Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
wiriya klinbuppha

wiriya klinbuppha


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 15/06/2016

ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23   ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 5:24 pm

เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรี ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย โดยนิยมแบ่งตามอากัปกิริยา ของการบรรเลง เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

เครื่องดนตรีหลัก ๆ ได้แก่ ปี่ ซอ ซออู้ ซอด้วง ระนาด ฆ้อง จะเข้ ฉิ่ง ฉาบ กลองยาว โหม่ง และ กรับระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน ระนาดเอกใช้ในงานมงคล เป็นเครื่องดนตรีเป็นมงคลในบ้าน บรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงส่วนประกอบของระนาดเอก มี 3 ส่วน ได้แก่ ผืน ราง และไม้ตี

ผืน ประกอบด้วยลูกระนาด ซึ่งทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้ไผ่ ผืนระนาดไม้เนื้อนุ่ม เสียงจะหอม อิ่ม และดังคมชัดเหมาะสำหรับบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ส่วนผืนระนาดที่ทำจากไม้ไผ่จะให้เสียงที่นุ่มนวล เหมาะสำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมและวงปี่พาทย์ผสมเครื่องสาย ลูกระนาดมีทั้งหมด 23-22 ลูก โดยลูกที่ 22 มีชื่อเรียกว่า ลูกหลีก หรือ ลูกหลิบ ที่ท้องของลูกระนาดจะคว้านและใช้ขี้ผึ้งผสมกับตะกั่วถ่วงเพื่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างเสียง โดยเสียงจากผืนระนาดขึ้นอยู่กับส่วนประกอบ 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนแรก ขึ้นอยู่กับขนาดใหญ่-เล็ก ของไม้ที่ใช้ทำ ส่วนที่สอง ขึ้นอยู่กับการคว้านท้องไม้ลูกระนาดว่ามาก-น้อยเพียงใด ส่วนที่สามขึ้นกับปริมาณมาก-น้อยของตะกั่วที่ถ่วงใต้ลูกระนาดแต่ละลูก ลูกระนาดทั้งหมดจะถูกเจาะรูเพื่อร้อยเชือก และแขวนบนรางระนาด

ราง เป็นส่วนที่เป็นกล่องเสียงของระนาด ทำให้หน้าที่อุ้มเสียง นิยมทำด้วยไม้สักและทาด้วยน้ำมันขัดเงา ปัจจุบันการใช้ระนาดที่ทำด้วยไม้และทาด้วยน้ำมันลดความนิยมลง นักดนตรีนิยมใช้รางระนาดที่แกะสลักลวดลายไทยและลงรักปิดทองเพื่อความสวยงาม บางโอกาส อาจมีการฝังมุก ประกอบงา ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย จากการรณรงค์พิทักษ์สัตว์ป่าที่มีอยู่ทั่วไป รางประกอบงาจึงไม่ได้รับความนิยม รูปร่างระนาดเอกคล้ายเรือบดแต่โค้งเรียวกว่า ตรงกลางของส่วนโค้งมีเท้าที่ใช้สำหรับตั้ง เป็นเท้าเดียวคล้ายพานแว่นฟ้า ปลายทั้งสองข้างของส่วนโค้งเรียกว่า โขน จะมีขอสำหรับห้อยผืนระนาดข้างละ 2 อัน

ไม้ระนาด เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้เกิดเสียงโดยตรง มี 2 ชนิด คือ ไม้แข็ง และไม้นวม ไม้แข็งพันด้วยผ้าอย่างแน่น และชุมด้วยรักจนเกิดความแข็งเวลาตีจะมีเสียงดัง และคมชัด เหมาะกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์นางหงส์ ส่วนไม้นวม เป็นไม้ตีระนาดที่พันจากผ้า และใช้ด้ายรัดหลาย ๆ รอบเพื่อความสวยงาม มีเสียงนุ่มนวม บรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงมโหรี วงปี่พาทย์ผสมเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ขนาดของระนาดเอก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด
การฝึกหัดบรรเลง
ท่านั่ง

ท่านั่งที่นิยมในการบรรเลงระนาดเอกมี 2 ลักษณะ คือ การนั่งขัดสมาธิ และนั่งพับเพียบ โดยท่านั่งแบบขัดสมาธิถือเป็นท่านั่งที่เหมาะสมสำหรับการบรรเลงระนาดเอกมากที่สุด เพราะเป็นท่านั่งที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความสะดวก ผ่อนคลาย ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบรรเลงได้ดีที่สุด
การจับไม้

ให้ก้านของไม้ระนาดอยู่ในร่องของอุ้งมือ นิ้วทุกนิ้วช่วยควบคุมการจับไม้ มือทั้งสองคว่ำลง ข้อศอกทำมุมฉาก ตำแหน่งแขนซ้ายและขวาขนานกัน ตำแหน่งของนิ้วอาจแตกต่างกันบ้าง แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
การจับแบบปากกา

ตำแหน่งของนิ้วชี้อยู่บนไม้ระนาด การเริ่มฝึกหัดระนาดเอกควรฝึกหัดโดยลักษณะนี้ ซึ่งนอกจากมีความงดงามแล้วยังมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการสร้างเสียง ====การจัตำแหน่งของนิ้วชี้จะตกไปอยู่ด้านตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือ ก้านของไม้ระนาดอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างปลายนิ้วกับข้อบนของนิ้
การจับแบบปากนกแก้ว

ตำแหน่งของก้านไม้ระนาดอยู่ในตำแหน่งเส้นข้อนิ้วของข้อบน
ตำแหน่งของเสียง

เมื่อเปรียบเทียบระนาดเอกกับเครื่องดนตรีไทยชนิดอื่น ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงมากที่สุด โดยมีจำนวน 21-22 ระดับเสียง ความที่มีจำนวนระดับเสียงถึง 22 เสียง ทำให้มีความกว้างของระดับเสียงครอบคลุมถึง 3 ช่วงทบเสียง ส่งผลให้การเดินทำนองของเสียงเป็นไปอย่างไม่ซ้ำซากจำเจอยู่ที่ช่วงระดับเสียงใดเสียงหนึ่ง
หลักการตีระนาด

ต้อง(ตีระนาด)ครับ
หลักปฏิบัติทั่วไป

1. ตีตรงกลางลูกระนาด

2. การเคลื่อนของมือ โดยที่มือซ้ายและมือขวาต้องอยู่ในแนวขนานกัน ตำแหน่งของหัวไม้อยู่กึ่งกลางลูกระนาด และเอียงตามทิศทางของผืนระนาด

3. การยกไม้ เสียงของระนาดเอกจะดังมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพลังในการตี ควรยกไม้ระนาดให้สูงจากผืนระนาดประมาณ 6 นิ้วสำหรับตีฉาก และ 2 นิ้วสำหรับตีสิม

4. น้ำหนักมือ ต้องลงน้ำหนักของมือซ้ายและมือขวาให้เท่ากัน
ลักษณะการตีระนาด

1.ตีฉาก

2.ตีสิม

3.ตีครึ่งข้อครึ่งแขน

4.ตีข้อำ
วิธีการตีระนาด

1.ตีกรอ

2.ตีสะบัด

3.ตีรัว

4.ตีกวาด

5.ตีขยี้

6.ตีคาบลูกคาบดอก

7.ตี
นักระนาดเอกที่มีชื่อเสียง

1. พระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร)

2. ครูช้อย สุนทรวาทิน

3. ครูสิน สินธุสาคร

4. ครูสิน ศิลปบรรเลง

5. พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)

6. พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

7. หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

8. พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)

9. หลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์)

10. จางวางสวน ชิดท้วม

11. ก่กุศล บุญเฟื่อง
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23   ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 8:05 pm

เพิ่มรูปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพิ่มเติม...แก้ไขหัวข้อส่งงาน
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานดนตรีไทย นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่ 23
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงดนตรีไทย โดยนางสาวภัทราภรณ์ เสนคำสอน เลขที่ 6
» ส่งงานครั้งที่2 นางสาววิริยา กลิ่นบุปผา เลขที่23
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงโหรี นางสาวสุวิมล กำไมล์ ม.4/2 เลขที่ 39
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง ประเภทวงดนตรีไทย โดยนางสาวกัญญารัตน์ โสภา เลขที่ 11
» ส่งงานดนตรีไทย เรื่อง วงเครื่องสายไทย โดยนางสาวน้ำฝน ประพาน เลขที่ 3

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/2 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: