแสดงภายในโรงเรือนเพื่อไม่ให้เสียงดังก้องเกินไป จึงมีการเปลี่ยนไม้ระนาดไปใช้ไม้นวม และใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ใน และปี่นอก (ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ตะโพน  วงฆ้องชัย และฉิ่ง)


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B9%8C




1.6)             วงปี่พาทย์มอญ


เป็นวงดนตรีไทยที่นำเอาเครื่องดนตรีมอญมาประสมกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยสามารภใช้บรรเลงได้ในทุกโอกาส ทั้งงานมงคลหรืองานอวมงคล วงปี่พาทย์มอญนั้นเดิมนิยมใช้ในกิจกรรมต่างๆของชาวมอญและใช้นักดนตรีชาวมอญ ต่อมานักดนตรีไทยได้ศึกษาเกี่ยวกบดนตรีและบทเพลงมอญจึงได้นำเครื่องดนตรีมอญมาประสมตามหลักการประสมวงวงปี่พาทย์ไม้แข็ง(วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ปี่มอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และโหม่งกระจัง)


(วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ ปี่มอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และโหม่งกระจัง)


ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะการนำไปประโคมงานศพ หรือการแสดงลิเก
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88














1.      วงเครื่องสาย


            วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี คือ ซอ เครื่องดีด คือ จะเข้ และ กระจับปี่ ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ


1. วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว 
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7


เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวนี้ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหลักของวงเครื่องสายไทยที่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสียมิได้ เพราะแต่ละสิ่งล้วนดำเนินทำนองและมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อผสมเป็น วงขึ้นแล้ว เสียงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็จะประสมประสานกัน เป็นอันดี เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลักคือ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ โทนและรำมะนา ฉิ่ง










2. วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88


            คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างละ 2 ชิ้น แต่สำหรับการ ผสมวงดนตรีจะต้องพิจารณาใคร่ครวญถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่จะผสมกันนั้น ว่าจะบังเกิดความไพเราะหรือไม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่ จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือซอด้วง 2 คัน แต่ ซออู้ 2 คัน จะเข้ 2 ตัวขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็กและโหม่ง ตั้งแต่โบราณมา วงเครื่องสายไทยมีอย่างมากก็เพียงเครื่องคู่ดังกล่าวแล้วเท่านั้น ในสมัยหลังได้มีผู้คิดผสมวงเป็น วงเครื่องสาย ไทยวงใหญ่ ขึ้น โดยเพิ่มเครื่องบรรเลงจำพวกดำเนินทำนอง เช่น ซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ขึ้นเป็นอย่างละ 3 ชิ้นบ้าง 4 ชิ้นบ้าง การจะผสมเครื่องดนตรีชนิดใด เข้ามาในวงนั้นย่อมกระทำได้ถ้าหากเครื่องดนตรีนั้นมีเสียงเหมาะสมกลมกลืนกับเครื่องอื่น ๆ










3. วงเครื่องสายผสม


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1


เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสาย ไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติ ที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่นนำเอาขิมมาร่วมบรรเลงกับ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย และเครื่องกำกับจังหวะต่าง ๆ แทนจะเข้ ก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสมขิม" หรือ นำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสม ออร์แกน" หรือ "วงเครื่องสายผสมไวโอลิน" เครื่องดนตรีต่างชาติที่นิยมนำมา บรรเลงเป็นวงเครื่องสายผสมนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ขิม ไวโอลิน ออร์แกน เปียโน  แอกคอร์เดียน   กู่เจิง เป็นต้น




4.  วงเครื่องสายปี่ชวา


ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2


            เป็นวงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก โดยไม่ใช้โทนและ รำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วงกลองแขกเครื่องใหญ่


            การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความ เชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งกำกับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดี ที่สุดจึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมใช้บรรเลงเป็นเพลง โหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่าแล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้งหนึ่ง










1.      วงมโหรี


            วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกตระกูล คือ ดีด สี ตี และเป่า มารวมอยู่ในวงเดียวกันได้อย่างลงตัว ละเอียดอ่อน และละเมียดละไม มีแนวทางการบรรเลงที่นุ่มนวล ไพเราะ นิยมใช้บรรเลงในพิธีการที่ศักดิ์สิทธิและเป็นมงคลต่างๆ


            วงมโหรีนั้นเดิมคงเป็นของผู้ชายเล่น แต่ต่อมาคนทั่วไปเกิดชอบฟังกันแพร่หลายทั่วไป ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งมีบริวารมากจึงหัดให้ผู้หญิงเล่นมโหรีบ้าง หลังจากนั้นมโหรีก็ กลายเป็นของผู้หญิง ดังจะพบได้ตามงานจิตรกรรม ประติมากรรมใน ศิลปะสมัยอยุธยามักเขียนหรือแกะสลักเป็นภาพสตรีกำลังบรรเลงเครื่องดนตรีที่น่าจะ เป็นวงมโหรี 


 


วงมโหรีสมัยโบราณ (มโหรีเครื่องสี่)
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88


มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตีทับ (โทน) และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนองคือ 
ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า โทน ทำ หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง ส่วนกรับพวงที่ คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย






วงมโหรีเครื่องหก
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%81


          ต่อมาวงมโหรีได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก ๒ อย่าง และเปลี่ยนแปลงไป
อย่างหนึ่งเป็นวงมโหรีเครื่องหก เพราะมีผู้บรรเลง ๖ คน คือซอสามสาย พิณหรือ 
กระจับปี่ ทับหรือโทน รำมะนา (เพิ่มใหม่) ตีสอดสลับกับโทนหรือทับ ขลุ่ย (เพิ่มใหม่) 
ช่วยดำเนินทำนองเพลง และกรับพวงของเดิมเปลี่ยนมาเป็นฉิ่ง








วงมโหรีวงเล็ก
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81


            วงมโหรีได้มีวิวัฒนาการ เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ ครั้งแรกได้เพิ่มฆ้อง 
วงกับระนาดเอก ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย นำจะเข้มาแทนพิณหรือกระจับปี่ ซึ่งนับเป็นวงมโหรีวงเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนหน้าที่ในการบรรเลงก็เป็นดังนี้ ซอสามสาย บรรเลงเป็นเสียงยาวโหยหวน บ้าง เก็บถี่ ๆบ้างตามทำนองเพลง และเป็นผู้คลอเสียงร้องด้วย 




วงมโหรีเครื่องคู่
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88




            ในสมัย รัชกาลที่ ๓ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน


จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสาย อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่










วงมโหรีเครื่องใหญ่
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 %E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88


            ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่ม ระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึง เลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูก ระนาดด้วยทองเหลือง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้  บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก 
ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง 
เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6   ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย  โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6 Icon_minitimeThu Jun 16, 2016 8:40 pm

ส่งงานได้มั่วดีจริงๆ
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง ประเภทวงดนตรีไทย โดยนางสาวกัญญารัตน์ โสภา เลขที่ 11
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงปี่พาทย์ โดยนางสาวธันยพร คนรู้ เลขที่ 2
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงเครื่องสายไทย โดยนางสาวน้ำฝน ประพาน เลขที่ 3
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงโหรี นางสาวสุวิมล กำไมล์ ม.4/2 เลขที่ 39

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/2 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: