Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
ladawan thanwima

ladawan thanwima


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 12/06/2016

ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33   ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 Icon_minitimeTue Jun 14, 2016 5:42 pm

วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตี เป็นหลักโดยมีเครื่องเป่าคือขลุ่ยหรือปี่ร่วมอยู่ด้วย ใช้สำหรับเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงโขน – ละคร ฟ้อนรำ และมีการผสมวงตามโอกาสที่ใช้ทำให้จำนวนของเครื่องดนตรีมีน้อยมากแตกต่างกันไป ดังนี้
๑. วงปี่พาทย์ชาตรี

วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่บรรเลงประกอบการแสดงโนรา หนังตลุง และละครชาตรีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ปี่นอก, ๒.โทน ๑ คู่, ๓.กลองชาตรี ๑ คู่, ๔.ฆ้องคู่ ๑ ราง, ๕.กรับ, ๖.ฉิ่ง


ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 Ta1mqq

๒.วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

วงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นวงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงและประ โคมทั่วไปมี ๓ ขนาดคือ

วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ตะโพน, ๕.กลองทัด, ๖.ฉิ่ง

วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗.ตะโพน, ๘.กลองทัด, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองทัด, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่ วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้วเสียงจะกร้าวแกร็ง แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย

การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของ
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๑ เสียง

วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง

๔. วงปี่พาทย์เสภา
มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่นำตะโพน – กลองทัดออก ใช้กลองสองหน้าแทน แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้ วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒

วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑. ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.กลองสองหน้า/กลองแขก, ๕.ฉิ่ง

ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 2rrwkmv


วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗. กลองสองหน้า / กลองแขก, ๘.ฉิ่ง, ๙.ฉาบ, ๑๐.กรับ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.กลองสองหน้า / กลองแขก, ๑๐.ฉิ่ง, ๑๑.ฉาบ, ๑๒.กรับ, ๑๓.โหม่ง

ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 2m4zjgm




๕. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น 1 เลา ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และเพิ่มซออู้ กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย สัญญลักษณ์ที่โดดเด่น เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), ๒. ระนาดทุ้มไม้, ๓.ระนาดทุ้มเหล็ก ,๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ขลุ่ยอู้, ๗. ซออู้, ๘.ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง, ๙. ตะโพน, ๑๐.กลองตะโพน, ๑๑.กลองแขก, ๑๒.ฉิ่ง, ๑๓.กรับพวง

ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33 13z34if




๖. วงปี่พาทย์นางหงส์

เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ) มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายู ๑ คู่ เข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี้

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ชวา,๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ฆ้องวงเล็ก, ๕กลองมลายู, ๖.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑. ปี่ชวา๒. ระนาดเอก ๓ ระนาดทุ้ม ๔. ฆ้องวงใหญ่ ๕. ฆ้องวงเล็ก ๖.กลองมลายู ๗. ฉาบเล็ก ๘. ฉิ่ง ๙. โหม่ง ๑๐.ฉาบใหญ่
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ชวา, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้ม, ๔.ระนาดเอกเหล็ก, ๕.ระนาดทุ้มหล็ก, ๖.ฆ้องวงใหญ่, ๗.ฆ้องวงเล็ก, ๘.กลองมลายู, ๙.ฉาบเล็ก, ๑๐.ฉาบใหญ่, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.โหม่ง, ๑๓.ฉาบใหญ่
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงานวงดนตรีไทย โดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่ 33
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่องประเภทดนตรีสากลโดย นางสาวลดาวัลย์ ทันวิมาเลขที่33
» ส่งงานประวัติดนตรีสากลโดยนางสาวลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่33 ม.404
» ส่งงาน โดยนางสาว ลดาวัลย์ ทันวิมา เลขที่33
» ส่งงานเรื่องดนตรีไทยโดยนางสาวสายสุดา คำพูล เลขที่ 18
» ส่งงานเรื่องประเภทของวงดนตรีสากล โดยนางสาวปรีญาภรณ์ นิลดวงดี เลขที่ 11

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/4 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: