Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Onanong Pruethong

Onanong Pruethong


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 12/06/2016

เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3   เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3 Icon_minitimeSun Jun 12, 2016 10:06 am



วงดนตรีไทย

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

• วงปี่พาทย์

เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีและพิธีต่าง ๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ

วงปี่พาทย์เครื่องสิบ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด
วงปี่พาทย์เครื่องห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และ ฉิ่ง
ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และ ทับ หรือ โทน
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องห้า เพียงแต่เพิ่ม ระนาดทุ้ม และ ฆ้องวงเล็ก เข้าไป
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เหมือนวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพียงแต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก เข้าไป
วงปี่พาทย์ยังมีอีก 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับ วงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้

ใช้ กลองมลายู มาตีแทน ตะโพน และ กลองทัด (บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)
ใช้ ปี่ชวา มาเป่าแทน ปี่ใน
เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมี ฉิ่ง เป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว
เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตามชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยม วงปี่พาทย์มอญ แทน วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย

เพลงที่บรรเลง เรียกว่า “ เพลงชุดนางหงส์” ประกอบด้วยเพลง

เพลงนางหงส์ (หรือเพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน)
เพลงสาวสอดแหวน
เพลงแสนสุดสวาท
เพลงแมลงปอ
เพลงแมลงวันทอง

วงปี่พาทย์นางหงส์



2. วงปี่พาทย์มอญ
เป็นวงดนตรีที่มาพร้องกับชาวมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญได้แก่ ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และ ฆ้องราว

วงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาดเช่นเดียวกับ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ของไทย ดังนี้

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะคือ ฉิ่ง และฉาบ โหม่ง
วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เพียงแต่วงนี้ได้เพิ่ม ระนาดทุ้ม และฆ้องมอญวงเล็กเข้ามา
วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกันกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่ได้เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก เข้ามา
วงปี่พาทย์มอญมีการจัดรูปแบบวงที่แตกต่างจากวงปีพาทย์ของไทยตรงที่ตั้ง ฆ้องมอญ ไว้ด้านหน้าสุด ซึ่งการจัดรูปแบบวงนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าใครกำหนดและทำเพื่ออะไร บ้างก็ว่าเพื่อความสวยงามเมื่อมองจากด้านหน้า บ้างก็ว่าเป็นการให้เกียรตวัฒนธรรมมอญ บ้างก็ว่าเป็นเพราะฆ้องมอญทำหน้าขึ้นวรรคเพลงเช่นเดียวกับ ระนาดเอก

วิวัฒนาการในปัจจุบัน

ในปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญเจริญเติบโตอย่างมาก โดยการขยายวงให้ใหญ่ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์มอญวงพิเศษ บางอาจจะมีฆ้องมอญถึง 10 โค้งหรือมากกว่านั้น ทำให้วงปี่พาทย์มอญนอกจากจะใช้เป็นเครื่องประโคมศพแล้ว ยังแสดงถึงเกียรติยศของผู้ตายอีกด้วย
นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มฆ้องมอญให้มากขึ้นแล้ว ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรีเพื่อให้เหมาะสมกับวง คือเปลี่ยนลักษณะของรางระนาดเอกและ ระนาดทุ้ม ให้เหมือนกับฆ้องมอญ เพียงแต่ย่อสัดส่วนให้ต่ำลง

โอกาสที่ใช้บรรเลง

วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพ สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจ้าอยู่หัว ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น
งานศพสมัยก่อนนั้นจะใช้เพลงประโคมที่เรียกว่า"ประจำวัด"โดยจะประโคมหลังการสวดพระอภิธรรมเสร็จสิ้น เช่นเดียวกับ วงปี่พาทย์นางหงส์ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเวียนเมรุ หาบกล้วย จุดเทียน ในยุคหลังๆได้มีครูดนตรีไทยที่มีเชื้อสายมอญแต่งเพลงมอญให้วงปี่พาทย์มอญเช่นประจำบ้าน ย่ำเที่ยง ย่ำค่ำ ฯลฯ

ในยุคปัจจุบันก็มีเพลงมอญเกิดขึ้นอย่างมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะนำเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักนำมาแต่งเป็นสำเนียงมอญ ทำให้เพลงมอญในปัจจุบันมีความแตกต่างจากเพลงมอญโบราณเป็นอย่างมาก


วงปี่พาทย์มอญ



3. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับอิทธิพลจากละคร โอเปร่า ของ ยุโรป ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้น เหตุที่มีชื่อว่าดึกดำบรรพ์นั้นมาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ก็เลยเรียกเรียกวงดนตรีนี้ตามชื่อของโรงละคร

เครื่องดนตรีในวง

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลมารวมกัน ดังนี้

ระนาดเอก (ใช้ไม้นวมตี)
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องหุ่ย ๗ ใบเรียงตามระดับเสียง
ขลุ่ยเพียงออ
ตะโพน
ฉิ่ง
ซออู้ (เพิ่มเข้ามาภายหลัง)
ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่มภายหลัง)


นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี , วงปี่พาทย์ไม้แข็ง , วงปี่พาทย์เครื่องห้า , วงปี่พาทย์เครื่องคู่ , วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ , วงปี่พาทย์ไม้นวม



• วงเครื่องสาย

เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว , วงเครื่องสายเครื่องคู่ , วงเครื่องสายผสม , วงเครื่องสายปี่ชวา

• วงมโหรี

ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่ , วงมโหรีเครื่องหก , วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก , วงมโหรีเครื่องคู่



เพลงดนตรีไทย

แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

• เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของ มนุษย์ ของ สัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ

• เพลงขับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น

• เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น

• เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

ขึ้นไปข้างบน Go down
chairat jobsri

chairat jobsri


จำนวนข้อความ : 93
Join date : 04/06/2016

เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3   เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3 Icon_minitimeTue Jun 14, 2016 10:56 am

เพิ่มรูปภาพวงดนตรีไทยเพิ่ม....หัวข้อส่งงานไม่ถูกต้อง
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
เรื่อง ดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่ 40 ชั้นม.4/3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» เรื่อง ประวัติดนตรีไทย นางสาวอรอนงค์ ปรือทอง เลขที่40 ชั้นม.4/3
» ส่งงาน เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล โดย น.ส.อรอนงค์ ปรือทอง ชั้น ม.4/3 เลขที่ 40
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดย น.ส.อรอนงค์ ปรือทอง ชั้น ม.4/3 เลขที่ 40
» ส่งงานเรื่อง ดนตรีไทย นางสาวพรพนา โตนันท์ เลขที่ 12
» ส่งงานเรื่อง ดนตรีไทย นายทศพร ศรีสุระ เลขที่ 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/3 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: