Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
atchara chaiphon

atchara chaiphon


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 09/06/2016

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3   ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 6:15 pm

ประเภทของวงดนตรีไทย
                วงดนตรีไทย   ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการบรรเลง   มีความเป็นระเบียบแบบแผน   มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักการประสมวง   มีการพัฒนารูปแบบการบรรเลงเป็นระยะ   ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท  คือ

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%20copy
๑.๑ วงปี่พาทย์
                       วงปี่พาทย์   หมายถึง   วงดนตรีที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก   แบ่งออกเป็น ๓ ขนาด ดังนี้

[/center]

๑.) วงปี่พาทย์เครื่องห้า  วงดนตรีประเภทนี้มีการประสมวงมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี    ประกอบด้วย   ปี่ใน   ระนาดเอก   ฆ้องวงใหญ่   ตะโพน   กลองทัด   และฉิ่ง
ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88


๒.) วงปี่พาทย์เครื่องคู่  วงดนตรีประเภทนี้เกิดการประสมวงครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย   ปี่ใน   ปี่นอก   ระนาดเอก   ระนาดทุ้ม   ฆ้องวงใหญ่   ฆ้องวงเล็ก   ตะโพน   กลองทัด   ฉิ่ง   ฉาบเล็ก   ฉาบใหญ่   กรับ   และโหม่ง
ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88


๓.) วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่   วงดนตรีประเภทนี้เกิดการประสมวงครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย   ปี่ใน   ปี่นอก   ระนาดเอก   ระนาดทุ้ม   ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก   ฆ้องวงใหญ่   ฆ้องวงเล็ก   ตะโพน   กลองทัด   ฉิ่ง   ฉาบเล็ก   ฉาบใหญ่   กรับ   และโหม่ง

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88

๑.๒ วงเครื่องสายไทย
                       วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทที่มีสายเป็นหลัก   ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆที่ประสมในวงเครื่องสาย   นิยมใช้เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงที่มีความกลมกลืนสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆในวง   แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด    ดังนี้

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7

๑.) วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยวหรือวงเครื่องสายวงเล็ก   เครื่องดนตรีประกอบด้วยซอด้วง ๑ คัน   ซออู้ ๑ คัน   จะเข้ ๑ ตัว   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่  และฉาบเล็ก ๑ คู่

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88

๒.) วงเครื่องสายเครื่องคู่   เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอด้วง ๒ คัน   ซออู้ ๒ คัน   จะเข้ ๒ ตัว   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่   ฉาบเล็ก ๑ คู่   กรับ ๑ คู่   และโหม่ง ๑ ใบ

 

๑.๓  วงมโหรี
        วงมโหรีเป็นวงที่มีเครื่องดนตรีประสมวงครบทุกกลุ่ม   คือ   เครื่องดีด   สี   ตี   และเป่า   ลักษณะเด่นของวง  
ดนตรีประเภทนี้ คือ ความกลมกลืนของระบบเสียงที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ถูกย่อสัดส่วน   สำหรับฆ้องวงที่ประสมในวงดนตรีประเภทนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าฆ้องมโหรี   การปรับลดขนาดเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเพราะต้องการให้ระบบเสียงมีความดังที่เข้ากันได้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย   วงมโหรีมีการประสมวงและถือเป็นแบบแผนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจำแนกออกเป็น ๓ ขนาด  ดังนี้



๑.) วงมโหรีเครื่องเดี่ยว   เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอสามสาย ๑ คัน   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ระนาดเอก ๑ รางฆ้องวงใหญ่ ๑ วง   จะเข้ ๑ ตัว   ซอด้วง ๑ คัน   ซออู้ ๑ คัน   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88
๒.) วงมโหรีเครื่องคู่   เครื่องดนตรีประกอบด้วยซอสามสาย ๑ คัน   ซอสามสายหลีบ ๑ คัน   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา   ระนาดเอก ๑ ราง   ระนาดทุ้ม ๑ ราง   ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง   ฆ้องวงเล็ก ๑ วง   จะเข้ ๒ ตัว   ซอด้วง ๒ คัน   ซออู้ ๒ คัน   โทน-รำมะนา๑สำรับ  ฉิ่ง๑คู่  ฉาบเล็ก๑คู่  กรับ๑คู่  โหม่ง๑ใบ
ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 %E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88

๓.) วงมโหรีเครื่องใหญ่   เครื่องดนตรีประกอบด้วยซอสามสาย ๑ คัน   ซอสามสายหลีบ ๑ คัน   ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา   ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา   ระนาดเอกมโหรี ๑ ราง   ระนาดทุ้มมโหรี ๑ ราง   ระนาดเอกเหล็กมโหรี ๑ ราง   ระนาดทุ้มเหล็กมโหรี ๑ ราง   ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง   ฆ้องวงเล็ก ๑ วง   จะเข้ ๒ ตัว   ซอด้วง ๒ คัน   ซออู้ ๒ คัน   โทน-รำมะนา ๑ สำรับ   ฉิ่ง ๑ คู่   ฉาบเล็ก ๑ คู่   กรับ ๑ คู่   โหม่ง ๑ ใบ
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3   ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3 Icon_minitimeTue Jun 21, 2016 2:56 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานเรื่องประเภทของดนตรีไทย โดยนางสาวอัจฉรา ชัยพล เลขที่3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/7 :: ส่งงานครั้งที่ 3-
ไปที่: