Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1   ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 2:22 pm



เพลง : ลาวคำหอม
ประพันธ์โดย พระยาประสานดุริยศัพท์ 


ยามเมื่อลม พัดหวน 
ลมก็อวล แต่กลิ่นมณฑาทอง
ไม้....เอย ไม้สุดสูง 
อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง...
แต่ยิน...เอย นามดวงเอย

โอ้เจ้าดวง 
เจ้าดวง..ดอกโกมล 
กลิ่นหอม เพิ่งผุดพ้น 
พุ่มในสวน ดุสิตา
แข่งแข อยู่แต่ นภา 
ฝูงภุมรา สุดปัญญาเรียมเอย

โอ้อกคิดถึง 
คิดถึงคะนึงนอนวัน 
นอนให้ ใฝ่ฝันเห็นจันทร์แจ่มฟ้า

โอ้อกคิดถึง 
คิดถึงคะนึงนอนวัน 
นอนให้ ใฝ่ฝันเห็นจันทร์แจ่มฟ้า

ทรงกลดสวยสดโสภา 
แสงทองส่องหล้า 
ขวัญตาเรียมเอย.

 
ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 P2327


คีตพจน์ อรรถาธิบายถึง ประวัติเพลงลาวคำหอมไว้ความว่า

เพลงลาวคำหอม เป็นเพลงที่แต่ขึ้นเพื่อร้องอวดกันในการเล่นสักวา โดยจะแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่มีเพลงใดเป็นสมุฏฐาน โดยเพลงเหล่านี้จะมีทำนองที่แต่ขึ้นอย่างไพเราะคมคาย เพลงลาวคำหอมเป็นเพลงที่ จ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า "จ่าโคม" นักร้องและนักแต่งเพลงสักวามีชื่อผู้หนึ่งแต่งขึ้นโดยอัตโนมัติทั้งบทร้องและทำนองเพลง เพลงลาวคำหอมนี้ แม้จะมีประโยคคล้ายและลีลาเป็นอัตรา 2 ชั้นก็จริง แต่ก็มีความยาวไล่เลี่ยกับเพลงอัตรา 3 ชั้นบางเพลง และมีทำนองไพเราะน่าฟังมากจนเป็นที่นิยมแพร่หลายเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรีโดยทั่วไป เมื่อทำนองเพลงลาวคำหอมได้รับความนิยมเข้ามาในวงการร้องส่งดนตรี พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จึงแต่งทำนองดนตรีขึ้นสำหรับบรรเลงรับร้อง โดยถอดจากทำนองร้องของจ่าเผ่นผยองยิ่งอีกชั้นหนึ่ง และก็ได้รับความนิยมแพร่หลายในวงการดนตรีทุกชนิดจนปัจจุบัน (1)




เนื้อเพลงลาวคำหอม กวีได้กล่าวถึง "ไม้....เอย ไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง" และไม้สุดสูง นี้มีดอก "พุ่มในสวน ดุสิตา" ทว่า ในสวรรค์ชั้นดุสิตา(สวรรค์ชั้นที่ 4) ไม่ปรากฎว่ามีต้นไม้สวรรค์ ดอกไม้สรรค์มีกล่าวไว้ในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์/ไตรตรึงษ์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) ความว่า

นอกเมืองดาวดึงส์ออกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ปุณฑริกวัน มีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน กลางสวนมีไม้ทองหลางใหญ่ต้นหนึ่ง เป็นไม้ทิพย์ชื่อว่า ปาริชาต ต้นปาริชาต นี้ จะมีดอกบานครั้งหนึ่ง ต่อเมื่อครบหนึ่งร้อยปี พูดง่าย ๆ ว่าร้อยปี จะดอกบานครั้งหนึ่งและขณะที่ดอกปาริชาตนี้บาน จะมีรัศมีเรืองไปไกลถึงแปดแสนวา และเมื่อลมพัดไปทางทิศใดย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไปทิศนั้นไกลแสนไกล กลิ่นหอมนั้นจะตลบอบอวลอยู่ทั่วบริเวณสวรรค์ชั้นนี้นานเท่านาน กล่าวกันว่า ยามที่ดอกปาริชาตนี้บาน จะมีเหล่าเทพบุตรเทพธิดา มาเล่นสนุกสนานใต้ต้นปาริชาตนี้เป็นจำนวนมากและกลิ่นปาริชาต ที่โชยโรยรินมาต้องเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด จะช่วยทำให้เทพบุตรเทพธิดาองค์นั้น ระลึกชาติได้อย่างอัศจรรย์ และหากเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด ต้องการดอกปาริชาตมาทัดหูบ้าง เพียงแต่เข้าไปภายใต้ต้นและยื่นมือออกไป ดอกปาริชาตก็จะลงมาถึงมือเอง ราวกับรู้ใจของเขา แต่ถ้าเขายังรับไม่ทัน ดอกไม้ก็จะลอยอยู่บนอากาศ อยู่มิให้ตกถึงพื้นจนกว่าจะมีเทวดาผู้ต้องการยื่นมือมารับ 

ณ ใต้ร่มปาริชาตินี้เอง มีแท่นศิลาอันหนึ่งชื่อว่า บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีสีแดงดังดอกชบา และอ่อนนุ่มดังฟูกทิพย์ ขณะที่พระอินทร์นั่ง แผ่นศิลานี้จะอ่อนยุบลงและเมื่อพระองค์ลุกขึ้น แท่นศิลาก็จะคืนเต็มตามเดิมแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นแท่นที่มีชื่อเสียงชาวโลกรู้จักกันดี เพราะเวลามีเหตุเดือดร้อนในเมืองมนุษย์ แท่นนี้ขณะที่พระอินทร์นั่ง จะไม่อ่อนยุบลงเหมือนปกติ แต่จะแข็งกระด้างดังศิลา หรือร้อนระอุ ราวกับถูกเผาด้วยไฟ เป็นเครื่องหมายว่ามีเรื่องร้ายกับผู้มีบุญใน เมืองมนุษย์พระอินทร์ต้องลงมาช่วย 

ห่างจากต้นปาริชาตไม่เท่าใดนัก มีศาลาใหญ่หลังหนึ่งตั้งตระหง่านงดงามที่สุด นามว่า ศาลาสุธรรมมาเทวสถาน มีอาณาบริเวณกล้างขวางใหญ่โตมาก พื้นศาลาทำด้วยแก้วผลึก และประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ล้อมรอบ ด้วยกำแพงทองอันล้ำค่า ที่ศาลาสุธรรมานี้ มีดอกไม้สวรรค์ชนิดหนึ่งชื่อว่า อสาพตี เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจยิ่งกว่าดอกปาริชาต และนานหนักหนากว่าจะบานสักครั้ง กล่าวกันว่าต้องใช้เวลาเป็นพันปี จึงจะบานครั้งหนึ่ง ขณะที่ใกล้จะบานเทวดาทั้งหลายจะมาเปลี่ยนเวรกันเฝ้า รอการบานของดอกไม้สวรรค์นี้ (2)

 

คำว่า นอนวัน นี้ไม่ได้หมายถึง นอนกลางวัน ฝันกลางวันแต่อย่างใด นอนวัน พจนานุกรม ฉบับมานิต มานิตเจริญ พิมพ์ครั้งที่ 9 หน้า 479 ให้ความหมายไว้ความว่า

นอนวัน เป็นคำกริยา (ลูกข่าง) หมุนตรงสนิทอยู่กับที่ 
vi. (of a top or a gyro) to spin smoothly as if stopping still (3)


กริยาที่เรียก ลูกข่างนอนวัน ซึ่งเพี้ยนมาจาก ลูกข่างนอนวน สาเหตุอาจจะเป็นด้วยคำว่า นอน และคำว่า วน เป็นพยัญชนะนาสิกย์ (nasals) ( ม ,น,ญ ,ง) ทั้งคู่ เวลาออกเสียงคำว่า นอนวน จึงอาจเกิดการกลมกลืนเสียง (Assimilation)เป็น นอนวัน ก็เป็นได้ (เดานะ ..หาตำราไม่เจอ เขียนจากความทรงจำ...ฮา) 

สาเหตุที่ผู้เขียนติดใจคำว่า นอนวัน เพราะเนื้อเพลงลาวคำหอมพูดถึง



ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 0



โอ้เจ้าดวง 
เจ้าดวง..ดอกโกมล 
กลิ่นหอม เพิ่งผุดพ้น 
พุ่มในสวน ดุสิตา
แข่งแข อยู่แต่ นภา 
ฝูงภุมรา สุดปัญญาเรียมเอย

โอ้อกคิดถึง 
คิดถึงคะนึงนอนวัน 
นอนให้ ใฝ่ฝันเห็นจันทร์แจ่มฟ้า


บริบทของเนื้อเพลงลาวคำหอม นี้ กล่าวถึงช่วงเวลากลางคืน เพราะกล่าวอ้างถึงพระจันทร์ แต่เป็นไปได้ว่า บริบทของเพลงจะเป็น คืนข้างแรม (ไร้จันทร์) แต่พี่ก็จะขอ "นอนให้ ใฝ่ฝันเห็นจันทร์แจ่มฟ้า" นั่นเอง 

แต่ถ้าแปลตามบริบทของเพลงลาวคำหอมว่า พี่นอนฝันกลางวัน (นอนวัน) ฝันเห็นพระจันทร์ เห็นดอกไม้สวรรค์ ก็ดูจะตื้นเขินไปสักหน่อย ทั้งยังเป็นการปรักปรำท่านท่านเจ้าคุณฯ ผู้ประพันธ์เพลงลาวคำหอมว่า เป็นคนเกียจคร้านชอบนอนกลางวัน ไม่ปฏิบัติราชการ ผู้ประพันธ์เพลง เป็นถึง พระยาประสานดุริยศัพท์ คงจะต้องมีภารกิจที่จะต้องทำมากมาย เป็นแน่ เพลงลาวคำหอมท่อนที่ว่า "โอ้อกคิดถึง คิดถึงคะนึงนอนวัน" จึงควรหมายถึง การนอนคิดถึงนางผู้เป็นที่รัก โดยนอนนิ่งสนิทไม่ขยับไปไหน ทั้งยังนอนได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน อีกด้วย

สำหรับส่วนความเชื่อเรื่อง ดอกไม้สวรรค์ นี้มีปรากฎอยู่ในโคลงโลกนิติ ความว่า



อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า       มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม            อกไข้
เด็ดแต่ดอกพยอม           ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้             อาจเอื้อมเอาถึง



โคลงโลกนิติ บทนี้ สอนให้รู้จักประมาณตน การใฝ่ฝัน หรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (หมายปองดอกฟ้า) ย่อมจะต้องพบกับความผิดหวังเจ็บปวด (อกไข้/เป็นไข้ใจ : กินยาอะไรถึงจะหายหนอ) ซึ่งตรงกับสำนวน ดอกฟ้ากับหมาวัด หรือ กระต่ายหมายจันทร์ นั่นเอง



พอพูดถึงเรื่องกระต่ายหมายจันทร์ ผู้เขียนนึกถึงตำนานศรีปราชญ์ แม้นว่านักวิชาการบางท่านจะเชื่อว่า ศรีปราชญ์ไม่มีตัวตน ทว่า โคลงปฏิพากษ์ ที่ ศรีปราชญ์ แต่งโต้กับ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีปรากฎ เด่นชัดอยู่ (ซึ่งอาจมิใช่ศรีปราชญ์แต่ง) ความว่า



(ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บริภาษศรีปราชญ์)
ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 263px-%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C_(%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%A1)



หะหาย!! กระต่ายเต้น        ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน                ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน              ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย              ต่ำเตี้ยเดียรฉาน



หะเห้ย..ไอ้กระต่ายหมายจันทร์
ไม่เจียมตัวว่าต่ำต้อย
ไอ้นกยูง อยากเหยียบเมฆ
ไอ้สัตว์เดียรฉาน ไม่เจียมตัว


(ศรีปราชญ์ ตอบ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์)

หะหาย!! กระต่ายเต้น        ชมแข
สูงส่งสุดตาแล                  สู่ฟ้า
ฤดูฤดีแด                        สัตว์สู่ กันนา
อย่าว่าเราเจ้าข้า              อยู่พื้นดินเดียว

หะเห้ย!! ถึงกระต่าย จะหมายจันทร์
อันอยู่สูงสุดสายตา บนฟากฟ้า
แต่เป็นเพราะว่ามันถึงฤดู ของสัตว์อย่างกระต่ายที่จะมีฤดี ผสมพันธ์(สมสู่)กัน กระมังหนา
อย่ามา แกล้งบริภาษกันเลย อยู่บนดินเดียวกัน ไม่มีใครอยู่บนฟ้าดอกสักหน่อย...ฉะนั้นมีสิทธิ์ผสมพันธุ์กันได้??? ฮา....

โคลงบทนี้ล่ะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ศรีปราชญ์ถูกเนรเทศไปเมืองนครศรีธรรมราช ในที่สุด จุดจบศรีปราชญ์เป็นเช่นใดท่านผู้อ่านคงจะทราบ...


ด้วยเหตุนี้โบราณราชกวี ท่านจึงสอนไว้ในโคลงโลกนิติว่า เมื่อถึง ยามยาก(จน) ก็ให้ เด็ดแต่ ดอกพยอม (หญิงที่มีฐานะเท่าเทียมกัน) มาเชยชม เพราะถึงแม้นว่า ดอกพยอมนี้ จะอยู่สูงก็ยังอาจจะหาไม้ยาวๆ สอยเอาได้ (เอ ถ้าเรายังอยากที่จะเด็ดดอกฟ้า เช่นนั้นเราควรที่จะตั้งหน้าตั้งตาทำบุญทำกุศล เพื่อว่าจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เช่นนี้แล้วจึงจะสามารถเด็ดดอกปาริชาต และดอกอสาพตี มาเชยชมได้ ดีจริงๆ ฮา..แต่ต้องรอชาติหน้า..ตายแล้วเกิดใหม่?? ไม่สิ สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ใจ )

 
 

สรุปสาระที่ได้จากเพลงลาวคำหอม

1.เพลงลาวคำหอม กล่าวอ้างอิงถึงดอกไม้สวรรค์ว่าอยู่สวรรค์ชั้น ดุสิต แต่ในข้อเท็จจริง ดอกไม้สวรรค์ควรอยู่ในชั้น ดาวดึงส์ ดอกไม้สรรค์นั้นได้แก่ ดอกปาริชาต และดอกอสาพตี 

2. เพลงลาวคำหอมนี้ทำให้เราได้ อุทธาหรณ์ที่ว่า อย่าเด็กดอกไม้ในสวนเพราะจะถูกตำรวจับ ฮา.. (ผิดจุดๆ) การหมายปองดอกฟ้า จะทำให้เป็ไข้ใจ สำหรับชุดความคิดที่ปรากฎในเพลงลาวคำหอมนี้ คงได้รับอิทธิพลมาจากโคลงโลกนิติบทดังกล่าว หรือไม่ก็เป็นประสบการณ์ตรง (Direct Experience) ของท่านเจ้าคุณเอง... 

3. คำว่า นอนวัน หมายถึงนอนนิ่งสนิทอยู่กับที่  

4. คิดเอาเอง....



แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Wed Jun 15, 2016 2:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1   ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์  จบศรี เลขที่ 1 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 2:22 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1
» ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1
» ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย ด.ช.กิตติพัชญ์ สิรไชยพัฒน์ เลขที่ 1
» ส่งงาน เรื่อง ประวัติดนตรีไทย โดย นายชันรัตน์ จบศรี เลขที่ 1
»  เรื่อง: ส่งงาน เรื่อง เพลงไทยเดิม โดย เด็กชายเมธีกร บุญไพโรจน์ เลขที่ 8

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิขา ศ23102 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.3/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: