Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Kanyarat namson

Kanyarat namson


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 06/06/2016

ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12   ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12 Icon_minitimeMon Jun 13, 2016 9:06 am



มโหรีเครื่อง ๔
มโหรีเครื่อง ๖
มโหรีเครื่องเดี่ยว
มโหรีเครื่องคู่
มโหรีเครื่องใหญ่

๓ วงมโหรี
วงมโหรี เป็น วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ วงมโหรีแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
๑.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี ๔ ชิ้น คือ
๑.๑ ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
๑.๒ ซอสามสาย
๑.๓ กระจับปี่
๑.๔ กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)
วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศัก



๒.วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา

วงมโหรีเครื่อง ๖

      ในสมัยต่อมา วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงของจะเข้ ก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่
๓. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก


วงมโหรีเครื่องเดี่ยว




* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง)
เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่งในรูป ให้ ซอด้วงเป็นต่ำแหน่งหลัก*


๔ วงมโหรีเครื่องคู่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้นอีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คันเล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่




วงมโหรีเครื่องคู่
*ข้อสังเกต* จำนวนเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันจะมีเป็นคู่ ซอสามสายกับขลุ่ย จะมีคู่ที่มีขนาดเล็กและเสียงจะแหลมกว่า เรียกว่า “หลิบ” เช่นขลุ่ยหลิบ ซอสามสายหลิบ (ปัจจุบัน หาซอชนิดนี้ได้น้อย)



๕. วงมโหรีเครื่องใหญ่
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึงเลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูกระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้ บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลงให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะแก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลย์กับเครื่องดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะดังมากกว่าพวกเครื่องดีดและเครื่องสี


วงมโหรี ใช้ในงานมงคลงานทำบุญบ้าน งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยงรับรอง หรืองานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะนุ่มหู ระดับเสียงอยู่กลางๆ ไม่เสียงดังเกินไป(ได้ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน)เหมาะกับงานที่มีพื้นที่จัดงานกว้างเพราะเครื่องดนตรีมีจำนวนมาก ต้องเลือกชนิดวงมโหรีให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12   ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12 Icon_minitimeWed Jun 15, 2016 4:03 pm

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงาน วงดนตรไทย โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน เรื่องวงดนตรีไทย โดยนางสาวกิตติยาพร แห่งภูเขียว เลขที่ 21
» ส่งงาน ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล โดย นางสาวกัญญารัตน์ นามสร เลขที่ 12
» คีตกวีไทย โดย นางสาวกัญญารตน์ นามสร เลขที่12
» ส่งงาน เรื่องเพลงไทยเดิม โดยเด็กหญิงกนกรดา โคตัดถา เลขที่ 15
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวพิทยารัตน์ ไชยเลิศ เลขที่ 26

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/6 :: ส่งงาน ครั้งที่ 2-
ไปที่: