Music Eaducation By Chairat Jobsri
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Music Eaducation By Chairat Jobsri

Music Eaducation By Chairat Jobsri
 
บ้านLatest imagesค้นหาสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น 4/3

Go down 
2 posters
ผู้ตั้งข้อความ
yatinan thanwima

yatinan thanwima


จำนวนข้อความ : 4
Join date : 11/06/2016

ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่    นาย ญาตินันท์   ธันวิมา  เลขที่  16  ชั้น  4/3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น 4/3   ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่    นาย ญาตินันท์   ธันวิมา  เลขที่  16  ชั้น  4/3 Icon_minitimeSat Jun 11, 2016 4:27 pm



วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเพิ่มระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก และฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง ดังนี้

1. ปี่ใน
2. ปี่นอก
3. ระนาดเอก
4. ระนาดเอกเหล็ก
5. ระนาดทุ้ม
6. ระนาดทุ้มเหล็ก
7. ฆ้องวงใหญ่
8. ฆ้องวงเล็ก
9. ตะโพน
10. กลองทัด
11. ฉิ่ง
12. ฉาบเล็ก
13. ฉาบใหญ่
14. กรับ
15. โหม่ง

วงปี่พาทย์ทั้ง ๓ ขนาดดังกล่าว ได้ใช้บรรเลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยยังคงจัดประสมวงเครื่องดนตรีเหมือนเดิม ยกเว้นแต่ปี่เท่านั้น ที่นิยมใช้เป่าในวงเพียงเลาเดียว คือ “ ปี่ใน “ ( อาจเป็นเพราะหาคนเป่ายาก หรือเสียงดังเกินไป ) แต่ในเรื่องของวิชาการในวงปี่พาทย์เครื่องคู่และวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ต้องถือว่าในวงมีปี่ ๒ เลา
สำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น เมื่อเข้ามาบรรเลงรวมกัน คณาจารย์ทางดนตรีไทยได้บัญญัติให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมีหน้าที่และวิธีการบรรเลงแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อความไพเราะ กลมกลืน ของเสียงดนตรีในวง
วิธีบรรเลงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์มีดังนี้
1. ปี่ใน เป่าเดินทำนองถี่ๆบ้าง เก็บบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเฉพาะที่เรียกว่า “ ทางปี่ “ ช่วยนำวงในบางโอกาส
2. ปี่นอก เป่าเดินทำนองถี่ๆบ้าง เก็บบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนองในทางเสียงสูงคู่กับปี่ใน แต่ไม่มีหน้าที่เป็นผู้นำวง
3 ระนาดเอก ตีพร้อมกันทั้งสองมือเป็นคู่แปด มีหน้าที่ดำเนินทำนองถี่ๆโดยตลอด เป็นทางเฉพาะตัวที่เรียกว่า “ทางระนาดเอก“ และเป็นผู้นำวง
4 ระนาดเอกเหล็ก ตีพร้อมกันทั้งสองมือ เป็นคู่แปด เดินทำนองถี่ๆบ้าง ตีกรอบ้าง เช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ไม่เป็นผู้นำวง มีหน้าที่ช่วยให้เสียงดังกระหึ่มขึ้น
5 ระนาดทุ้ม ตีพร้อมกันทั้งสองมือบ้าง ตี มือละลูกบ้าง และตีมือละหลายๆลูกบ้าง มีหน้าที่สอดแทรก หยอกล้อ ยั่วเย้า ไปกับทำนองเพลงให้สนุกสนาน ด้วยทำนองที่เรียกว่า “ ทางทุ้ม “
6 ระนาดทุ้มเหล็ก ตีมือละลูก หรือหลายๆ ลูก เดินทำนองห่างๆ มีหน้าที่ยั่วเย้าในทำนองห่างๆ
7. ฆ้องวงใหญ่ ตีพร้อมกันสองมือบ้าง ตีมือละลูกบ้าง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเนื้อเพลง เป็นหลักของวง
8. ฆ้องวงเล็ก ตีเก็บถี่ๆมือละลูกบ้าง มือละ หลายๆลูกบ้าง มีหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง เป็นลักษณะที่เรียกว่า “ ทางฆ้องเล็ก “
9. ตะโพน ตีมือละหน้า มือละสองหน้าพร้อมกัน โดยให้เสียงสอดสลับกัน มีหน้าที่ตีเพื่อกำกับจังหวะหน้าทับ ให้รู้วรรคตอนของเพลง และเป็นผู้นำกลองทัด
10. กลองทัด ตีด้วยไม้ มือละลูกบ้าง มือละสองลูกบ้าง ตีห่างบ้าง ตีถี่บ้าง ตามแบบแผนของไม้กลอง หรือหน้าทับ โดยมีตะโพนเป็นผู้นำ
11. ฉิ่ง จับด้วยมือข้างละอัน ตีสลับให้ดังเสียงฉิ่งทีหนึ่ง เสียงฉับทีหนึ่ง ด้วยความสม่ำเสมอมีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย ให้รู้จักจังหวะหนัก และจังหวะเบา
12. ฉาบเล็ก จับด้วยมือข้างละอัน ตีสอด สลับ หยอกยั่วเย้าไปกับฉิ่ง หรือให้สอดคล้องกับทำนองเพลง
13. ฉาบใหญ่ จับด้วยมือข้างละฝา ตีประกบกันในจังหวะหนัก มีหน้าที่ควบคุมจังหวะห่างๆ
14. กรับ จับด้วยมือข้างละอัน ตีประกบกันในจังหวะหนัก
16. โหม่ง ตีด้วยไม้ ด้วยมือข้างหนึ่ง ลงตรงกลางปุ่ม ที่จังหวะหนัก มีหน้าที่ควบคุมจังหวะห่างๆ และเนื่องจากเสียงโหม่งดังกังวานยาว บางครั้งนิยมตีห่างกว่าปรกติ คือ สองจังหวะฉับของจังหวะฉิ่ง จึงตีโหม่งครั้งหนึ่ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
chairat jobsri

chairat jobsri


จำนวนข้อความ : 93
Join date : 04/06/2016

ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่    นาย ญาตินันท์   ธันวิมา  เลขที่  16  ชั้น  4/3 Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น 4/3   ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่    นาย ญาตินันท์   ธันวิมา  เลขที่  16  ชั้น  4/3 Icon_minitimeTue Jun 14, 2016 10:56 am

เพิ่มรูปภาพวงดนตรีไทยเพิ่ม...
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ส่งงาน วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น 4/3
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ส่งงาน ประวัติวงดนตรีไทย นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น 4/3
» ส่งงานเรื่อง ประเภทของดนตรีสากล เสนอโดย นาย ญาตินันท์ ธันวิมา เลขที่ 16 ชั้น ม.4/3
» ส่งงาน ประวัติดนตรีสากล โดยนางสาวสุธิดาพร พูลงาม ชั้น ม.4/5 เลขที่ 31
» ส่งงาน เรื่องประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล โดย นายทิวา วิชาพูล ชั้น ม.4/3 เลขที่ 19
» ส่งงาน เรื่องประวัติดนตรีสากล โดย น.ส.อรอนงค์ ปรือทอง ชั้น ม.4/3 เลขที่ 40

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Music Eaducation By Chairat Jobsri :: วิชา ศ31101 ดนตรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 :: ส่งงาน ห้อง ม.4/3 :: ส่งงาน ครั้งที่ 1-
ไปที่: