Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Mrs.Namfon Poonperm

Mrs.Namfon Poonperm


จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/06/2016

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3    วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:24 pm

ขึ้นไปข้างบน Go down
Mrs.Namfon Poonperm

Mrs.Namfon Poonperm


จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/06/2016

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3    วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:33 pm

การประสมวงดนตรีไทย



วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Nxkv7l
           บรรพบุรุษของเรามีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมทางศิลปะดนตรี กล่าวคือ  ได้นำเครื่องดนตรีมาประกอบขึ้นเป็นวง เรียกว่า การเล่นผสมวง ซึ่งหมายถึงการเล่นร่วมกันหลายคนและหลายเครื่อง มีข้อสำคัญอยู่ที่การปรับเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นให้เสียงประสานกลมกลืนเข้ากันเกิดเป็นเสียงของเครื่องดนตรีที่ไพเราะ

           การประสมวงคือ  การนำเครื่องดนตรีประเภทต่างๆทั้งฝ่ายดำเนินทำนองและกำกับจังหวะมาบรรเลงร่วมกันอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยคำนึงถึงหลักความเหมาะสมเพื่อให้เครื่องดนตรีทุกชนิดได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมภาคภูมิ (ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน)  ตลอดจนคำนึงถึงผลอันจะก่อให้เกิดความพวยพุ่งแห่งอารมณ์  ซึ่งได้แก่ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และเสียงที่ดำเนินร่วมกันไปอย่างสนิทสนมกลมกลืนเป็นสำคัญ เพราะเสียงดนตรีนับเป็นอาหารชนิดหนึ่งซึ่งผ่านทวารหูเข้าสู่ใจ  น้อมนำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์แช่มชื่น รื่นเริง สงบ เศร้าโศก หรือห้าวหาญคึกคักไปตามความหมายของเพลง

           ลักษณะของดนตรีไทยแต่เดิมเลียนแบบจากอินเดีย มีการขับลำนำ มีคนร้อง คนดีดพิณและไกวบัณเฑาะว์ กำกับจังหวะ (ใช้เฉพาะพิธีหลวง)เรียกว่าปัญจดุริยางค์กลายเป็น

-ปี่พาทย์หนัก ชนิดสำหรับทำประกอบการแสดงนาฏศิลป์ เช่น โขน ละคร(คือปี่พาทย์เครื่องห้า)

-ปี่พาทย์เบา  สำหรับเล่นกับละครที่เรียกว่า โนห์รา อันเป็นต้นฉบับของละครชาตรี

           ไทยได้ดัดแปลงเครื่องดนตรีจากอินเดียมาเป็น

1)  ปี่พาทย์ไม้แข็ง

2)  เครื่องสาย

3)  มโหรี



ลักษณะการประสมวงในยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2494-ปัจจุบัน)

           นับแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน  ศิลปะดนตรีไทยในยุคนี้มีทั้งคราวเจริญและคราวเสื่อมตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  อาจถือได้ว่าเป็นระยะอยู่ตัว แม้ศิลปะดนตรีจะไม่สู่คึกคักแต่ก็ไม่ถึงกับเสื่อมโทรม บรรดาพระบรมวงศานุวงษ์  ตลอดจนขุนนางข้าราชการซึ่งนิยมชมชอบศิลปะประเภทนี้ต่างช่วยกันดำรงส่งเสริมไว้มิให้ขาดสาย และแล้วในที่สุดศิลปะดนตรีก็เจริญขึ้นถึงขีดสุดในรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปะดนตรีทำท่าจะก้าวสูงขึ้นอีกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพราะในระยะนี้ตั้งแต่เจ้าจนถึงข้าล้วนเข้าถึงดนตรีรส  ไม่มีสมัยใดที่ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีเข้าถึงซอด้วยพระองค์เอง  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้นทรงมีพระปรีชาญาณลึกซึ่งถึงกับทรงพระราชนิพนธ์เพลงคลื่นกระทบฝั่ง ราตรีประดับ-ดาว  และ  เขมรลออองค์ไว้ได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง  แต่เพราะความผันผวนทางการเมืองและความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจ  ศิลปะดนตรีก็มีอันต้องตกต่ำลงในที่สุด  โดยเฉพาะในสมัยเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยนั้นศิลปะดนตรีไทยเกือบจะต้องสูญสลาย  แต่แล้วก็คงอยู่ได้เพราะพระบารมีแห่งสมเด็จพระสยามเทวา- ธิราช  ตลอดจนอดีตบูรพาจารย์ซึ่งคอยแผ่พระคุณคุ้มไทยอยู่ตลอดเวลา

           ดนตรีของไทยซึ่งได้จัดรวบรวมเป็นวงบรรเลงที่ถือว่าเป็นแบบแผนมีอยู่ 3 อย่าง คือ

           1. วงปี่พาทย์

           2. วงเครื่องสาย

           3.  วงมโหรี

           แต่ละวงมีขนาดซึ่งถือตามจำนวนเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงมากน้อยกว่ากันเป็นชื่อวง ดังจะจำแนกต่อไปนี้  ส่วนหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละสิ่งนั้นจะกล่าวไว้ในวงเครื่องใหญ่แห่งเดียวเพื่อมิให้ตอ้งซ้ำซากกัน



วงปี่พาทย์

           วงปี่พาทย์  หมายถึง วงดนตรีที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า  และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี  ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ  ดังนี้

           1.  วงปี่พาทย์เครื่องห้า

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงก็คือ

(1)ปี่ใน             (2)ระนาดเอก               (3)ฆ้องวงใหญ่

(4)ตะโพน        (5)กลองทัด                  (6)ฉิ่ง



           วิธีบรรเลงและหน้าที่ดูในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

           2.  วงปี่พาทย์เครื่องคู่

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงคือ

(1)ปี่ใน             (2)ปี่นอก                      (3)ระนาดเอก

(4)ระนาดทุ้ม    (5)ฆ้องวงใหญ่              (6)ฆ้องวงเล็ก

(7)ตะโพน        (Coolกลองทัด                  (9)ฉิ่ง



           วิธีบรรเลงและหน้าที่ดูในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่



           3.  วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงซึ่งมีวิธีบรรเลงและหน้าที่ดังนี้

(1)ปี่ใน  เป่าโดยดำเนินทำนองถี่ๆบ้าง  โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง  มีหน้าที่ดำเนินทำนองและช่วย         นำวงด้วย

(2)ปี่นอก  เป่าโดยดำเนินทำนองถี่ๆบ้าง  โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง  โดยดำเนินทำนองแทรกแซงไปในทางเสียงสูง

(3)ระนาดเอก  โดยปรกติตีพร้อมกันทั้งสองมือ  เป็นคู่แปดดำเนินทำนองเก็บถี่ๆโดยตลอด  แต่ว่าบางโอกาสอาจจะตีกรอหรือรัวบ้างก็ได้ มีแต่บางโอกาสอาจจะใช้ไม้นวมตีให้มีเสียงนุ่มนวลก็ได้

(4)ระนาดทุ้ม  ตีพร้อมกันทั้งสองมือบ้าง  ตีมือละลูกบ้าง  และมือละหลายๆลูกบ้าง  มีหน้าที่สอดแทรก หลอกล้อ  ยั่วเย้าไปกับทำนองให้สนุกสนาน

(5)ระนาดเอกเหล็ก  ตีพร้อมกันทั้งสองมือเป็นคู่แปดดำเนินทำนองถี่ๆบ้าง  ตีกรอบ้างและรัวบ้าง เช่นเดียวกับระนาดเอกแต่มีหน้าที่ช่วยให้เสียงกระหึ่มขึ้นเท่านั้น  ไม่มีหน้าที่เป็นผู้นำวง

(6)ระนาดทุ้มเหล็ก  ตีมือละลูกหรือหลายๆลูก  ดำเนินทำนองห่างๆ มีหน้าที่ยั่วเย้าทำนองเพลงในระยะห่างๆ

(7)ฆ้องวงใหญ่  ตีพร้อมกันทั้งสองมือบ้าง  ตีมือละลูกบ้าง  มีหน้าที่ดำเนินทำนองซึ่งเป็นเนื้อเพลงเป็นหลักของวง

(Coolฆ้องวงเล็ก  ตีเก็บถี่ๆ มือละลูกบ้าง มือละหลายๆลูกบ้าง  มีหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง

(9)ตะโพน  ตีมือละหน้า  โดยปรกติใช้มือขวาตีหน้าใหญ่ ซึ่งเรียกว่า หน้าเท่ง มือซ้ายตีหน้าเล็กซึ่งเรียกว่าหน้ามัด ให้เสียงสอดสลับกัน มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ ให้รู้ว่าวรรคตอนและประโยคของเพลง และเป็นผู้นำกลองทัดด้วย

(10)กลองทัด  ตีห่างบ้าง ถี่บ้าง  ตามแบบแผนของเพลงแต่ละเพลง

(11)ฉิ่ง  โดยปกติจะตีสลับกันให้ดัง  “ฉิ่ง” ทีหนึ่ง  “ฉับ” ทีหนึ่ง  โดยสม่ำเสมอ  มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อยให้รู้จังหวะเบาและจังหวะหนัก

           เครื่องประกอบจังหวะพิเศษ

เครื่องประกอบจังหวะนั้นยังมีเพิ่มเติมได้ในเมื่อต้องการหรือเห็นว่าเหมาะสมกับเพลงนั้นๆ เครื่องประกอบจังหวะเหล่านั้นก็คือ

           ฉาบเล็ก  ตีได้ทั้งให้ข้างๆกระทบกัน หรือตีสองฝาเข้าประกอบกัน มีหน้าที่หยอกล้อ ยั่วเย้าไปกับฉิ่ง หรือให้สอดคล้องกับทำนองเพลง

           ฉาบใหญ่  ตีสองฝาเข้าประกบกันตามจังหวะห่างๆ มีหน้าที่ช่วยกำกับจังหวะต่างๆถ้าเป็นเพลงสำเนียงจีนก็ให้เข้ากับทำนองเพลง

           โหม่ง  ตีตรงปุ่มด้วยไม้นวมตามจังหวะต่างๆ มีหน้าที่ควบคุมจังหวะห่างๆ

           การบรรเลงปี่พาทย์นี้ โดยปรกติระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ใช้ไม้แข็ง  แต่ถ้าต้องการให้มีเสียงนุ่มนวลก็ให้เปลี่ยนไม้ตีเป็นไม้นวมเสีย ทั้ง 2 อย่าง เรียก “ปี่พาทย์ไม้นวม”  ถ้าบรรเลงประกอบกับการขับเสภา ซึ่งมีร้องส่งก็เอาตะโพนและกลองทัดออก  ใช้สองหน้าตีกำกับจังหวะหน้าทับและใช้ได้ทั้งปี่พาทย์เครื่องห้า  เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่  ใช้ไม้แข็งตามปกติ

           4.  วงปี่พาทย์ชาตรี

วงปี่พาทย์ชนิดนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา” สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเบา นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี  ภายหลังจึงมีชื่อว่า “วงปี่พาทย์ชาตรี” ตามชื่อละครชาตรีด้วย วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรี   ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง

5.  วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์



           เป็นวงปี่พาทย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้คือ  ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพน กลองตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย(1 ชุด มี 7 ใบ)  ฉิ่ง กรับ


           6.  วงปี่พาทย์มอญ

แต่เดิมเป็นวงดนตรีของชนชาติมอญ  ใช้บรรเลงได้ทุกโอกาสไม่ว่าจะเป็นงานพิธีมงคล หรืออวมงคล  ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงในงานศพ วงปี่พาทย์มอญแบ่งเป็นวงขนาดหรือชนิดต่างๆคล้ายวงปี่พาทย์ของไทย ได้แก่

           6.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย  ฆ้องวงใหญ่  ระนาดเอก  ปี่มอญ  เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่ง ฉิ่ง


           6.2  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่  ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่งมอญ

           6.3  วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่  ประกอบด้วย  ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ่มเหล็ก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่งมอญ

           7.  วงปี่พาทย์นางหงส์

           ลักษณะการประสมวงเป็นเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์โดยทั่วไป  ผิดกันแต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่นอก   และปี่ใน  และใช้กลองมลายู 1 คู่เป็นตัวเดินจังหวะหน้าทับแทนเครื่องหนังทุกชนิดที่เคยใช้ในวงปี่พาทย์มาแต่เดิม  ตามทางสันนิษฐานเข้าใจว่าวงปี่พาทย์นางหงส์เริ่มมีการประสมวงแล้ว  แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  แต่เพิ่งมาสมบูรณ์ที่สุดในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง

            วงปี่พาทย์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้คือ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง

วงเครื่องสาย

           หมายถึง  วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบ วงเครื่องสายมีหลายขนาดด้วยกัน  ดังนี้

           1.  วงเครื่องสายวงเล็ก



           มีเครื่องดนตรีและเครื่องผสมอยู่ในวงและมีหน้าที่ต่างๆกันคือ

           1.  ซอด้วง  สีเป็นทำนองเพลง ซึ่งมีเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง

           2.  ซออู้  สีเป็นทำนองเพลง โดยหยอกล้อ ยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนอง

           3.  จะเข้ ดีดโดยเก็บถี่ๆบ้าง ห่างๆบ้าง สอดแทรกทำนองให้ความไพเราะ

           4.  ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวๆบ้าง ดำเนินทำนองเพลง

           5.  โทน ตีให้สอดคล้องสลับกับรำมะนา มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ

           6.  รำมะนา ตีให้สอดสลับกับโทน หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ โทนกับรำมะนานี้ต้องตีให้สอดคล้องกันเหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียว เพราะฉะนั้นบางวงจึงใช้คนคนเดียวตีทั้งสองอย่าง

           7.  ฉิ่ง  ตีให้มีเสียง “ฉิ่ง” และ “ฉับ” กำกับจังหวะให้ดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ และให้รู้จักจังหวะเบาและจังหวะหนัก


           2.  วงเครื่องสายเครื่องคู่



           มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงและมีหน้าที่ดังนี้

           1.  ซอด้วง 2 คัน  การสีก็เหมือนกับที่ได้อธิบายไว้แล้วในเครื่องสายวงเล็ก แต่หน้าที่การนำวงมีเพียงคันเดียว ส่วนอีกคันหนึ่งเพียงแต่ช่วยเป็นหลักในการดำเนินทำนองเนื้อเพลง

           2.  ซออู้ 2 คัน การสีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก

           3.  จะเข้ 2 ตัว  การดีดและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก

           4.  ขลุ่ยเพียงออ  วิธีเป่าและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก

           5.  ขลุ่ยหลิบ  เป็นขลุ่ยที่เล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ  และเสียงสูงกว่า 3 เสียง  วิธีเป่าก็เหมือนกับขลุ่ยเพียงออ แต่มีหน้าที่สอดแทรกทำนองไปในทางเสียงสูง

           6.  โทน  วิธีตีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก

           7.  รำมะนา  วิธีตีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก

           8.  ฉิ่ง  วิธีตีและหน้าที่เหมือนในเครื่องสายวงเล็ก


           3.  วงเครื่องสายผสม

           คือ  วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา  และนำเครื่องดนตรีอื่นมาบรรเลงผสม เครื่องดนตรีที่นำมาผสมอาจเป็นเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ เช่น ไวโอลีน ออร์แกน ขิม เป็นต้น เครื่องดนตรีนำมาบรรเลงผสมในวงเครื่องสายนั้นจะต้องคำนึงถึงเสียงด้วย  เมื่อนำเครื่องดนตรีใดมาผสมแล้วก็จะเรียกชื่อเครื่องดนตรีนั้นด้วย เช่น นำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า “วงเครื่องสายผสมขิม” นำออร์แกนมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า “วงเครื่องสายผสมออร์แกน” เป็นต้น
วงมโหรี

           วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่เกิดจากการประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย  โดยตัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า วงมโหรีแบ่งเป็นขนาดหรือชนิดต่างๆดังนี้

           1.  วงมโหรีวงเล็ก

             มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงคือ  ซอสามสาย  ระนาดเอก  ฆ้องวง(ซึ่งฆ้องวงนี้มีขนาดเล็กกว่าฆ้องวงใหญ่ในวงปี่พาทย์  และฆ้องวงเล็กในวงปี่พาทย์  มักจะเรียกกันว่า “ฆ้องกลาง” หรือ “ฆ้องมโหรี”) ซอด้วง  ซออู้  จะเข้  ขลุ่ยเพียงออ  โทน  รำมะนา  ฉิ่ง




           ส่วนวิธีบรรเลงและหน้าที่จะได้รวมอธิบายไว้ในวงมโหรีเครื่องใหญ่

           2.  วงมโหรีเครื่องคู่

             มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงคือ  ซอสามสาย  ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี   ฆ้องวงเล็ก  ซอด้วง 2 คัน  ซออู้  จะเข้ 2 ตัว  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยหลิบ  โทน  รำมะนา  ฉิ่ง

           วงมโหรีเครื่องคู่นี้  บางทีก็เพิ่มซอสามสายอีกหนึ่งคัน  ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าซอสามสาย ของเดิมเรียกว่า “ซอหลิบ” แต่เป็นซอที่หายาก จึงไม่ค่อยได้ใช้



                       3.  วงมโหรีเครื่องใหญ่





           วิธีบรรเลงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีวงมโหรี

           1.  ซอสามสาย  สีเก็บบ้าง โหนหวนเป็นเสียงยาวๆบ้าง  มีหน้าที่คลอเสียงคนร้องและดำเนินทำนองเพลง

           2.  ซอสามสายหลิบ สีเก็บบ้างโหยหวนเป็นเสียงยาวๆบ้าง แต่ไม่มีหน้าที่คลอเสียงคนร้อง เพียงแต่ช่วยในการดำเนินทำนองโดยแทรกแซงในทางเสียงสูงเท่านั้น

           3.  ระนาดเอก  ตีพร้อมกันสองมือเป็นคู่ 8  เดินทำนองเก็บถี่ๆโดยตลอด แต่บางโอกาสก็มีตีกรอบ้าง รัวบ้าง มีหน้าที่เป็นผู้นำวง

           4.  ระนาดทุ้ม ตีพร้อมกันทั้งสองมือบ้าง ตีมือละลูกบ้างและมือละหลายๆลูกบ้าง มีหน้าที่สอดแทรก หยอกล้อ ยั่วเย้าไปกับทำนอง ให้สนุกสนาน

           5.  ระนาดเอกเหล็ก หรือระนาดทอง ที่เรียกว่า “ระนาดทอง” นั้น ก็เพราะว่าลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง ตีสองมือพร้อมๆกัน เป็นคู่ 8  ดำเนินทำนองถี่ๆ  โดยตลอดเหมือนระนาดเอก  แต่ไม่มีหน้าที่เป้นผู้นำวง เป็นแต่ช่วยให้มีเสียงกระหึ่มขึ้นเท่านั้น

           6.  ระนาดทุ้มเหล็ก ตีมือละลูกหรือหลายๆลูก เดินทำนองห่างๆ มีหน้าที่ยั่วเย้าทำนองเพลงอย่างห่างๆ

           7.  ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี  ตีพร้อมกันสองมือบ้าง ตีมือละลูกบ้างหรือหลายๆลูกบ้าง  มีหน้าที่ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง

           8.  ฆ้องวงเล็ก  ตีเก็บถี่ๆ มือละลูกบ้าง มือละหลายๆลูกบ้าง มีหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง

           9.  ซอด้วง  สองคันสีเป็นทำนองเพลง มีถี่บ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง แต่ไม่มีหน้าที่เป็นผู้นำวง  เพราะว่ามีระนาดเป็นผู้นำวงอยู่แล้ว

           10. ซออู้ สองคัน สีหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง

           11. จะเข้  สองตัว  ดีดเก็บถี่ๆ บ้าง ห่างๆบ้าง สอดแทรกทำนองให้เกิดความไพเราะ

           12. ขลุ่ยเพียงออ เป่าเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวๆ บ้าง ช่วยดำเนินทำนองเพลง

           13. ขลุ่ยหลิบ วิธีเป่าเหมือนกับขลุ่ยเพียงออ แต่มีหน้าที่สอดแทรกทำนองไปในทางเสียงสูง

           14. โทน ตีให้สอดสลับกันกับรำมะนา  กำกับจังหวะหน้าทับ

           15. รำมะนา ตีให้สอดสลับไปกับโทน หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ   โทนกับรำมะนานี้ต้องให้สอดคล้องกันเหมือนเครื่องดนตรีอย่างเดียวกัน

           16. ฉิ่ง ตีให้ดัง “ฉิ่ง” ทีหนึ่ง “ฉับ” ทีหนึ่ง กำกับจังหวะโดยสม่ำเสมอ ให้รู้จักจังหวะเบาและจังหวะหนัก

           ส่วนเครื่องประกอบจังหวะอีก 3 อย่าง คือฉาบเล็ก ฉาบใหญ่และโหม่ง นั้น เลือกใช้ตามโอกาสที่เห็นสมควร
วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3   border=" />


แก้ไขล่าสุดโดย Mrs.Namfon Poonperm เมื่อ Wed Jun 15, 2016 9:57 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
Mrs.Namfon Poonperm

Mrs.Namfon Poonperm


จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/06/2016

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3    วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:43 pm

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2&biw=1280&bih=879&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwiPxYSKoqrNAhXHs48KHROLC38Q_AUIBygC#imgrc=R3-6m9ZcKkwA9M%3A
ขึ้นไปข้างบน Go down
Mrs.Namfon Poonperm

Mrs.Namfon Poonperm


จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/06/2016

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3    วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:45 pm

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  28rlh0o
ขึ้นไปข้างบน Go down
Mrs.Namfon Poonperm

Mrs.Namfon Poonperm


จำนวนข้อความ : 7
Join date : 15/06/2016

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3    วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3  Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 9:47 pm

วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3   border=" />
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
วงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม.4/3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของดนตรีสากล โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม เลขที่ 23 ชั้น ม. 4/3
» ส่งงาน วงค์ดนตรีไทย โดย นาย พีรภัทร สมมั่น ชั้น ม.4/3 เลขที่ 1
» ส่งงาน วงค์ดนตรีไทย โดย นาย สถาพร ศรีเชียงหวาง ชั้น ม.4/3 เลขที่ 34
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดย นางสาวน้ำฝน พูลเพิ่ม
» ส่งงาน เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล โดย นางสาวน้ำฝน ประพาน เลขที่ 3

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/3 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: