Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
Nutthapong Phomjun

Nutthapong Phomjun


จำนวนข้อความ : 3
Join date : 09/06/2016

ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24   ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24 Icon_minitimeSat Jun 11, 2016 9:53 pm

พระยาภูมีเสวิน
[img]ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24 2mw797r[/img]
พระยาภูมีเสวิน มีนามเดิมว่า จิตร จิตตเสวี เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๓๗ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ ปีมะเมีย ณ ตำบลคลองชักพระ อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี อยู่บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนวัดราชาธิวาส อำเภอ ดุสิต จังหวัด กรุงเทพมหานคร ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของหลวงคนธรรพวาที (จ่าง จิตตเสวี) ผู้เป็นบิดา และนางคนธรรพวาที (เทียบ จิตตเสวี) พี่น้องของท่านมีอยู่ด้วยกัน ๕ คน

ท่านได้เรียนซอด้วงจากหลวงคนธรรพวาทีผู้เป็นบิดาเมื่ออายุได้ ๖ ขวบ และมีความสามารถออกวงได้เมื่ออายุ ๘ ขวบ จากนั้นท่านยังได้หัดดนตรีไทยประเภทอื่นๆ กับครูอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิเช่น เรียนปี่ชวากับครูทอง เรียนกลองแขกกับครูมั่ง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาดนตรีต่างๆกับครูแป้น ครูพุ่ม และ ครูสอน(บางขุนศรี) ต่อมาได้มาเรียนกับ ม.จ. ประดับ เมื่อสิ้น ม.จ.ประดับแล้วจึงได้มาเรียนจะเข้กับขุนประดับ ครูอ่วม และขุนเจริญดนตรีการ (นายดาบเจริญ โรหิตโยธิน) จนสามารถเล่นดนตรีได้รอบวง ที่ชำนาญพิเศษคือ เครื่องสายทุกชนิด
ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระราชอิสรยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงตั้งวง มโหรีปี่พาทย์ขึ้น ท่านจึงได้เข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กแผนกมหรสพในตำแหน่งประจำกองดนตรีกรม มหาดเล็กกระทรวงวัง ได้รับพระราชทานยศเป็นสองตรี เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ในระยะนี้เอง ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของบรมครูอีกผู้หนึ่งคือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ซึ่งท่านเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และพระยาประสาน ดุริยศัพท์ ก็รักใคร่ในตัวท่านมาก เพราะเป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียร เป็นผู้มีฝีมือและสติปัญญาเฉลียวฉลาดในทางดนตรีเป็นอย่างดีเยี่ยม พระยาประสานฯ จึงได้พยายามพร่ำสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ทางดนตรีให้แก่ท่าน โดยเฉพาะ ระนาด และ ฆ้อง จนมีความชำนาญ บรรเลงเดี่ยวฆ้องเล็กได้ และชนะเลิศในการประชันวง เมื่อคราวเสด็จตามพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่๖) ไปภาคใต้ ยังความปลื้มปิติยินดีแก่พระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึกปักษ์ใต้ ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้เพียง ๑๕ ปี

ขณะที่ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยามานพนริศร์ นับว่าเป็นคุณประโยชน์แก่ชาตินานับประการทางด้านศิลปะ ดนตรีไทย นั่นคือท่านได้รับแนะนำและขอร้องจากพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ให้ไปเรียนซอสามสายกับเจ้าเทพสุกัญญา (ณ เชียงใหม่) บูรณะพิมพ์ ซึ่งทั้งเจ้าคุณประสานฯ และเจ้าเทพฯ ก็ช่วยกันสอนและถ่ายทอดวิชาซอสามสายให้เป็นระยะเวลา ๙ ปี ซึ่งประยาประสานฯ ได้เคยกล่าวกับท่านว่า “ถ้าไม่เรียนซอสามสายไว้ ต่อไปอาจจะสูญ คุณหลวงนายมีนิสัยสุภาพ และมีความพยายามดี ทั้งเป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที เคารพครูอาจารย์ เป็นอย่างสูง ขอให้เรียนซอสามสายไว้ เพื่อจะได้ สั่งสอนอนุชนรุ่นหลังต่อไป”

เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภูมีเสวิน
ในกระบวนเครื่องดนตรีไทย ย่อมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่หาได้ยากที่สุด และที่จะให้มีกลเม็ดเด็ดพราย ไพเราะเพราะพริ้ง ก็ยากขึ้นไปอีก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อต่อความเป็นจริงเหล่านี้เลย และในที่สุดท่านก็ได้บรรลุถึงความเป็นเอกในทางซอสามสาย จนเป็นที่ปรากฏว่าท่านสีซอสามสายได้ไพเราะที่สุด แม้แต่ซอด้วง ซออู้ รวมถึงขลุ่ย ท่านก็บรรเลงได้จับใจยิ่ง ชื่อเสียงในทางการบรรเลงดนตรีของท่านนั้นเลื่องลือไปทั่วประเทศ เนื่องจากท่านบรรเลงออกอากาศ ณ กรมประชาสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ นอกจากฝีมือในการบรรเลงดนตรีดังกล่าวมาแล้ว พระยาภูมีฯ ยังมีความสามารถในทางนาฏศิลป์เป็นอย่างมากด้วย โดยเป็นศิษย์ของพระยาพรหมา (ทองใบ) พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี) และคุณหญิงเทศ โดยท่านได้แสดงโขนเป็นตัวอินทรชิตหลายครั้ง

ในปีที่ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพระยาภูมีเสวินนี้เอง ท่านก็ประสบกับความเศร้าสลดอย่างสุดซึ้งด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พร้อมกันนั้นท่านก็ถูกปลดออกจากเบี้ยหวัดที่เคยได้รับพระราชทาน แต่ก็อาจเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชปรารภ ไว้ว่า “แม้สิ้นแผ่นดินของข้าแล้ว ใครจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป เขาก็คงชุบเลี้ยงก็อาจเป็นได้”

ดังนั้น ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๗๘ ท่านจึงเข้ารับราชการที่กรมศิลปากร ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานกลางแผนกละครและสังคีต ทำหน้าที่เหมือนเลขาธิการของอธิบดี ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับรายการบันเทิงทางวิทยุกระจายเสียง ติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการเมื่อมีการแสดงโขน ละครดนตรี นอกจากนั้นท่านยังร่วมกับกรมศิลปากร ปรับปรุงพระราชพิธี และงานด้านต่างๆ

ท่านได้เริ่มงานดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วยเวลานั้นสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ซึ่งมีคุณ ชวาลา (หัวหน้ากองการหนังสือพิมพ์) และคุณ อำพัน (หัวหน้ากองการกระจายเสียง) ได้มาเรียนเชิญท่านไปปรึกษาวิธีการ ที่จะปรับปรุงและสนับสนุนเพลงไทยในรายการวิทยุ และขอร้องให้ท่านเขียนคำบรรยายพร้อมทั้งบรรเลงเพลงดนตรีไทย ประเภทต่างๆเป็นประจำทุกอาทิตย์ เมื่อรายการของท่านได้เผยแพร่ออกสู่ประชาชนมากขึ้น ก็ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายมากขึ้น เช่นเดียวกัน จากฝีมือซึ่งเป็นหนึ่งของท่านทั้งซอสามสาย และขลุ่ยคราใดที่มีการประกวดมโหรีปี่พาทย์ และการขับร้องเพลงไทย ท่านก็ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินทุกครั้ง และยังได้เป็นกรรมการ จัดรายการวิทยุในสมัยที่วิทยุกระจายเสียงยังขึ้นอยู่กับกรมไปรษณีย์ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ท่านก็บรรเลงเพลงซอสามสาย เพลงพญาโศกในรายการวิทยุกระจายเสียง หลายท่านเมื่อได้ฟังถึงกับน้ำตาไหล ด้วยทำให้หวนระลึกถึงพระองค์ท่าน อันฝีไม้ลายมือของพระยาภูมีฯ นั้นเป็นที่เลื่องลือไปถึงพระกรรณของเจ้านายผู้หญิงในรัชกาลที่ ๗ ถึงกับทรงขอดูตัวเนื่องจากเป็นที่เลื่องลือกันว่า รูปงามและมีฝีมือเป็นเอก ดังนั้นกรมหลวงลพบุรีราเมศร์ (สมเด็จชาย) จึงได้ทรงนำตัวเข้าเฝ้าบรรเลงถวายในวังสวนสุนันทา นอกจากนี้ ชาวบ้านร้านถิ่นที่ชอบดนตรีมีหลายคนหาท่านถึงบ้านและได้เชิญท่านไปแสดงตาม หัวเมือง เช่น ที่ฉะเชิงเทรา และที่ตำบลบางช้าง สมุทรสงคราม ฯลฯ จากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ยอมรับคำเชิญจากสถาบันการศึกษาต่างๆไปช่วยฝึกสอนดนตรีแก่เด็กๆ อาทิเช่น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม โรงเรียนเพาะช่างครุสภา วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร,ปทุมวัน) เป็นต้น

หลังจากที่ท่านได้ครบเกษียณอายุราชการแล้วท่านยังอุตสาห์สอนดนตรีให้แก่ สถาบันต่างๆอยู่เป็นนิตย์ ท่านตรากตรำทำงานทางด้านนี้มาก เพื่อที่จะถ่ายทอดวิชาด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ ที่จะช่วยทำนุบำรุงไว้ จะกลับมาถึงบ้านก็ราว ๕ ทุ่ม สองยามทุกวัน นอกจากนั้นในวันเสาร์ อาทิตย์ ก็ยังมีคนมาเรียนกับท่านถึงที่บ้านอีกมาก ไม่มีเวลาพักผ่อนเต็มที่ แต่ท่านไม่เคยบ่น ท่านยังกลับพูดเสียอีกว่า คราใดที่มีคนมาเยี่ยมมาฝึกดนตรีกับท่านแล้ว ถือว่าเป็นการพักผ่อนอย่างดีเยี่ยม ซึ่งดีกว่านั่งๆนอนๆ อยู่เฉยๆ

พระยาภูมีฯ มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านฝีมือการดนตรีอยู่หลายท่าน ได้แก่ ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์     รศ.อุดม อรุณรัตน์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ อาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี และคุณศิริพรรณ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นหลานตา เป็นต้น

ผลงานด้านการแต่งเพลง ปรากฏผลงานเพลงที่ท่านแต่งไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสอดสี เถา (พ.ศ. ๒๕๐๓) โหมโรงภูมิทอง สามชั้น (แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยดัดแปลงมาจากเพลงนกกระจอกทอง สองชั้น) และจำปาทอง เถา (พ.ศ. ๒๕๑๘) ทั้งยังได้ประดิษฐ์ทางบรรเลงเดี่ยวซอสามสายเอาไว้หลายเพลง ได้แก่ ต้นเพลงฉิ่ง ขับไม้บัณเฑาะว์ ทะแย นกขมิ้น ปลาทอง บรรทมไพร พญาครวญ พญาโศก แสนเสนาะ ทยอยเดี่ยว เชิดนอก และกราวใน เถา

และนอกจากในฐานะครูดนตรีแล้ว พระยาภูมีฯ ยังเป็นนักค้นคว้าและขยันบันทึกไว้ด้วย สิ่งที่ท่านบันทึกไว้นั้น ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิเช่น ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ประวัติผู้เชี่ยวชาญการสีซอสามสายในสมัยรัตนโกสินทร์ และหลักการสีซอสามสาย ซึ่งเป็นตำราดนตรีไทยที่ดีมาเล่มหนึ่ง โดยท่านได้บรรยายไว้โดยละเอียดถึงการใช้คันชัก การใช้นิ้ว และยังได้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีเห่กล่อมพระบรรทมไว้ด้วย

พระยาภูมีเสวินได้บรรเลงดนตรีออกงานครั้งสุดท้ายเมื่ออายุประมาณ ๘๐ ปี ณ โรงละครแห่งชาติ กรมศิลปากร โดยบรรเลงร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) เพื่อนคู่หูของท่าน

ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๙ เวลาเช้า หลังจากที่ท่านได้จุดธูปสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว ท่านก็เป็นลมแน่นิ่งไป ภรรยาและบุตรของท่านก็ช่วยกันพาส่งโรงพยาบาลวชิระ ซึ่งระยะทางจากบ้านของท่านถึงโรงพยาบาล รถวิ่งไม่เกิน ๕ นาที แต่อย่างไรก็ตามขณะที่พาท่านส่งโรงพยาบาลนั้นเป็นช่วงระยะเวลาที่การจราจร ติดขัดมาก กว่าจะพาท่านมาถึงโรงพยาบาลเสียเวลาไปเกือบ ๒๐ นาที ซึ่งหมอลงบันทึกไว้ว่าท่านสิ้นใจก่อนจะมาถึง สุดความสามารถของหมอที่จะช่วยได้ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี
เรียบเรียงจาก
๑. หนังสือที่ระลึก งานเชิดชูเกียรติ ๑๐๐ ปี พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ผู้เชี่ยวชาญซอสามสายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
๒. สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒

๓. ดนตรีวิจักษ์ โดยนายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล (พ.ศ. ๒๕๒๙)
ขึ้นไปข้างบน Go down
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 519
Join date : 04/06/2016

ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24   ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24 Icon_minitimeMon Jun 13, 2016 8:12 am

Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven Like a Star @ heaven
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://chairatnl.thai-forum.net
 
ส่งงานประวัติคีตกวีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้ม ม.4/6 เลขที่ 24
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้น ม.4/6 เลขที่ 24
» ส่งงาน วงดนตรีไทย โดย นาย ณัฐพงศ์ พุ่มจันทร์ ชั้น ม.4/6 เลขที่ 24
» ส่งงานเรื่อง ประวัติดนตรีสากล โดย นายศรราม นามวงศ์ ชั้ม ม.4/5 เลขที่ 3
»  ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดย นาย รภัทรธรณ์ บัวสาบาน ชั้ม ม.4/5 เลขที่ 24
» ส่งงาน ประวัติดนตรีไทย โดย นาย รภัทรธรณ์ บัวสาบาน ชั้ม ม.4/5 เลขที่ 24

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/6 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: