Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
thippawan Chansee

thippawan Chansee


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 14/06/2016

ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6   ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 Icon_minitimeTue Jun 14, 2016 2:23 pm


วงมโหรี






     วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆวงมโหรีมี 5 แบบ คือ


1). วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ 



   1.1 ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 1348814055

   1.2 ซอสามสาย

   1.3 กระจับปี่

   1.4 กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)

วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา


ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 2524183_orig





2). วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา






ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 2Q==


3). วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) (ดู ฆ้องมโหรี ประกอบ) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่






ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้

   1. ซอสามสาย 1 คัน ทำหน้าที่คลอเสียงผู้ขับร้อง และบรรเลงดำเนินทำนองร่วมในวง

   2. ซอด้วง 1 คัน ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง หวานบ้าง

   3. ซออู้ 1 คัน ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง

   4. จะเข้ 1 ตัว ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง รัวบ้าง และเว้นห่างบ้าง

   5. ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง

   6. ระนาดเอก 1 ราง ดำเนินทำนองเก็บบ้าง กรอบ้าง ทำหน้าที่เป็นผู้นำวง

   7. ฆ้องวง (เรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) 1 วง ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง

   8. โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก ตีสอดสลับกัน ควบคุมจังหวะหน้าทับ

   9. ฉิ่ง 1 คู่ ควบคุมจังหวะย่อย แบ่งให้รู้จังหวะหนักเบา

ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 Hqdefault



4). วงมโหรีเครื่องคู่ คือ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าในวง ทั้งนี้เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กรวมเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีจึงเพิ่มเครื่องดนตรีดังกล่าวบ้าง นอกจากนั้นยังเพิ่มซอ ด้วงและซออู้ขึ้นเป็นอย่างละ 2 คัน เพิ่มจะเข้เป็น 2 ตัวขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออ จึงเพิ่มขลุ่ยหลีบอีก 1 เลา ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลีบอีก 1 คัน และเพิ่มฉาบเล็กอีก1 คู่ด้วย






ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้

 -ซอสามสาย 1 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ซอสามสายหลีบ 1 คัน บรรเลงร่วมกับเครื่องดำเนินทำนองอื่น ๆ

 -ซอด้วง 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ซออู้ 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -จะเข้ 2 ตัว หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ขลุ่ยหลีบ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง สอดแทรกทำนองเล่นล้อไปทางเสียงสูง

 -ระนาดเอก 1 ราง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ระนาดทุ้ม 1 ราง ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ครึกครื้น

 -ฆ้องวง 1 วง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ฆ้องวงเล็ก 1 วง ดำเนินทำนองเก็บถี่ ๆ บ้าง สะบัดบ้าง สอดแทรกทำนองไปทางเสียงสูง

 -โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ฉิ่ง 1 คู่ หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว

 -ฉาบเล็ก 1 คู่

ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 7467214




ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6   ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6 Icon_minitimeThu Jun 16, 2016 2:35 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานประวัติของวงค์ดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม. 4/1 เฃขที่ 6
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานประวัติดนตรีไทย โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น ม.4/1 เลขที่6
» ส่งงานประเภทของวงดนตรีสากล โดย นางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี ชั้น 4/1 เลขที่ 6
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวทิพวรรณ จันทร์ศรี เลขที่ 6
» ส่งงานเรื่องดนตรีสากล โดยนาวสาวมณีวรรณ มะศรีหา ชั้น ม.4/1 เลขที่ 33
» ส่งงานเรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวภัทรวดี ทองกาย ชั้น ม. 405 เลขที่ 6

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/1 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: