Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
wimonsiri sutthanang

wimonsiri sutthanang


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 10/06/2016

ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29   ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Icon_minitimeSun Jun 12, 2016 7:08 pm

พระยาประสานดุริยศัพท์
ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 P_prasarn

พระยาประสานดุริยศัพท์



พระยาประสานดุริยศัพท์  มีนามเดิมว่า แปลก  ประสานศัพท์  เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐  ปีวอก ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓  ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่  ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา หลังวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์  เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา (ทองดี) และนางนิ่ม  พระยาประสานดุริยศัพท์  มีน้อง ๔ คน  เรียงตามลำดับถัดจากท่าน  ดังนี้  คือ

๑. ชาย “เปลี่ยน”

๒. ชาย “แย้ม” (พระพิณบรรเลงราช)

๓. หญิง “สุ่น” (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก)

๔. หญิง “นวล” (ภายหลังใช้นามสกุลพงศ์บุปผา)

การศึกษาวิชาสามัญนั้น ท่านมิได้เข้าเรียนที่ใด แต่เรียนที่บ้านตนเองจนอายุได้ ๑๘ ปี สำหรับวิชาดนตรีไทยนั้น ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอกนั้น ได้ศึกษาจริงจังกับครูช้อย  สุนทรวาทิน  ผู้เป็นบิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์  (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูช้อย  สุนทรวาทินนั้น  ท่านรักใคร่ในตัวพระยาประสานดุริยศัพท์มาก  เพราะว่า พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร  มีฝีมือในทางดนตรี  อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการแต่งเพลงด้วย  ดังนั้น ครูช้อย  สุนทรวาทิน  จึงได้พยายามพร่ำสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีเท่าที่มีอยู่ ให้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  ผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่  จนกระทั่งพระยาประสานดุริยศัพท์กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคน หนึ่งของเมืองไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในนาม “ครูแปลก” ได้ดำเนินอาชีพด้วยการเป็นครูดนตรีเรื่อยมา  บ้านของท่านตั้งอยู่หลังตลาดประตูผีติดกับวัดเทพธิดาราม   ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้านายต่างก็มีวงปี่พาทย์มโหรี  และเครื่องสายกันหลายพระองค์  ทั้งนี้เพื่อใช้ในการบรรเลงขับกล่อมในยามว่าง หรือเมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันกัน ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ  เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฏราชกุมาร  พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์จะใคร่มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้นและได้ทูลขอวงปี่พาทย์จากสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระพันปีหลวง) สมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ก็ได้โปรดประทานให้มาหมดทั้งเครื่องดนตรีและนักดนตรี

การที่เจ้านายต่างๆทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้น  นอกจากจะทรงมีไว้เพื่อใช้บรรเลงขับกล่อมยามว่างพระธุระแล้ว  ยังเป็นสิ่งประดับพระบารมีอีกด้วย  ยิ่งกว่านี้เมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันขันแข่งกัน  เจ้านายที่ทรงเป็นเจ้าของวง  จึงต้องหาครูบาอาจารย์ที่ปรีชาสามารถไว้ปรับปรุงวงดนตรีของตนเพื่อมิให้น้อยหน้ากันได้  และวงปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งคนทั่งไปนิยมเรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรมฯ” ก็ได้ครูแปลก  ประสานศัพท์  ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งไว้เป็นครูผู้ฝึกสอนและควบคุม



พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีทั้งฝีมือและสติปัญญา  ท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิด  และที่ถนัดที่สุดได้แก่ ปี่ในและระนาดเอก  ซึ่งเป็นที่ร่ำลือในหมู่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ   ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์นั่นเอง เพื่อเลือกเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะในครั้งนั้น

ในการที่พระยาประสานดุริยศัพท์ได้ไปเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) คุณครูหลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร  กรวาทิน) ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

“เนื่องจากหลวงประดิษฐไพเราะ เป็นผู้ที่มีฝีมือทางระนาดเอกดีอยู่แล้ว ในการที่เจ้าคุณครูไปสอนท่าน สอนเฉพาะเกี่ยวกับไหวพริบ วิธีการในการบรรเลงเป็นส่วนมาก โดยท่านได้ให้หลวง

ประดิษฐไพเราะ ตีเพลงต่างๆให้ฟัง แล้วท่านเจ้าคุณครูก็ตรวจดูว่าลูกใดไม่ดี ท่านก็บอกลูกใหม่ให้แทน เอาของเก่าตรงที่ไม่ดีนั้นออก”

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้น

หายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ถ้าจะกล่าวแล้ว  ก็ได้แก่นักดนตรีทั้งหลายที่รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงนั้นเอง  ซึ่งได้แก่ พระประดับดุริยกิจ (แหยม  วีณิน)  พระเพลงไพเราะ (โสม  สุวาทิต)  หลวงประดิษฐไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  หลวงบรรเลงเลิศเลอ  (กร  กรวาทิน)   ตราโมทและครูเฉลิม  บัวทั่ง  เป็นต้น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูมนตรี

พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่

ประเภทเพลงเถา เช่น

เพลงเขมรปากท่อ เถา
เพลงประพาสเภตรา เถา
เพลงอาถรรพ์ เถา
เพลงสามไม้ใน เถา
ประเภทเพลงสามชั้น เช่น

เพลงเขมรใหญ่
เพลงดอกไม้ไทร
เพลงถอนสมอ
เพลงทองย่อน
เพลงเทพรัญจวน
เพลงนารายณ์แปลงรูป
เพลงคุณลุงคุณป้า
เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์
เพลงธรณีร้องไห้
เพลงแขกเห่
เพลงอนงค์สุชาดา
เพลงย่องหงิด
เพลงเขมรราชบุรี
เพลงพม่าห้าท่อ


ประเภทเพลงสองชั้น เช่น

เพลงลาวคำหอม

เพลงลาวดำเนินทราย


ชีวิตครอบครัวของพระยาประสานดุริยศัพท์

ท่านได้แต่งงานกับนางสาวพยอม  ชาวจังหวัดราชบุรี  มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๑ คน  แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก ๖ คน  จึงเหลืออยู่ ๕ คน  เรียงตามลำดับจากคนโตลงมาดังนี้

๑.หญิง   มณี  ประสานศัพท์ (มณี  สมบัติ)

๒.หญิง  เสงี่ยม  ประสานศัพท์ (นางตรวจนภา  พวงดอกไม้)

๓.หญิง  ประยูร  ประสานศัพท์

๔.ชาย    ปลั่ง  ประสานศัพท์ (ขุนบรรจงทุ้มเลิศ)

๕.หญิง  ทองอยู่  ประสานศัพท์  (นางอินทรรัตนากร  อินทรรัตน์)

ปัจจุบันนี้ ยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คน  คือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศและนางอินทรรัตนากร

ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง  ประสานศัพท์)  เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการดนตรีจากท่านบิดาได้มาก ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ  กับทั้งเป็นผู้ที่มีความจำดี  ในเวลาต่อมาก็ได้รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงด้วย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตราชการ  เป็นบุคคลที่มีเกียรติยศชื่อเสียง  มีตำแหน่งสูง  ได้เป็นถึงพระยาและเป็นถึงเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง  ในรัชกาลที่ ๖  แม้กระนั้นก็ตาม  ฐานะทางครอบครัวของท่านใช่ว่าจะร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็หาไม่  แต่อยู่ในระดับพอมีพอกินและค่อนข้างยากจนมากกว่า

เนื่องจากพระยาประสานดุริยศัพท์  ท่านต้องตรากตรำทำงานในหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่  ประกอบกับอายุของท่านก็มากขึ้น  ท่านจึงล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา  เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๖๗  สิริรวมอายุ ๖๕ ปี



เรียบเรียงจาก



๑.บทความเรื่องพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)

๒.สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒

๓. ดนตรีวิจักษ์ โดย นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล
พระยาประสานดุริยศัพท์  มีนามเดิมว่า แปลก  ประสานศัพท์  เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐  ปีวอก ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓  ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่  ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา หลังวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์  เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา (ทองดี) และนางนิ่ม  พระยาประสานดุริยศัพท์  มีน้อง ๔ คน  เรียงตามลำดับถัดจากท่าน  ดังนี้  คือ

๑. ชาย “เปลี่ยน”

๒. ชาย “แย้ม” (พระพิณบรรเลงราช)

๓. หญิง “สุ่น” (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก)

๔. หญิง “นวล” (ภายหลังใช้นามสกุลพงศ์บุปผา)

การศึกษาวิชาสามัญนั้น ท่านมิได้เข้าเรียนที่ใด แต่เรียนที่บ้านตนเองจนอายุได้ ๑๘ ปี สำหรับวิชาดนตรีไทยนั้น ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอกนั้น ได้ศึกษาจริงจังกับครูช้อย  สุนทรวาทิน  ผู้เป็นบิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์  (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูช้อย  สุนทรวาทินนั้น  ท่านรักใคร่ในตัวพระยาประสานดุริยศัพท์มาก  เพราะว่า พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร  มีฝีมือในทางดนตรี  อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการแต่งเพลงด้วย  ดังนั้น ครูช้อย  สุนทรวาทิน  จึงได้พยายามพร่ำสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีเท่าที่มีอยู่ ให้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  ผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่  จนกระทั่งพระยาประสานดุริยศัพท์กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคน หนึ่งของเมืองไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในนาม “ครูแปลก” ได้ดำเนินอาชีพด้วยการเป็นครูดนตรีเรื่อยมา  บ้านของท่านตั้งอยู่หลังตลาดประตูผีติดกับวัดเทพธิดาราม   ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้านายต่างก็มีวงปี่พาทย์มโหรี  และเครื่องสายกันหลายพระองค์  ทั้งนี้เพื่อใช้ในการบรรเลงขับกล่อมในยามว่าง หรือเมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันกัน ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ  เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฏราชกุมาร  พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์จะใคร่มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้นและได้ทูลขอวงปี่พาทย์จากสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระพันปีหลวง) สมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ก็ได้โปรดประทานให้มาหมดทั้งเครื่องดนตรีและนักดนตรี

การที่เจ้านายต่างๆทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้น  นอกจากจะทรงมีไว้เพื่อใช้บรรเลงขับกล่อมยามว่างพระธุระแล้ว  ยังเป็นสิ่งประดับพระบารมีอีกด้วย  ยิ่งกว่านี้เมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันขันแข่งกัน  เจ้านายที่ทรงเป็นเจ้าของวง  จึงต้องหาครูบาอาจารย์ที่ปรีชาสามารถไว้ปรับปรุงวงดนตรีของตนเพื่อมิให้น้อยหน้ากันได้  และวงปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งคนทั่งไปนิยมเรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรมฯ” ก็ได้ครูแปลก  ประสานศัพท์  ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งไว้เป็นครูผู้ฝึกสอนและควบคุม



พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีทั้งฝีมือและสติปัญญา  ท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิด  และที่ถนัดที่สุดได้แก่ ปี่ในและระนาดเอก  ซึ่งเป็นที่ร่ำลือในหมู่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ   ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์นั่นเอง เพื่อเลือกเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะในครั้งนั้น

ในการที่พระยาประสานดุริยศัพท์ได้ไปเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) คุณครูหลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร  กรวาทิน) ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

“เนื่องจากหลวงประดิษฐไพเราะ เป็นผู้ที่มีฝีมือทางระนาดเอกดีอยู่แล้ว ในการที่เจ้าคุณครูไปสอนท่าน สอนเฉพาะเกี่ยวกับไหวพริบ วิธีการในการบรรเลงเป็นส่วนมาก โดยท่านได้ให้หลวง

ประดิษฐไพเราะ ตีเพลงต่างๆให้ฟัง แล้วท่านเจ้าคุณครูก็ตรวจดูว่าลูกใดไม่ดี ท่านก็บอกลูกใหม่ให้แทน เอาของเก่าตรงที่ไม่ดีนั้นออก”

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้น

หายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ถ้าจะกล่าวแล้ว  ก็ได้แก่นักดนตรีทั้งหลายที่รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงนั้นเอง  ซึ่งได้แก่ พระประดับดุริยกิจ (แหยม  วีณิน)  พระเพลงไพเราะ (โสม  สุวาทิต)  หลวงประดิษฐไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  หลวงบรรเลงเลิศเลอ  (กร  กรวาทิน)   ตราโมทและครูเฉลิม  บัวทั่ง  เป็นต้น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูมนตรี

พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่

ประเภทเพลงเถา เช่น

เพลงเขมรปากท่อ เถา
เพลงประพาสเภตรา เถา
เพลงอาถรรพ์ เถา
เพลงสามไม้ใน เถา
ประเภทเพลงสามชั้น เช่น

เพลงเขมรใหญ่
เพลงดอกไม้ไทร
เพลงถอนสมอ
เพลงทองย่อน
เพลงเทพรัญจวน
เพลงนารายณ์แปลงรูป
เพลงคุณลุงคุณป้า
เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์
เพลงธรณีร้องไห้
เพลงแขกเห่
เพลงอนงค์สุชาดา
เพลงย่องหงิด
เพลงเขมรราชบุรี
เพลงพม่าห้าท่อ


ประเภทเพลงสองชั้น เช่น

เพลงลาวคำหอม

เพลงลาวดำเนินทราย


ชีวิตครอบครัวของพระยาประสานดุริยศัพท์

ท่านได้แต่งงานกับนางสาวพยอม  ชาวจังหวัดราชบุรี  มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๑ คน  แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก ๖ คน  จึงเหลืออยู่ ๕ คน  เรียงตามลำดับจากคนโตลงมาดังนี้

๑.หญิง   มณี  ประสานศัพท์ (มณี  สมบัติ)

๒.หญิง  เสงี่ยม  ประสานศัพท์ (นางตรวจนภา  พวงดอกไม้)

๓.หญิง  ประยูร  ประสานศัพท์

๔.ชาย    ปลั่ง  ประสานศัพท์ (ขุนบรรจงทุ้มเลิศ)

๕.หญิง  ทองอยู่  ประสานศัพท์  (นางอินทรรัตนากร  อินทรรัตน์)

ปัจจุบันนี้ ยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คน  คือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศและนางอินทรรัตนากร

ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง  ประสานศัพท์)  เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการดนตรีจากท่านบิดาได้มาก ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ  กับทั้งเป็นผู้ที่มีความจำดี  ในเวลาต่อมาก็ได้รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงด้วย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตราชการ  เป็นบุคคลที่มีเกียรติยศชื่อเสียง  มีตำแหน่งสูง  ได้เป็นถึงพระยาและเป็นถึงเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง  ในรัชกาลที่ ๖  แม้กระนั้นก็ตาม  ฐานะทางครอบครัวของท่านใช่ว่าจะร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็หาไม่  แต่อยู่ในระดับพอมีพอกินและค่อนข้างยากจนมากกว่า

เนื่องจากพระยาประสานดุริยศัพท์  ท่านต้องตรากตรำทำงานในหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่  ประกอบกับอายุของท่านก็มากขึ้น  ท่านจึงล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา  เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๖๗  สิริรวมอายุ ๖๕ ปี



เรียบเรียงจาก



๑.บทความเรื่องพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)

๒.สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒

๓. ดนตรีวิจักษ์ โดย นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล

พระยาประสานดุริยศัพท์  มีนามเดิมว่า แปลก  ประสานศัพท์  เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๐  ปีวอก ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๓  ที่บ้านเลขที่ ๘๑ ตรอกไข่  ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา หลังวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์  เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเลขา (ทองดี) และนางนิ่ม  พระยาประสานดุริยศัพท์  มีน้อง ๔ คน  เรียงตามลำดับถัดจากท่าน  ดังนี้  คือ

๑. ชาย “เปลี่ยน”

๒. ชาย “แย้ม” (พระพิณบรรเลงราช)

๓. หญิง “สุ่น” (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก)

๔. หญิง “นวล” (ภายหลังใช้นามสกุลพงศ์บุปผา)

การศึกษาวิชาสามัญนั้น ท่านมิได้เข้าเรียนที่ใด แต่เรียนที่บ้านตนเองจนอายุได้ ๑๘ ปี สำหรับวิชาดนตรีไทยนั้น ได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อื่นๆ รวมทั้งปี่ใน ปี่นอกนั้น ได้ศึกษาจริงจังกับครูช้อย  สุนทรวาทิน  ผู้เป็นบิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์  (แช่ม สุนทรวาทิน) ครูช้อย  สุนทรวาทินนั้น  ท่านรักใคร่ในตัวพระยาประสานดุริยศัพท์มาก  เพราะว่า พระยาประสานดุริยศัพท์ เป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร  มีฝีมือในทางดนตรี  อีกทั้งเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดในการแต่งเพลงด้วย  ดังนั้น ครูช้อย  สุนทรวาทิน  จึงได้พยายามพร่ำสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีเท่าที่มีอยู่ ให้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  ผู้เป็นศิษย์อย่างเต็มที่  จนกระทั่งพระยาประสานดุริยศัพท์กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคน หนึ่งของเมืองไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในนาม “ครูแปลก” ได้ดำเนินอาชีพด้วยการเป็นครูดนตรีเรื่อยมา  บ้านของท่านตั้งอยู่หลังตลาดประตูผีติดกับวัดเทพธิดาราม   ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้านายต่างก็มีวงปี่พาทย์มโหรี  และเครื่องสายกันหลายพระองค์  ทั้งนี้เพื่อใช้ในการบรรเลงขับกล่อมในยามว่าง หรือเมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันกัน ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ  เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฏราชกุมาร  พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์จะใคร่มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้นและได้ทูลขอวงปี่พาทย์จากสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระพันปีหลวง) สมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ก็ได้โปรดประทานให้มาหมดทั้งเครื่องดนตรีและนักดนตรี

การที่เจ้านายต่างๆทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ขึ้น  นอกจากจะทรงมีไว้เพื่อใช้บรรเลงขับกล่อมยามว่างพระธุระแล้ว  ยังเป็นสิ่งประดับพระบารมีอีกด้วย  ยิ่งกว่านี้เมื่อมีงานสำคัญๆก็มักจะนำวงดนตรีมาบรรเลงประชันขันแข่งกัน  เจ้านายที่ทรงเป็นเจ้าของวง  จึงต้องหาครูบาอาจารย์ที่ปรีชาสามารถไว้ปรับปรุงวงดนตรีของตนเพื่อมิให้น้อยหน้ากันได้  และวงปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งคนทั่งไปนิยมเรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรมฯ” ก็ได้ครูแปลก  ประสานศัพท์  ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงยิ่งไว้เป็นครูผู้ฝึกสอนและควบคุม



พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นครูดนตรีที่มีทั้งฝีมือและสติปัญญา  ท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้แทบทุกชนิด  และที่ถนัดที่สุดได้แก่ ปี่ในและระนาดเอก  ซึ่งเป็นที่ร่ำลือในหมู่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญต่างๆ   ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์นั่นเอง เพื่อเลือกเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะในครั้งนั้น

ในการที่พระยาประสานดุริยศัพท์ได้ไปเป็นครูสอนดนตรีให้แก่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) คุณครูหลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร  กรวาทิน) ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

“เนื่องจากหลวงประดิษฐไพเราะ เป็นผู้ที่มีฝีมือทางระนาดเอกดีอยู่แล้ว ในการที่เจ้าคุณครูไปสอนท่าน สอนเฉพาะเกี่ยวกับไหวพริบ วิธีการในการบรรเลงเป็นส่วนมาก โดยท่านได้ให้หลวง

ประดิษฐไพเราะ ตีเพลงต่างๆให้ฟัง แล้วท่านเจ้าคุณครูก็ตรวจดูว่าลูกใดไม่ดี ท่านก็บอกลูกใหม่ให้แทน เอาของเก่าตรงที่ไม่ดีนั้นออก”

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้น

หายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย

พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ถ้าจะกล่าวแล้ว  ก็ได้แก่นักดนตรีทั้งหลายที่รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงนั้นเอง  ซึ่งได้แก่ พระประดับดุริยกิจ (แหยม  วีณิน)  พระเพลงไพเราะ (โสม  สุวาทิต)  หลวงประดิษฐไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  หลวงบรรเลงเลิศเลอ  (กร  กรวาทิน)   ตราโมทและครูเฉลิม  บัวทั่ง  เป็นต้น พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูมนตรี

พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่

ประเภทเพลงเถา เช่น

เพลงเขมรปากท่อ เถา
เพลงประพาสเภตรา เถา
เพลงอาถรรพ์ เถา
เพลงสามไม้ใน เถา
ประเภทเพลงสามชั้น เช่น

เพลงเขมรใหญ่
เพลงดอกไม้ไทร
เพลงถอนสมอ
เพลงทองย่อน
เพลงเทพรัญจวน
เพลงนารายณ์แปลงรูป
เพลงคุณลุงคุณป้า
เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์
เพลงธรณีร้องไห้
เพลงแขกเห่
เพลงอนงค์สุชาดา
เพลงย่องหงิด
เพลงเขมรราชบุรี
เพลงพม่าห้าท่อ


ประเภทเพลงสองชั้น เช่น

เพลงลาวคำหอม

เพลงลาวดำเนินทราย


ชีวิตครอบครัวของพระยาประสานดุริยศัพท์

ท่านได้แต่งงานกับนางสาวพยอม  ชาวจังหวัดราชบุรี  มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น ๑๑ คน  แต่ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก ๖ คน  จึงเหลืออยู่ ๕ คน  เรียงตามลำดับจากคนโตลงมาดังนี้

๑.หญิง   มณี  ประสานศัพท์ (มณี  สมบัติ)

๒.หญิง  เสงี่ยม  ประสานศัพท์ (นางตรวจนภา  พวงดอกไม้)

๓.หญิง  ประยูร  ประสานศัพท์

๔.ชาย    ปลั่ง  ประสานศัพท์ (ขุนบรรจงทุ้มเลิศ)

๕.หญิง  ทองอยู่  ประสานศัพท์  (นางอินทรรัตนากร  อินทรรัตน์)

ปัจจุบันนี้ ยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คน  คือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศและนางอินทรรัตนากร

ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง  ประสานศัพท์)  เป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการดนตรีจากท่านบิดาได้มาก ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ  กับทั้งเป็นผู้ที่มีความจำดี  ในเวลาต่อมาก็ได้รับราชการในกรมพิณพาทย์หลวงด้วย

พระยาประสานดุริยศัพท์  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ในชีวิตราชการ  เป็นบุคคลที่มีเกียรติยศชื่อเสียง  มีตำแหน่งสูง  ได้เป็นถึงพระยาและเป็นถึงเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง  ในรัชกาลที่ ๖  แม้กระนั้นก็ตาม  ฐานะทางครอบครัวของท่านใช่ว่าจะร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็หาไม่  แต่อยู่ในระดับพอมีพอกินและค่อนข้างยากจนมากกว่า

เนื่องจากพระยาประสานดุริยศัพท์  ท่านต้องตรากตรำทำงานในหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่  ประกอบกับอายุของท่านก็มากขึ้น  ท่านจึงล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา  เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๖๗  สิริรวมอายุ ๖๕ ปี



เรียบเรียงจาก



๑.บทความเรื่องพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)

๒.สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒

๓. ดนตรีวิจักษ์ โดย นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29   ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29 Icon_minitimeMon Jun 13, 2016 8:10 am

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานคีตกวีดนตรีไทย โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ดนตรีไทยโดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
» ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาววิมลสิริ สุทนัง ม.4/6 เลขที่ 29
» ส่งวีดีโอเพลงไทยเดิม นางสาวจันทร์จิรา จรรยากรณ์ ม.4/7 เลขที่ 26
» ส่งงานเรื่องประเภทของวงดนตรีสากล โดยนางสาวปรีญาภรณ์ นิลดวงดี เลขที่ 11
» ส่งงานเรื่องดนตรีไทยโดยนางสาวสายสุดา คำพูล เลขที่ 18

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/6 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: